ชวนชมหนังสารคดีสะท้อนปัญหาการศึกษาไทยฝีมือเด็กมัธยม
การศึกษา
100 ปี เซนต์คาเบรียล
ข้อคิดในวาระ 100 ปี เซนต์คาเบรียล
เมื่อเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เลือกคณบดี
กระบวนการสรรหาคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังจะสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ในเดือนเมษายน 2560 ทีมบริหารชุดใหม่จะเริ่มต้นทำงาน
ยี่สิบกว่าปีที่ผมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ทั้งในฐานะนักศึกษา อาจารย์ และศิษย์เก่า ทุกครั้งที่มีการสรรหาคณบดีใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์จะมีวัฒนธรรม “เลือกตั้ง” คณบดีโดยสมาชิกของประชาคมเสมอ แม้ว่าข้อบังคับว่าด้วยการ “สรรหา” คณบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างน้อยในช่วง 15 ปีหลังไม่ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งคณบดีก็ตาม ข้อบังคับหลายฉบับเขียนกำกับไว้ด้วยซ้ำว่าห้ามมีการหยั่งเสียงหรือห้ามเลือกตั้งนั่นเอง (ไม่ต้องยุ่ง เดี๋ยวผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและผู้บริหารมหาวิทยาลัยสรรหามาให้เอง) อำนาจในการเลือกคณบดีอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ที่ประชาคม และช่องทางการแสดงออกของประชาคมตามข้อบังคับก็มีจำกัด
ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย ธร ปีติดล วัชรฤทัย บุญธินันท์ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จันจิรา สมบัติพูนศิริ สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิฐิณี ทองแท้
บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชา 7 ท่านที่ถูกเชื้อเชิญให้มาศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอด และความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยในปัจจุบัน
สำนักพิมพ์: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2559
หน้า: 256 หน้า
ก่อนและหลังชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัย
“ทั้ง 3 วงการ (วงการการเมือง วงการสื่อ วงการวิชาการ) มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีแก่นอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความจริง จะเข้าใจความจริงได้ก็ต้องอาศัยความรู้ นักวิชาการมีหน้าที่ค้นหาความจริง สร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายความจริงให้ได้ดีที่สุด ส่วนนักข่าวก็มีหน้าที่ค้นหาความจริงของสังคมเหมือนกัน งานข่าวสืบสวนสอบสวนก็คืองานวิจัยขนาดย่อมๆ นั่นเอง นักการเมืองจะกำหนดนโยบายได้ก็ต้องเข้าใจความจริงของสังคมและโลกก่อน จึงจะกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและปฏิรูปสังคมได้ ซึ่งตัวเราก็สนใจสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ก็อยู่ในตัวเรามาโดยตลอด”
อำลาเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
วันนี้เป็นวันทำงานวันสุดท้ายของผมในฐานะอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นบ้านหลังที่สองของผม หากนับตั้งแต่แรกเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ผมก็อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มา 22 ปีเต็ม เรียกว่าเกินครึ่งหนึ่งของชีวิต
แน่นอนว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
:: 2558 :: วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ชุด “ปฏิรูปประเทศไทยด้วยคำถาม” ::
กลางเดือนกันยายน 2558 รายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอดกลับคืนจอทางไทยพีบีเอสอีกครั้ง หลังจากถูกพักออกอากาศไปร่วมปีครึ่ง
รอบนี้พวกเราถูกชวนให้ทำรายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอดเวอร์ชั่น “ปฏิรูปประเทศไทย” นี่เป็นโจทย์การทำสื่อที่ท้าทายในยุคสมัยของรัฐบาลรัฐประหาร ทีมงาน The 101% ต่างเชื่อมั่นว่าการปฏิรูปต้องอยู่บนวิถีประชาธิปไตย ยิ่งในจังหวะเวลาแบบนี้ เรายิ่งอยากสื่อ “สาร” บางอย่าง อยากแลกเปลี่ยนชวนคิดชวนคุยกับเหล่าผู้ชม โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ให้เห็นว่าเส้นทางประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพ ความหลากหลาย นิติรัฐ สันติวิธี และความเป็นธรรม เป็นหนทางหลักหนทางเดียวของการปฏิรูปประเทศไทยให้ดีขึ้นได้
:: 2558 :: TU101 ::
การสอน TU101 ในเทอม 1/2558 ที่ผ่านมานับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากครั้งหนึ่งในชีวิตการเป็นอาจารย์ครับ
วิชานี้เป็นวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาปีหนึ่งทั้งมหาวิทยาลัยต้องเรียน จึงเปิดสอนกันทุกหลักสูตร ทุกวิทยาเขต ไม่ว่าจะเป็นโครงการภาคภาษาไทยหรืออังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นโครงการภาคปกติหรือภาคพิเศษ
TU101 debate
ในชั้นเรียน TU101 ครั้งที่แล้ว เราลองจัดดีเบต 4 เรื่อง ให้นักศึกษามาถกเถียงกัน เจ้าของไอเดียคือ อ.วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผู้สอนหัวข้อ cosmopolitanism อ.วรพจน์คิดว่ากระบวนการดีเบตสะท้อนปรัชญาการศึกษาเรื่อง cosmopolitanism ซึ่งเรียกร้องการถกเถียงสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่มีความเชื่อ แนวคิด และวัฒนธรรมแตกต่างกัน คำถามสำคัญก็คือ อะไรคือความเหมือนในความแตกต่าง อะไรคือความแตกต่างในความเหมือนกัน และเราจะแสวงหาจุดลงตัวในการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร
เราพยายามทำให้กระบวนการเรียนรู้และเนื้อหาการเรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกัน
ปัญหาในงานเขียนของนักศึกษา โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
แม้ว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายท่านยังคงจัดสอบในห้องเรียนอยู่ ผมเองนั้นเลิกวัดผลด้วยการสอบไปนานแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะสาขาวิชาผมไม่ต้องการความจำแบบต้องรู้รายละเอียด ประกอบกับส่วนใหญ่ผมสอนระดับปีสูงหรือระดับบัณฑิตศึกษา ก็จึงแทบจะไม่วัดผลด้วยการสอบ ตลอดหลายปีที่ไปเรียนปริญญาเอกในต่างประเทศ ผมเองได้สอบข้อเขียนอยู่เพียง 2 ครั้ง นอกเหนือจากนั้นก็เขียนบทความวิชาการเพื่อทดสอบความรู้ทั้งสิ้น
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด
ถ้าไม่นับว่างานเขียนของนักศึกษามีปัญหาตั้งแต่การตั้งโจทย์ของการศึกษาแล้ว คือถ้ายกปัญหาของการค้นคว้าวิจัยออกไปก่อน สมมติว่าคุณทำวิจัยเป็นแล้ว หรือทำยังไม่เป็นก็แล้วแต่ ขอให้เข้าใจว่า ปัญหาการเขียนเป็นคนละส่วนกับปัญหาการทำวิจัย แม้ว่ามันจะแยกออกจากกันได้ยากยิ่งนักก็ตาม ในข้อเขียนนี้ ผมอยากจะเสนอเฉพาะปัญหาของงานเขียนที่พบบ่อย