ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ สมเกียรติ ตั้้งกิจวานิชย์ อิสร์กุล อุณหเกตุ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์
แหล่งทุน: สถาบันพระปกเกล้า
ตีพิมพ์: อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ
ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ สมเกียรติ ตั้้งกิจวานิชย์ อิสร์กุล อุณหเกตุ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์
แหล่งทุน: สถาบันพระปกเกล้า
ตีพิมพ์: อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นกลไกสำคัญที่จะอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่เอาเปรียบบริษัทขนาดเล็ก ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์ แต่ตลอดระยะเวลากว่า 13 ปีนับตั้งแต่ประเทศไทยมีกฎหมายนี้ในชื่อ “พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542” กลับยังไม่มีธุรกิจแม้แต่รายเดียวที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าคืออะไร เหตุใดจึงจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย จุดอ่อนของกลไกการป้องกันการผูกขาดของประเทศไทยอยู่ที่ไหน และเราจะสามารถปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร
ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมไปหาคำตอบร่วมกันในรายการ สยามวาระ ตอน ก้าวข้ามเศรษฐกิจปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ผลศึกษากระบวนการนิติบัญญัติไทย พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่ยังมีปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ ซึ่ง 15 ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีร่างกฎหมายที่ภาคประชาชนผลักดันสำเร็จออกมาเป็นกฎหมาย ส่วนขั้นตอนที่สำนักงานกฤษฎีกามีความล่าช้าที่สุด และประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก จากปัญหาโครงสร้างกรรมการ ส่วนใหญ่มาจากข้าราชการเกษียณและเป็นนักกฎหมาย อยู่ในตำแหน่งยาวนาน นอกจากนี้ ความอ่อนแอของคณะรัฐมนตรี ทำให้ร่างกฎหมายที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีมีคุณภาพต่ำ เปิดช่องให้กฤษฎีกาใช้ดุลพินิจมาก เสนอปรับปรุงทั้งกระบวนการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน
นายปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาว่า ปัญหาของการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน อยู่ที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ โดยกระบวนการนำเสนอกฎหมายของภาคประชาชนนั้น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมทั้งในเนื้อหาและคุณภาพของร่างกฎหมาย
ดังนั้น การยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จำเป็นต้องต้องลดต้นทุนในฝั่งภาคประชาชนให้ต่ำลง เช่น กำหนดให้การยื่นหลักฐานมีความยุ่งยากน้อยลง หรือยกเลิกข้อกำหนดให้ภาคประชาชนต้องเสนอร่าง พ.ร.บ. ทั้งฉบับ เหลือเพียงให้เสนอหลักการ ให้องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญช่วยยกร่างกฎหมาย และเพิ่มบทบาทภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ร่างกฎหมาย อำนวยความสะดวกหรือรับภาระค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น การถ่ายเอกสาร โดยต้องกำหนดระยะเวลาของรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายจากประชาชน
ในกรณีที่รัฐสภาไม่เห็นชอบร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ให้มีการทำประชามติ และให้ประชาชนมีสิทธิยับยั้งร่างกฎหมายของรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วยได้
ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์
รายละเอียด: บทความวิชาการนำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ “การปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน” จัดโดย แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555 ณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์
รายละเอียด: บทความวิชาการประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “แนวคิดประสิทธิภาพและความยุติธรรมในนิติเศรษฐศาสตร์” จัดโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์
รายละเอียด: บทความวิชาการประกอบการสัมมนาเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์” จัดโดย สถาบันรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันที่ 26 มกราคม 2553
ชื่องานวิจัย: โครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย
ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ สมเกียรติ ตั้้งกิจวานิชย์ อิสร์กุล อุณหเกตุ วีระพงษ์ ประภา
แหล่งทุน: สถาบันพระปกเกล้า
ตีพิมพ์: ธันวาคม 2556
ผู้วิจัย: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ปกป้อง จันวิทย์ อิสร์กุล อุณหเกตุ คุปต์ พันหินกอง ตะวัน มานะกุล
แหล่งทุน: แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.)
ตีพิมพ์: กรกฎาคม 2555
ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์
แหล่งทุน: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตีพิมพ์: กรกฎาคม 2554