Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

บทความเศรษฐกิจการเมือง

มองการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาแบบฉลาดหลังเหตุการณ์ (ทั้งที่ยังไม่หายโง่)

Posted on November 13, 2016November 5, 2018 by pokpong

ผมติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 อย่างหงอยๆ เพราะรู้สึกว่าเป็นการเลือกตั้งที่หมดสนุก สลดหดหู่ และไร้ซึ่งความหวังที่สุดตั้งแต่ติดตามการเมืองอเมริกามากว่า 25 ปี (ไม่นับกระแส feel the bern ของคุณปู่เบอร์นี่ แซนเดอร์ส สมาชิกวุฒิสภารัฐเวอร์มอนต์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต)

ทั้งฮิลลารี คลินตัน ตัวแทนพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน ต่างก็เป็นผู้สมัครที่มีคนเกลียดมากกว่าคนรักในสายตาของประชาชนทั่วไป (ระดับ 60:40 พอกันทั้งคู่) ไม่ต้องพูดถึงกองเชียร์ของพรรคฝั่งตรงข้ามที่โคตรเกลียด ส่วนกองเชียร์ภายในพรรคตัวเองจำนวนมากก็ไม่ชอบหน้าเช่นกัน

เพียงแค่ 8 ปี บรรยากาศแห่งความหวังที่โอบามาปลูกไว้ในการเลือกตั้งปี 2008 ก็มลายสิ้นจากสังคมการเมืองอเมริกัน เหลือเพียงความเป็นจริงทางการเมืองที่ขมขื่น ฉาวโฉ่ ไร้ทางเลือก เต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจและความเกลียดชัง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, ประชาธิปไตย, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, ฮิลลารี คลินตัน, โดนัลด์ ทรัมป์ Leave a comment

ดาบในมือผู้นำ

Posted on November 6, 2016November 5, 2018 by pokpong

ใครเคยเยี่ยมชม National Museum of American History หนึ่งในพิพิธภัณฑ์สังกัด Smithsonian Institution กลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. น่าจะเคยเห็นรูปปั้นนี้ตั้งตระหง่านอยู่บนชั้นสอง

ดูออกไหมครับว่านี่คือรูปปั้นของจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำการปฏิวัติอเมริกันเพื่อประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ประธานการประชุมร่างรัฐธรรมนูญที่ฟิลาเดลเฟียในช่วงฤดูร้อนปี 1789 บิดาผู้ก่อร่างสร้างประเทศ และประธานาธิบดีคนแรกสหรัฐอเมริกา

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged smithsonian, การเมืองอเมริกา, จอร์จ วอชิงตัน, ประชาธิปไตย, พิพิธภัณฑ์ Leave a comment

บทเรียนการเมืองไทยจาก ‘บรรหาร ศิลปอาชา’

Posted on May 15, 2016 by pokpong

ไม่ว่าชีวิตของรัฐบุรุษหรือมหาโจรต่างมีบทเรียนสอนใจเราทั้งนั้น ชีวิตของคุณบรรหาร ศิลปอาชา ก็เช่นกัน ในฐานะผู้สนใจการเมือง ผมได้เรียนรู้บทเรียนหลายประการจากชีวิตทางการเมืองของคุณบรรหาร

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองไทย, บทเรียนการเมือง, บรรหาร ศิลปอาชา, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย Leave a comment

รำลึก 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในสังคมไร้สันติประชาธรรม

Posted on November 25, 2015November 26, 2015 by pokpong

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องให้ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล

ในวาระพิเศษเช่นนี้ การรำลึกถึงอาจารย์ป๋วยอย่างดีที่สุดคือ การศึกษาความคิดและผลงานของอาจารย์ป๋วย ไม่ใช่กราบไหว้ท่านเหมือนรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ หรือตามแห่แซ่ซ้องสรรเสริญ มัวแต่ “อ้างป๋วย” โดยไม่เคย “อ่านป๋วย” ว่าท่านคิดเขียนอะไรทิ้งไว้ ท่านยึดมั่นอุดมการณ์แบบไหน และมีภาพของสังคมไทยในอุดมคติเป็นเช่นไร

เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยด้านกลับของ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ผมขอชวนทุกท่านมาร่วมกัน “อ่านป๋วย” กันใหม่อีกสักครั้งหนึ่ง เผื่อจะได้เข็มทิศทางจริยธรรมเป็นหลักยึด เก็บเกี่ยวภูมิปัญญาไปคิดต่อยอด และรับแรงบันดาลใจในการต่อสู้เพื่อสังคมไทยในฝัน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน กันต่อไปครับ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged 100 ปี ชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ประชาธิปไตย, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, สันติประชาธรรม, เสรีภาพ Leave a comment

อ่าน ความเป็นไทย 12 ประการ

Posted on September 30, 2015August 24, 2015 by pokpong

จากยุคจอมพล ป. มาสู่ยุคของนายพล ป. จาก ‘รัฐนิยม’ 12 ฉบับ มาสู่ ‘ค่านิยม’ 12 ประการ ดูคล้ายว่าความรับรู้เรื่อง ‘ความเป็นไทย’ กระแสหลักยังคงแน่นิ่งอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมหาศาล ผลที่ตามมาคือเสียงเรียกร้องคุณค่าใหม่และความหมายใหม่ของ ‘ความเป็นไทย’ ที่แตกต่างจาก ‘ความเป็นไทย’ กระแสหลักดั้งเดิม จะดังกังวานขึ้นเรื่อยๆ อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงและกั้นขวางได้

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged TU101, การเรียนการสอน, ความเป็นไทย, ค่านิยม 12 ประการ, จอมพล ป. พิบูลสงคราม, รัฐนิยม, วัฒนธรรม, วัฒนธรรมไทย, โลก อาเซียน และไทย Leave a comment

อ่านใหม่ ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย

Posted on June 28, 2015June 28, 2015 by pokpong

อ่านความคิดของอาจารย์ป๋วยแล้ว จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่าน คือมหาวิทยาลัยที่มีความชอบธรรม อันเป็นเรื่องเดียวกับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ(สันติ)ประชาธรรม ซึ่งท่านนิยามว่า “ธรรมเป็นอำนาจ ไม่ใช่อำนาจเป็นธรรม และธรรมเกิดจากประชาชน … อำนาจสูงสุดมาจากธรรมของประชาชน … ทั้งหมู่” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ, 2515) มิใช่จากเผด็จการผู้ทรงธรรมแต่อย่างใด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การศึกษา, ความชอบธรรม, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, มหาวิทยาลัย, เสรีภาพ Leave a comment

อ่าน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ พิศผู้หญิงในชีวิตของ ‘สันติวิธี’

Posted on March 9, 2015March 10, 2015 by pokpong

สำหรับปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ “พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของสันติวิธี” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวใจสำคัญคือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การไม่ใช้ความรุนแรง, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ความรุนแรง, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ปาฐกถาป๋วย อึีงภากรณ์, สันติประชาธรรม, สันติวิธี Leave a comment

อ่าน คอร์รัปชั่น ประชาธิปไตย และสังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

Posted on December 6, 2014December 6, 2014 by pokpong

คอร์รัปชั่นจึงเป็นปัญหาทางการเมืองเรื่องความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจ และความอยุติธรรมทางสังคม สาเหตุเชิงโครงสร้างของคอร์รัปชั่นมาจากโครงสร้างและระบอบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจ ดังนั้น ในด้านหนึ่ง การร้องหาคนดีเพียงเท่านั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมองเชิงโครงสร้างและระบบโดยไปไกลกว่าเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคล ในอีกด้านหนึ่ง คอร์รัปชั่นก็มิได้เป็นแค่ปัญหาเชิงเทคนิค มิได้มีแค่มิติทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราหวังพึ่งเทคโนแครตมาออกแบบระบบที่ดีแล้วหวังว่าปัญหาจะหมดสิ้นก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง เช่น การต่อสู้เชิงวาทกรรม และความชอบธรรมเชิงอำนาจของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged marc saxer, way, way to read!, การสร้างประชาธิปไตย, การเปลี่ยนผ่าน, การเมือง, คอร์รัปชั่น, นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประชาธิปไตย, วัฒนธรรม, วิกฤตการณ์การเมือง, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment

‘เสรีประชาธรรม’ กับ ‘หมู่บ้านไทยเจริญ’

Posted on October 12, 2014March 27, 2015 by pokpong

หลังจากที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 หลังจากเพิ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างนับสิบปีในปี 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2512 ซึ่งพรรคสหประชาไทยของท่านชนะเลือกตั้ง จอมพลถนอมก็เปลี่ยนสภาพจากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้ระบอบเผด็จการทหารตามความคุ้นชิน

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ลาไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ได้เขียนจดหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาฉบับหนึ่ง คือ จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เศรษฐศาสตร์สาร ฉบับชาวบ้าน (ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2515) ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้จอมพลถนอมเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กระบวนการนิติบัญญัติ, การเมืองไทย, จอมพล ถนอม กิตติขจร, นายเข้ม เย็นยิ่ง, ปฏิรูปประเทศไทย, ประชาธิปไตย, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, รัฐประหาร Leave a comment

ป๋วย ทหาร เผด็จการ และประชาธิปไตย

Posted on September 2, 2014March 9, 2016 by pokpong

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถูกกลุ่มอุดมการณ์ และกลุ่มไร้อุดมการณ์ ต่างๆ ในสังคมไทยฉวยใช้ประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ที่เป็นข่าวโต้เถียงกันใหญ่โตในขณะนี้ก็คือการใช้อาจารย์ป๋วยเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ที่เลือกเส้นทางรับใช้ระบอบเผด็จการทหาร โดยอ้างว่าอาจารย์ป๋วยก็รับใช้รัฐบาลเผด็จการเหมือนกัน

ผมเห็นว่าข้ออ้างทำนองนี้บอกความจริงเพียงส่วนเดียว อีกทั้งเป็นการตัดสินอาจารย์ป๋วยอย่างลดรูปและขาดพร่องเกินไป จนทำให้มองไม่เห็นภาพรวมของตัวตนและความคิดของอาจารย์ป๋วยตลอดทั้งชีวิต มิพักต้องพูดถึงว่า การเปรียบเทียบอาจารย์ป๋วยกับนักรับใช้เผด็จการยุคใหม่หลายคนที่ชอบแก้ตัวเช่นนั้น (หรือมีคนอื่นคอยแก้ตัวให้) เป็นเรื่องชวนหัวแบบขำขื่นเสียมากกว่า

อาจารย์ป๋วยแตกต่างจาก ‘นักรับใช้เผด็จการยุคใหม่’ อย่างไร

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged ทหาร, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาธิปไตย, ประชาไท, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, เทคโนแครต, เผด็จการ 1 Comment
  • 1
  • 2
  • 3
  • ›
  • »
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back