ประวัติปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความรับเชิญ
30 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“30 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-15 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2530-2560)
ด้วยรัก แด่ [เอ๋-ชิง] – 6 มีนาคม 2559
บทอวยพรงานแต่ง เอ๋-ชิงชิง
9 ways of Way
ขอแสดงความยินดีกับ Way ในวาระก้าวสู่ปีที่ 10 ด้วยครับ
9 ปีที่ผ่านมาของ Way เป็นดังที่ ตุ่น-รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ บรรณาธิการคนปัจจุบัน เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ WAY#90 ว่า “เหยียบยืนได้เต็มเท้า มีเส้นทางให้เดิน และสามารถสบตากับตัวเองได้อย่างไม่ขัดเขิน” และเป็น 9 ปีที่เต็มไปด้วยผู้อ่านและผองเพื่อนยืนเคียงข้างตามรายทางมากมาย
อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร เขียนเรื่อง “เพื่อน” ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “เวลาพูดถึงเพื่อน เราไม่ควรใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย” ในฐานะที่ผมนับชนชาว way เป็นเพื่อน ผมขอบอกสั้นๆ ว่า “อิ่มใจและอุ่นใจ” มากครับ
อยากจบตรงนี้ จะได้ขลังและคมแบบอธิคม แต่ฉลอง 9 ปีทั้งที ผมว่าฟุ่มเฟือยกันบ้างก็ได้ (ฮา) เลยขออนุญาตฟุ่มเฟือยถ้อยคำต่อให้สมกับโอกาสอันเป็นมงคล เอาเป็นว่าผมขอบอกเล่าความคิดและความรู้สึกส่วนตัว 9 ประการต่อ way ไว้ตรงนี้สักนิด ในฐานะคนอ่านตั้งแต่เล่ม 1 จนถึง 90
28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-14 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2530-2558)
เพียงชายคนนี้เป็นอาจารย์พิเศษ
การอ่านหนังสือเล่มนี้นอกจากจะได้อรรถรสสนุกสนานตามมาตรฐานคันฉัตร ‘ผู้เขียนอะไรก็น่าอ่าน’ แล้ว ยังได้เห็นเบื้องหลังชีวิตการทำงานของอาจารย์พิเศษคนหนึ่ง อ่าน ‘คันฉัตร’ แล้ว ผมรู้สึกชื่นชมที่เขาเป็น ‘อาจารย์ธรรมดา’ มองตัวเองเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่ครูบาอาจารย์ผู้สูงส่ง อยู่เหนือลูกศิษย์ และผูกขาดความจริงของโลกของจักรวาล แบบกูคือความถูกต้อง กูถูกที่สุด ต้องฟังกูเท่านั้น ทั้งยังพยายามจะ ‘สอน’ และ ‘ให้โอกาส’ เหล่าศิษย์ของเขา ด้วย ‘ท่ายาก’ ไม่ใช่ ‘ท่ามาตรฐาน’ แบบกางตำรา อ่านพาวเวอร์พอยต์ และสอนไปวันๆ ตามหน้าที่
ในสังคมอำนาจนิยมผสมอนุรักษนิยมเช่นสังคมไทย อาจารย์ ‘ธรรมดา’ แบบคันฉัตรจึงมีความ ‘พิเศษ’ อยู่ในตัว เพราะเป็นเผ่าพันธุ์ที่หาได้ยากยิ่งในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ควรค่าแก่การสงวนรักษาและขยายเผ่าพันธุ์ แม้ในประการหลัง ผมรู้ดีว่ามิควรคาดหวังเอาจากคันฉัตร (ฮา)
ตรวจภายใน ‘นิ้วกลม’
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากความชอบคิดช่างเล่าของนิ้วกลมอีกเล่มหนึ่ง จะต่างออกไปจากเล่มที่แล้วมาอยู่บ้างก็ตรงที่ คราวนี้นิ้วกลมขอสะกิดปลุกท่านผู้อ่านอย่างนุ่มนวลและนอบน้อมให้ ‘ตื่น’ ขึ้นมาสำรวจ ‘ตรวจภายใน’ ของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของสังคมโลกยุค ‘ดิจิตอลโดยกำเนิด’ อย่างการหิว like โหย comment คลั่งสะสม friend ทุ่มเทอัพ status บ้าถ่ายรูป แผลงแพลงกิ้ง ชิมิชิมิ ไปจนถึงปรากฏการณ์ในสังคมอย่างการกระหายข่าวดารา การต่อแถวยาวซื้อโดนัท การแจกถุงผ้า การอยู่คอนโด การดูผี รวมถึงเรื่องถนัดของเจ้าตัว อันได้แก่ ชุดนักศึกษารัดติ้ว สาวแอ๊บแบ๊วบิ๊กอาย นมตู้ม และกิ๊ก! (ฮา)
ปรากฏการณ์ ‘ภายนอก’ แห่งยุคสมัยที่เปลี่ยนไปส่งผลให้ ‘ภายใน’ ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างไร และ ‘ภายใน’ ที่เปลี่ยนแปลงสะท้อนกลับให้สังคม ‘ภายนอก’ กลายเป็นเช่นไร – เราจะอยู่กันอย่างไรในโลกใหม่ใบนี้ – นี่เป็นคำถามยากๆ ที่นิ้วกลมอยากทำความเข้าใจ และเสนอความคิดของเขามาแลกเปลี่ยนกับพวกเรา
อนุทินน้ำท่วม
บันทึกประวัติศาสตร์ส่วนตัวเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ประเทศไทยในปี 2554
22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วง 22 ปีแรก
จอน เฟฟโร: เบื้องหลัง ‘เสียง’ ของโอบามา
การเขียนสุนทรพจน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นคนเขียนสุนทรพจน์ให้บรรดานักคิดนักเขียนด้วยแล้ว ยิ่งยากยิ่งเป็นทวีคูณ
อาชีพของเฟฟส์ไม่ใช่การเขียนเพื่อตัวเอง แต่เป็นการเขียนเพื่อเจ้านาย ความเป็นนักเขียนสุนทรพจน์อาชีพที่ดีจึงไม่ได้วัดกันที่การแต่งประโยคสวยหรูหรือถ้อยความชวนคิดแล้วยัดเยียดใส่ปากให้เจ้านายเป็นผู้ออกหน้าอ่านออกเสียง แต่นักเขียนสุนทรพจน์ที่ดีต้องรู้จัก ตัวตน บุคลิก ชีวิต ความคิด จิตใจ และอุดมการณ์ของเจ้านายอย่างทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขียนงานให้เสมือนออกมาจากความคิดและฝีมือของเจ้านาย ผลิตคำกล่าวที่เหมาะกับบุคลิกและฝีปากของผู้พูด อย่างไม่ขาดพร่องและไม่ล้นเกิน
- 1
- 2