Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

กรุงเทพธุรกิจ

เปิดทางเลือก..นิตยสารออนไลน์

Posted on August 30, 2014October 1, 2014 by pokpong

ความเป็นทางเลือกที่เกี่ยวโยงกับรูปแบบออนไลน์นั้น ปกป้องบอกว่า “สื่อออนไลน์มีประโยชน์ในแง่ มันเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยให้กับสื่อในแง่มันเปิดให้คนไร้อำนาจเป็นเจ้าของสื่อได้ ข้อจำกัดมันต่ำการกีดกันในการเข้าสู่ความเป็นเจ้าของสื่อมันน้อย นี่คือข้อดีของสื่อออนไลน์ทั้งในฐานะคนผลิตและคนรับสื่อ มันเปิดโอกาสให้คนพิสูจน์ตัวเองได้ …”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, กรุงเทพธุรกิจ, ชุมชนออนไลน์, นิตยสารทางเลือก, วงการหนังสือ, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

นักเศรษฐศาสตร์นอกคอก กับแนวคิดที่แตกต่าง

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

สำหรับวงการศึกษาและวงการวิชาการในประเทศไทย อยากเรียกร้องไปอีกระดับหนึ่ง เพราะวงวิชาการไทยถูกครอบครองโดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ โดยในอนาคตตนอยากเห็น หรือหวังว่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์แปลกๆ สำนักต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อความหลากหลาย เรารู้ว่าสังคมต้องมีความหลากหลาย ซึ่งสังคมเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าหยุดนิ่งมีความคิดแบบเดียว สังคมนั้นก็ไร้ชีวิตชีวาและตายไปในที่สุด

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

Championship Manager และเรื่องเล่าว่าด้วยธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

CM เป็นเกมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผู้เล่นสวมบทผู้จัดการทีมฟุตบอล ที่ต้องบริหารทีม วางแผนการเล่น ซื้อขายนักเตะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าทั้งในสนาม (เช่น แก้เกมยามตกเป็นรองคู่แข่งขัน) และนอกสนาม (เช่น รับมือสื่อมวลชน แก้ปัญหายามนักเตะมีปัญหาไม่พอใจยามไม่ได้ลงเตะ)

เสน่ห์ของ CM อยู่ที่การใช้ฐานข้อมูลจริงของวงการฟุตบอล ปัจจุบัน CM บรรจุข้อมูลส่วนตัว ประวัติ และความสามารถด้านต่าง ๆ โดยละเอียด ของนักเตะ ผู้จัดการทีม ผู้บริหารทีม โค้ช รวมถึง แมวมองในวงการฟุตบอลมากกว่าหนึ่งแสนคน ใน 26 ลีกทั่วโลก รวมถึงรายละเอียดกติกาของฟุตบอลลีกในแต่ละประเทศและแต่ละภูมิภาค ที่มีความแตกต่างกัน

ในยุคธุรกิจฟุตบอลเฟื่องฟู CM สามารถเติมเต็ม “ความฝัน” ของคนรักฟุตบอลที่จะบริหารทีมที่ตนรัก และทำทีมในแนวที่ตนเองพอใจ หากคุณไม่พอใจแนวทางการเล่นของ Liverpool ยุค Gerard Houllier คุณสามารถรับบทผู้จัดการทีม Liverpool เสียเองใน CM และคุมทีมหงส์แดงให้เล่นเกมรุกได้เต็มที่ดังใจต้องการ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged championship manager, กรุงเทพธุรกิจ, ทุนวัฒนธรรม, ธุรกิจเกม, เกม Leave a comment

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยฟุตบอล(โลก)

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อคราวฟุตบอลโลกครั้งก่อนที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในปี 1998 มีงานศึกษาโดยใช้ข้อมูลฟุตบอลโลกจำนวน 10 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1954 ถึง 1990 งานวิจัยพบว่า การเป็นเจ้าภาพจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเจ้าภาพในปีถัดมาสูงขึ้นถึง 7 ใน 10 ครั้ง คำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงสองปีก่อนหน้าฟุตบอลโลก

นอกจาก “ผลจากการเป็นเจ้าภาพ” (Host Country Effect) แล้ว มีการพยายามสำรวจ “ผลจากการเป็นแชมป์” (Champion Effect) ด้วย แต่ผลอย่างหลังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เพราะ 5 ใน 10 ครั้ง แชมเปี้ยนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งลดลง แต่ถ้าประเทศไหนเป็นทั้งเจ้าภาพและทั้งแชมเปี้ยนด้วยแล้ว เช่น ประเทศอาร์เจนตินาในปี 1978 เศรษฐกิจเติบโตขึ้นจากใกล้ศูนย์เป็น 5.6% ทีเดียว

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การเมือง, ทุนวัฒนธรรม, บทความเศรษฐกิจการเมือง, สิทธิเสรีภาพ, ุฟุตบอล, เศรษฐศาสตร์ Leave a comment

แล้วฟองสบู่ก็แตก : ITV Digital กับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลอังกฤษ

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

ปัจจุบัน “ฟุตบอล” เป็นสินค้าวัฒนธรรมที่ขายดีทั่วโลก

ปัจจัยสำคัญที่สร้างความนิยมให้ฟุตบอลกลายเป็น “กีฬาแห่งโลก” (Global Sport) ก็คือการถ่ายทอดทางโทรทัศน์

ความต้องการรับชมฟุตบอลของผู้บริโภคที่ขยายตัวสูงยิ่งตลอดทศวรรษที่ผ่านมาทำให้สถานีโทรทัศน์ทั่วโลกเลือกใช้การถ่ายทอดฟุตบอลเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการแย่งชิงจำนวนผู้ชมและสมาชิก ดังจะเห็นได้จากค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกปี 2002 และปี 2006 ที่สถานีโทรทัศน์ ITV และ BBC แห่งประเทศอังกฤษต้องจ่ายให้ Kirch Media เจ้าของลิขสิทธิ์แห่งประเทศเยอรมัน มีราคาสูงถึง 120 – 150 ล้านปอนด์ เทียบกับค่าลิขสิทธิ์ 5 ล้านปอนด์เมื่อฟุตบอลโลกปี 1998

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กรุงเทพธุรกิจ, กีฬา, ทุนวัฒนธรรม, ปฏิรูปประเทศไทย, ฟองสบู่, ลิขสิทธิ์ถ่า่ยทอดฟุตบอล, เศรษฐศาสตร์ Leave a comment

แด่ Paul Wellstone นักการเมืองชั้นดี

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

วันที่ 25 ตุลาคม 2545 วงการเมืองอเมริกัน ได้สูญเสียนักการเมือง เจ้าของสมญา “บุรุษเหล็ก ผู้ทวนกระแส” … Paul Wellstone … ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ก่อนหน้าการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเพียงสองสัปดาห์

Paul Wellstone เป็นสมาชิกวุฒิสภา รัฐ Minnesota สังกัดพรรค Democrat นับเป็นนักการเมืองที่มีความเป็น liberal มากที่สุดคนหนึ่งในรัฐสภาปัจจุบัน

คำว่า liberal นั้น ภาษาไทย อาจแปลว่า “เสรีนิยม” ซึ่งกินความได้ไม่ครบถ้วน เพราะ liberal นั้น มีความหมายในมิติของผู้ที่พยายามทำความเข้าใจและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และผู้ที่สนับสนุนการ “เปลี่ยนแปลง” ทางการเมืองและสังคมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การเมืองอเมริกา, นักการเมือง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เดโมแครต, เสรีนิยม Leave a comment

เศรษฐกิจแห่งความรู้

Posted on August 19, 2014October 7, 2014 by pokpong

ในรายงาน “จับตาเศรษฐกิจไทย” (Thailand Economic Monitor) เดือนพฤษภาคม 2545 ของธนาคารโลก นอกจากจะมีบทวิเคราะห์ว่าด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย การบริหารจัดการทางการคลัง และการปฏิรูปภาคการเงินและภาคบริษัทแล้ว ยังมีบทวิเคราะห์เรื่องสถานะความเป็น “เศรษฐกิจแห่งความรู้” (Knowledge Economy) ของประเทศไทยด้วย

ธนาคารโลกหันมาสนใจ “เศรษฐกิจแห่งความรู้” ในฐานะเส้นทางใหม่แห่งการพัฒนา ตั้งแต่ปี 1998 ดังปรากฎในรายงานว่าด้วยการพัฒนาแห่งโลก (World Development Report) ปี 1998/1999

ทั้งนี้ “ความรู้” เป็นสินค้าสาธารณะแห่งโลก (Global Public Goods) ที่มีลักษณะไม่เป็นปฏิปักษ์ในการบริโภค เพราะเมื่อความรู้ถูกค้นพบและนำเสนอสู่สาธารณะ การมีผู้ใช้ความรู้นั้นเพิ่มอีกหนึ่งคน ไม่ก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเพิ่มแต่อย่างใด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged knowledge economy, กรุงเทพธุรกิจ, ความคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรม, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เศรษฐกิจแห่งความรู้

เรื่องเล่าของเศรษฐกิจอเมริกา : จาก 1991 ถึง 2001

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

หลังจากสหรัฐอเมริกาผ่านพ้นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี 1990-1991 ตลอดทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะครึ่งหลังนับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา โดยแซงหน้าช่วงแห่งความรุ่งเรืองในทศวรรษ 1960 ที่ยาวนาน 8 ปี 10 เดือน

เศรษฐกิจอเมริกาในช่วงรุ่งเรืองตลอดทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 4% ต่อปี ผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น 2.5% ต่อปี อัตราการว่างงานลดต่่ำลงเหลือ 4% ทั้งที่อัตราเงินเฟ้อต่ำเพียง 3.5% เท่านั้น งบประมาณภาครัฐที่เคยขาดดุลก็ลดลงจนหมดไปในช่วงปลายทศวรรษ หนี้คงค้างภาครัฐก็ใกล้จะถูกปลดเปลื้องจนหมดเช่นกัน

เรื่องเล่าอันแสนสุขดำเนินมาถึงเดือนสิงหาคม ปี 2000 ตลาดหุ้นก็เกิดวิกฤตฟองสบู่แตก และงานวิจัยหลายชิ้่นชี้ว่า หลังเดือนมีนาคม ปี 2001 เศรษฐกิจอเมริกาสิ้่นยุครุ่งเรือง กลับสู่ช่วงแห่งความตกต่ำอีกครั้ง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged กรุงเทพธุรกิจ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ฟองสบู่, สถาบัน, เศรษฐกิจอเมริกา, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

MNCs และ FDI ดีต่อประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือ ?

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

ระบบโลกแบบเสรีนิยมใหม่ เป็นระบบที่เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในระดับสูง เน้นบทบาทของ “ตลาด” ที่ปราศจากการควบคุมในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ รัฐชาติมีบทบาทลดลง นโยบายเศรษฐกิจหลักดำเนินตาม “ฉันทามติแห่งวอชิงตัน” (Washington Consensus) ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ ลดการกำกับควบคุม (Deregulation) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) การธำรงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabiliztion) และการเปิดเสรี (Liberalization)โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีทุนเคลื่อนย้าย

คำถามสำคัญก็คือ MNCs และ FDI เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ “สถาบัน” แบบเสรีนิยมใหม่จริงหรือ ?

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged FDI, MNCs, กรุงเทพธุรกิจ, การลงทุนระหว่างประเทศ, การเคลื่อนย้ายเงินทุน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

รางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ 2545

Posted on August 14, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 The Royal Swedish Academy of Sciences ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2545 ให้แก่ Prof. Vernon Smith แห่ง Interdisciplinary Center for Economic Science, George Mason University และ Prof. Daniel Kahneman แห่ง Princton University คนแรกเป็นเจ้าพ่อแห่งเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง (Experimental Economics) ขณะที่คนหลังเป็นนักจิตวิทยา และเป็นเจ้าพ่อแห่งเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรม (Behavioral Economics)

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged daniel kahneman, vernon smith, กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, รางวัลโนเบล, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม, เศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back