รายละเอียด: รวมบทบรรยายและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ผู้บรรยายและสัมภาษณ์: กอบศักดิ์ ภูตระกูล สฤณี อาชวานันทกุล ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: มิถุนายน 2552
รายละเอียด: รวมบทบรรยายและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ผู้บรรยายและสัมภาษณ์: กอบศักดิ์ ภูตระกูล สฤณี อาชวานันทกุล ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: มิถุนายน 2552
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร
เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์
และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา
“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ
ผู้เขียน: Edsel L. Beja, Pokpong Junvith and Jared Ragusett
ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน Epstein, Gerald (ed.). 2005. Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries. Edward Elgar Publishing.
หนังสือ Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries (2005, Edward Elgar) บรรณาธิการโดย เจอราลด์ เอ็บสตีน (Gerald Epstein) มีลักษณะ ‘มาก่อนกาล’ คือถูกเขียนขึ้นในช่วงที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังมองมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในแง่ร้าย (อย่างดีก็เป็น ‘ปีศาจที่จำเป็น’) ในช่วงหลายปีก่อนเกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก ซึ่งในเวลานั้น ผู้คนยังไม่ตั้งคำถามต่อระบบโลกาภิวัตน์ทางการเงินที่มีลักษณะเสรีสุดขั้ว แตกต่างจากปัจจุบัน
ผู้สนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศคงได้แง่คิดอีกมุมหนึ่ง และเปิดมุมมองใหม่หลายเรื่องเกี่ยวกับ Capital Controls และ Capital Flight จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ หลายประเด็นเป็นคำทำนายที่ ณ วันนั้นไม่มีใครฟัง แต่เกิดขึ้นจริงในเศรษฐกิจโลก ณ วันนี้
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ ‘ไอเอ็มเอฟ’ เป็นป้อมปราการสำคัญของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ ไอเอ็มเอฟมีบทบาทในการผลิตสร้าง สนับสนุน และผลักดันนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ไปยังประเทศกำลังพัฒนาตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
นโยบายหลักซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายเสรีนิยมใหม่คือ การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ (Financial Liberalization) หรือการเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalization) ซึ่งหมายถึง การทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น พันธบัตร เงินตราต่างประเทศ เงินฝาก เงินกู้ ตราสารอนุพันธ์ รวมถึงเงินลงทุน ดำเนินไปอย่างเสรีตามกลไกตลาด ลดการกำกับควบคุมโดยรัฐ และยกเลิกข้อจำกัดและกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศอย่างเสรี
ไอเอ็มเอฟมิใช่สถาบันที่ปราศจากอุดมการณ์เบื้องหลัง นักเศรษฐศาสตร์หลายคนตีตราไอเอ็มเอฟในฐานะสถาบันที่แปลงอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประจักษ์พยานที่เห็นเด่นชัดในปัจจุบันคือ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ไอเอ็มเอฟเสนอแก่ประเทศที่เผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจล้วนเดินตามนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เป็นสำคัญ
ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลและมีวิวัฒนาการต่อเนื่องจากการเผชิญหน้าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของเศรษฐกิจโลก ในอีกทางหนึ่ง ไอเอ็มเอฟก็เป็นผู้เขียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเศรษฐกิจโลกเสียเอง
ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลจากความคิดและองค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ในอีกทางหนึ่ง ลักษณะตัวตนของไอเอ็มเอฟกลับส่งอิทธิพลกำหนดความเป็นไปและพัฒนาการขององค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์
เมื่อก่อนคนมักเข้าใจว่า นโยบายส่งเสริมการส่งออกไปด้วยกันได้ดีกับนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน แต่ปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงความขัดกันของสองนโยบายนี้ กล่าวคือเงินทุนที่ไหลเข้ามาก ทำให้ค่าเงินแข็ง และกระทบภาคส่งออก มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อกัน
โจทย์สำคัญที่ต้องคิดกันก็คือ ถ้าประเทศไทยจะยังยึดกุมยุทธศาสตร์ส่งออกเพื่อการพัฒนาต่อไป เราควรจะมีท่าทีอย่างไรต่อการไหลเข้าของเงินระหว่างประเทศ ถ้าเราปล่อยให้ทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี เราก็ต้องรับผลกระทบจากความผันผวนไร้เสถียรภาพจากระบบการเงินโลก ซึ่งประสบการณ์ในขณะนี้ชี้ชัดว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเงิน ในค่าเงินนั้นกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงด้วย ผลกระทบไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แต่ในภาคการเงินหรือตัวแปรที่เป็นตัวเงินเท่านั้น
วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการ ‘ดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น’ (The reserve requirement on short-term capital inflows) ด้วยหวังจะใช้แก้ปัญหาเงินทุนระยะสั้นจากต่างชาติไหลที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก จนกระทบภาคการส่งออกของไทย ซึ่งจะมีผลบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง
เนื้อหาของมาตรการนี้คือ เมื่อมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศ สถาบันการเงินที่เป็นผู้รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด ทำให้ทุนนำเข้าสามารถแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้ลงทุนต่อในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (การกันสำรอง ให้ยกเว้นธุรกรรมที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ( Foreign Direct Investment -FDI) ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติที่นำทุนออกก่อนระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนแค่ 2 ใน 3 ของเงินสำรองที่กันไว้ (ได้คืนแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด โดยถูกหักไป 10 เปอร์เซ็นต์) ส่วนนักลงทุนที่นำเงินออกหลัง 1 ปี จะได้เงินคืนเต็มจำนวน แต่ก็ยังไม่ได้ดอกเบี้ยจากการถูกกันสำรอง
1 วันให้หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศมาตรการลงโทษทุนระยะสั้นดังกล่าว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงเป็นประวัติการณ์ถึง 108.41 จุด คิดเป็น 14.84 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมูลค่าหุ้นในตลาดเมื่อปิดตลาดวันนั้นลดลงประมาณ 8.2 แสนล้านบาท ในชั่วเวลาเพียง 1 วัน