ความเห็นต่อมติที่ประชุม กสทช. เรื่องดีลควบรวมทรู-ดีแทค
กสทช.
สนทนาต่อกับ อ.พิรงรอง เรื่องการจัดการ disinformation
สนทนาต่อกับ อ.พิรงรอง รามสูต เรื่องการจัดการ disinformation หรือ fake news
ค่าเสียโอกาส กสทช. vs ค่าเสียโอกาสสังคมไทย
บทวิพากษ์ข้อเสนอขอเงินค่าเสียโอกาสให้ กสทช. ว่าทำไมเราควรคัดค้านเรื่องนี้
ถึงเวลา ข้อเรียกร้องที่ 4 : ล้มล้าง (=ปฏิรูป) ทุนยักษ์ผูกขาด
ความเห็นต่อกรณีดีลควบรวมกิจการทรู-ดีแทค
การจัดสรรคลื่นความถี่โทรคมนาคมของไทยควรใช้วิธีการประมูลเท่านั้น
ในการจัดสรรคลื่นใหม่เพื่อเข้าสู่ระบบใบอนุญาตต้องใช้วิธีการประมูลเท่านั้น และต้องมีการออกแบบกฎกติกาการประมูลที่ดี นั่นคือ ต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการประมูลอย่างเต็มที่ที่สุด และมีการกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในการประมูลด้วย เช่น เงื่อนไขที่เป็นคุณแก่การคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบการออกแบบกติกาการประมูลและจับตากระบวนการประมูล เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นการประมูล 3G ที่ออกแบบกติกาการประมูลที่ไร้การแข่งขัน จนรัฐเสียประโยชน์มหาศาลในท้ายที่สุด
บ่นถึง กสทช. กรณีวิวาทะระหว่าง กสทช.กับ NBTC policy watch
กสทช.เป็นองค์กรสำคัญมากนะครับ ถ้าทำงานดีๆ จะช่วยปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปประชาธิปไตย และมีบทบาทคุ้มครองผู้บริโภคได้มากเลย คงไม่มีใครอยากเห็น กสทช.มุ่งแต่จะปิดกั้นสื่อ รับใช้รัฐบาลทหาร และเอาแต่คุ้มครองประโยชน์ของกลุ่มทุน
และการปกป้องตัวเองนี่ก็เอาแต่พองาม นิดๆ หน่อยๆ ก็พอครับ หันไปมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคมากๆ จะดีกว่า
เรา (รวมถึง กสทช.) น่าจะดีใจที่มีคนมาช่วยจับตาตรวจสอบเพื่อให้ กสทช.ทำงานได้ดีขึ้นนะครับ โครงการ NBTC Policy Watch พยายามทำงานนี้มาต่อเนื่องบนฐานวิชาการ ไม่ใช่วิจารณ์ด้วยอารมณ์ แต่การออกมาวิจารณ์หรือแถลงข่าวแต่ละครั้งมีงานวิจัยหนุนหลังทุกครั้งนะครับ และที่ผ่านมา จะจัดแถลงข่าวหรือสัมมนาเรื่องอะไรก็เชิญฝั่ง กสทช.ให้มาวิจารณ์กลับและแลกเปลี่ยนกันตลอด ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เปิดพื้นที่ให้ กสทช.ได้ชี้แจงบนเวทีสาธารณะที่โครงการจัดอย่างเต็มที่ ไม่มีการพูดจาแบบดิสเครดิตหรือตั้งหน้าตั้งตาด่า กสทช. ทางเดียว ถ้ามีเรื่องให้ชมได้ ก็ชมตลอด แต่มันไม่ค่อยจะมี