Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

การศึกษาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์

Posted on September 22, 2014October 1, 2014 by pokpong

รายละเอียด: รวมบทความด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบันของคณาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เขียน: ทวี หมื่นนิกร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ สุวินัย ภรณวลัย สมบูรณ์ ศิริประชัย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ปัทมาวดี ซูซูกิ ชล บุนนาค อภิชาต สถิตนิรามัย ศุพฤติ ถาวรยุติการต์ ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks

ตีพิมพ์: ตุลาคม 2552

Posted in ผลงานร่วม, หนังสือ Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชล บุนนาค, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, ทวี หมื่นนิกร, ปกป้อง จันวิทย์, ปัทมาวดี ซูซูกิ, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ศุพฤติ ถาวรยุติการต์, สมบูรณ์ ศิริประชัย, สุวินัย ภรณวลัย, อภิชาต สถิตนิรามัย, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน Leave a comment

เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบไหน?

สำรวจเบื้องหลังสังคมเศรษฐกิจ ในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์-เสรีนิยมใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

“เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน … โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยคือเราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: อมรินทร์

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2554

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, การเมือง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจ, สำนักพิมพ์อมรินทร์, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐกิจไทย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ Leave a comment

คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน

ชวนอ่านปกหลัง:

“หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ ‘กังวล’ อย่างไม่ต้องสงสัยว่า ‘เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ ที่ร่ำเรียนทฤษฎีกันมาเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูง โดยละเลยปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น สามารถอธิบายความเป็นจริงของโลกและของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องหรือไม่” – วรากรณ์ สามโกเศศ

” ‘เศรษฐศาสตร์’ เป็นแค่วิธีคิดวิธีศึกษาโลกอย่างหนึ่งในหลายๆ วิธี เป็นแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์การคิดการเข้าใจโลกหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือการคิดการเรียนรู้เข้าใจโลกอื่นๆ มันมีประโยชน์และก็มีข้อจำกัดหรือกรอบของมัน มันช่วยให้คุณมองและยึดกุมอะไรบางอย่างชัดขึ้น มั่นคงแม่นยำขึ้น แต่มันก็ทำให้คุณมองบางอย่างรางเลือนไป ไม่อยู่ในโฟกัส” – เกษียร เตชะพีระ

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2547

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ, ปกป้อง จันวิทย์, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

ปกป้อง จันวิทย์ เศรษฐศาสตร์นอกรั้วกระแสหลัก

Posted on August 29, 2014October 1, 2014 by pokpong

จากพิธีกรรายการทีวี ‘จิ๋วแจ๋วเจาะโลก’ ผู้โด่งดังตั้งแต่วัยเยาว์ อะไรทำให้เด็กชายคนหนึ่งซึ่งใฝ่ฝันจะเป็นนักการเมืองหันเหชีวิตตัวเองสู่การเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เต็มตัว

และไม่ใช่แต่เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกซึ่งครอบงำความคิดคนส่วนใหญ่อยู่เท่านั้น

แต่ ปกป้อง จันวิทย์ เลือกที่จะเรียนเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก ด้วยเชื่อว่ามันคือเศรษฐศาสตร์ที่แท้ ซึ่งอธิบายความเป็นไปของสังคมได้ดีกว่าเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก อันติดอยู่กับกรอบคิดว่าคนเป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจเท่านั้น

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, ประสบการณ์เรียนต่อ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

นักเศรษฐศาสตร์นอกคอก กับแนวคิดที่แตกต่าง

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

สำหรับวงการศึกษาและวงการวิชาการในประเทศไทย อยากเรียกร้องไปอีกระดับหนึ่ง เพราะวงวิชาการไทยถูกครอบครองโดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ โดยในอนาคตตนอยากเห็น หรือหวังว่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์แปลกๆ สำนักต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อความหลากหลาย เรารู้ว่าสังคมต้องมีความหลากหลาย ซึ่งสังคมเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าหยุดนิ่งมีความคิดแบบเดียว สังคมนั้นก็ไร้ชีวิตชีวาและตายไปในที่สุด

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

รางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ 2545

Posted on August 14, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 The Royal Swedish Academy of Sciences ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2545 ให้แก่ Prof. Vernon Smith แห่ง Interdisciplinary Center for Economic Science, George Mason University และ Prof. Daniel Kahneman แห่ง Princton University คนแรกเป็นเจ้าพ่อแห่งเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง (Experimental Economics) ขณะที่คนหลังเป็นนักจิตวิทยา และเป็นเจ้าพ่อแห่งเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรม (Behavioral Economics)

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged daniel kahneman, vernon smith, กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, รางวัลโนเบล, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม, เศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง Leave a comment

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต: ความล้มเหลวของคอมมิวนิสต์ ???

Posted on August 14, 2014September 24, 2014 by pokpong

โครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ไม่เคยถูกพัฒนาอย่างจริงจังในยุคที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสหภาพโซเวียตเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ โครงสร้างทุนนิยมโดยรัฐของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าวอาจพอเรียกได้ว่าเป็น “สังคมนิยม” ในแง่ที่มีความเป็นเจ้าของแบบรวมหมู่ มีการกระจายรายได้ที่ค่อนข้างเท่าเทียม มีบริการของรัฐที่ดี และมีระดับการจ้างงานสูง กระนั้นมิอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบคอมมิวนิสต์

สังคมที่มีโครงสร้างทางชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์เป็นโครงสร้างหลักยังมิเคยเกิดขึ้นจริงในโลกใบนี้ หากใช้กรอบการวิเคราะห์ทางแรงงานส่วนเกินของมาร์กซ์ ความล้มเหลวของสหภาพโซเวียตจึงมิใช่ความล้มเหลวของคอมมิวนิสต์ หากเป็นความล้มเหลวของระบบทุนนิยมโดยรัฐต่างหาก

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คอมมิวนิสต์, ประวัติศาตร์ไทย, สหภาพโซเวียต, สังคมนิยม, เศรษฐศาสตร์แนวมาร์กซ์ Leave a comment

เรียนเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่ไหนดี ?

Posted on August 13, 2014September 24, 2014 by pokpong

ปัญหาใหญ่ของนักเรียนเศรษฐศาสตร์ไทยเมื่อถึงคราวสมัครเรียนต่อปริญญาเอกก็คือ “ขาดข้อมูล” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก

คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาล้วนเป็นป้อมปราการแห่งสำนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก กระนั้น ยังมีหลายมหาวิทยาลัยที่นำเสนอหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ที่ “แตกต่าง” และเต็มไปด้วยความ “หลากหลาย” ดังจะได้เล่าสู่กันฟัง ในบทความนี้

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, โลกวิชาการ Leave a comment

คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในความฝันของผม

Posted on May 3, 2014October 8, 2014 by pokpong

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งการสรรหาคณบดีคนใหม่ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผม – ทั้งในฐานะสมาชิกของประชาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่งที่มีความคาดหวังต่อคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ตามสมควร – ขอถือโอกาสแสดงภาพฝันของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ที่อยากให้เป็น ดังต่อไปนี้

ในทัศนะของผม จุดหมายปลายทางสูงสุดของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คือ พัฒนาสู่ “ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์” และนำความเป็นเลิศทางวิชาการนั้นเข้า “รับใช้และบริการสังคม”

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged การบริหารงานวิชาการ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, โลกวิชาการ Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back