4 พล็อตการเมืองอเมริกาที่อยากเขียนเล่าในอนาคต
การเมืองอเมริกา
Veep V Trump
ชวนดู VEEP ซีรีส์การเมืองในจักรวาลคู่ขนานของ “ทรัมป์”
ทรัมป์ 101: ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2016 โลกต้องตื่นตะลึง เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน พลิกชนะฮิลลารี คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครต อย่างเหนือความคาดหมาย เตรียมก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2017
เหตุใดโดนัลด์ ทรัมป์ อภิมหาเศรษฐีระดับห้าพันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ไร้ประสบการณ์ทางการเมืองและกิจการสาธารณะโดยสิ้นเชิง จึงข้ามผ่านคู่แข่งอีก 16 คน ก้าวขึ้นเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกัน และยึดทำเนียบขาวได้สำเร็จในที่สุด ทั้งที่ตลอดการหาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ฉีกทุกกฎแห่ง ‘ความถูกต้องทางการเมือง’ ด้วยข่าวฉาวโฉ่ บุคลิกชวนขำขื่น วาจาข่มขู่ นโยบายเหนือจริง และโกหกคำโต
สหรัฐอเมริกาเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และโลกใหม่ในยุคประธานาธิบดีทรัมป์จะมีหน้าตาเช่นไร
ปกป้อง จันวิทย์ ผู้เขียนหนังสือ CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว เมื่อปี 2008 หนึ่งในคณะบรรณาธิการ the101.world สื่อใหม่ของทีมงาน ‘วันโอวัน’ ที่เตรียมเปิดตัวในปี 2017 ชวน ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสำรวจเบื้องลึกเบื้องหลังของ ‘ปรากฏการณ์ทรัมป์’ แบบตัวต่อตัว ผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา
มองการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาแบบฉลาดหลังเหตุการณ์ (ทั้งที่ยังไม่หายโง่)
ผมติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 อย่างหงอยๆ เพราะรู้สึกว่าเป็นการเลือกตั้งที่หมดสนุก สลดหดหู่ และไร้ซึ่งความหวังที่สุดตั้งแต่ติดตามการเมืองอเมริกามากว่า 25 ปี (ไม่นับกระแส feel the bern ของคุณปู่เบอร์นี่ แซนเดอร์ส สมาชิกวุฒิสภารัฐเวอร์มอนต์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต)
ทั้งฮิลลารี คลินตัน ตัวแทนพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน ต่างก็เป็นผู้สมัครที่มีคนเกลียดมากกว่าคนรักในสายตาของประชาชนทั่วไป (ระดับ 60:40 พอกันทั้งคู่) ไม่ต้องพูดถึงกองเชียร์ของพรรคฝั่งตรงข้ามที่โคตรเกลียด ส่วนกองเชียร์ภายในพรรคตัวเองจำนวนมากก็ไม่ชอบหน้าเช่นกัน
เพียงแค่ 8 ปี บรรยากาศแห่งความหวังที่โอบามาปลูกไว้ในการเลือกตั้งปี 2008 ก็มลายสิ้นจากสังคมการเมืองอเมริกัน เหลือเพียงความเป็นจริงทางการเมืองที่ขมขื่น ฉาวโฉ่ ไร้ทางเลือก เต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจและความเกลียดชัง
ดาบในมือผู้นำ
ใครเคยเยี่ยมชม National Museum of American History หนึ่งในพิพิธภัณฑ์สังกัด Smithsonian Institution กลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. น่าจะเคยเห็นรูปปั้นนี้ตั้งตระหง่านอยู่บนชั้นสอง
ดูออกไหมครับว่านี่คือรูปปั้นของจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำการปฏิวัติอเมริกันเพื่อประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ประธานการประชุมร่างรัฐธรรมนูญที่ฟิลาเดลเฟียในช่วงฤดูร้อนปี 1789 บิดาผู้ก่อร่างสร้างประเทศ และประธานาธิบดีคนแรกสหรัฐอเมริกา
“ความหวัง” ที่ “เราทำได้”
ขณะที่เราหายใจ เรามีความหวัง
เมื่อเราพบเจอความมองโลกในแง่ร้าย ความลังเลสงสัย และผู้คนที่เฝ้าพร่ำบอกว่าเราไร้สามารถ เราจะตอบกลับไปด้วยหลักการเหนือกาลเวลาที่สรุปจิตวิญญาณแห่งประชาชนว่า
“ใช่ เราทำได้”
ทรัมป์ V คลินตัน
สิ่งที่ทรัมป์ภาวนาตอนนี้ก็คือ ขอให้แซนเดอร์สหักกับเดโมแครต แล้วลงสมัครอิสระ ตัดคะแนนกันเองกับคลินตัน แต่กว่าจะถึงจุดนั้นคงไม่ง่าย เพราะเดโมแครตคงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ยอมให้เกิดเรื่องแบบนั้นขึ้น
เวลานี้ทุกฝ่ายคงเฝ้าจับตาดูการต่อรองระหว่างคลินตันกับแซนเดอร์สว่าจะออกผลเช่นไร คลินตันจะหาทางดึงปีกแซนเดอร์สให้มาอยู่กับตัวเองอย่างไร (ตั้งแต่ตัวแซนเดอร์ส จนถึงสารหลัก นโยบาย ทีมงาน ผู้สนับสนุนจากฝั่งแซนเดอร์ส)
CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว
ชวนอ่านปกหน้า:
หนึ่งผิวสี หนึ่งสตรี หนึ่งวีรบุรุษชรา กับปฏิบัติการ ‘เปลี่ยน’ อเมริกา
เบื้องหลังการหาเสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกายุคใหม่
ชวนอ่านปกหลัง:
“ในที่สุด หลังจากถูกบังคับให้เป็นทาสมานานนับศตวรรษ คนผิวดำจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐ ที่กดขี่พวกเขามายาวนาน ได้อย่างสมภาคภูมิหรือไม่ ความฝันที่ถูกจุดประกายขึ้นโดยสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะสามารถแปลงเป็นความจริงได้หรือไม่ … กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในภาคภาษาไทย” – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
“แม้ว่าการเมืองของสหรัฐอเมริกาจะมิได้มีแต่แง่งาม หากมีอัปลักษณะหลายประการ และมีอัปรียชนแฝงตัวอยู่ เหมือนดังเช่นการเมืองทั่วทุกที่ แต่กระนั้น การเมืองอเมริกันก็เป็นภาพตัวอย่างที่ให้เราเอาเยี่ยงได้ในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ สิทธิ และเสรีภาพ การออกแบบระบบการเมืองการปกครองด้วยปัญญา โดยเฉพาะระบบการคานและดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ โดยมีข้อสมมติเบื้องต้นว่า การเมืองเป็นเรื่องของปุถุชนคนธรรมดา มิใช่เป็นเรื่องเฉพาะของเทวดา คุณพ่อคุณแม่รู้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ ปราชญ์ผู้ทรงธรรม หรือบรรดาผู้ผูกขาดนิยามความดี ความงาม ความจริง ไว้แต่เพียงผู้เดียว” – ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: openbooks
พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2551
เล่มนี้ที่อยากดู: ย้อนรอยเสรีภาพด้วยหนัง
การร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาครั้งนั้นคือการออกแบบสถาบันที่น่าสนใจที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเลยนะครับ เป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองในขณะนั้น มีการต่อสู้ทางความคิดในที่ประชุม ต่อรองและชิงไหวชิงพริบทางการเมืองกันอย่างสนุกระหว่างตัวแทนต่างๆ ต้องใช้เวลากว่า 5 เดือนถึงจะร่างเสร็จ แล้วต้องส่งให้แต่ละรัฐให้การรับรอง ตามด้วยสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งพอผมได้อ่านหนังสือที่พูดถึงเรื่องพวกนี้อย่าง American Creation (2007) ของ Joseph Ellis, America’s Constitution: A Biography (2006) ของ Akhil Reed Amar แล้วก็ The Summer of 1787 (2007) ของ David Stewart ผมรู้สึกอยากเห็นหนังที่เล่าเหตุการณ์ช่วงนั้นมากๆ
จอน เฟฟโร: เบื้องหลัง ‘เสียง’ ของโอบามา
การเขียนสุนทรพจน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นคนเขียนสุนทรพจน์ให้บรรดานักคิดนักเขียนด้วยแล้ว ยิ่งยากยิ่งเป็นทวีคูณ
อาชีพของเฟฟส์ไม่ใช่การเขียนเพื่อตัวเอง แต่เป็นการเขียนเพื่อเจ้านาย ความเป็นนักเขียนสุนทรพจน์อาชีพที่ดีจึงไม่ได้วัดกันที่การแต่งประโยคสวยหรูหรือถ้อยความชวนคิดแล้วยัดเยียดใส่ปากให้เจ้านายเป็นผู้ออกหน้าอ่านออกเสียง แต่นักเขียนสุนทรพจน์ที่ดีต้องรู้จัก ตัวตน บุคลิก ชีวิต ความคิด จิตใจ และอุดมการณ์ของเจ้านายอย่างทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขียนงานให้เสมือนออกมาจากความคิดและฝีมือของเจ้านาย ผลิตคำกล่าวที่เหมาะกับบุคลิกและฝีปากของผู้พูด อย่างไม่ขาดพร่องและไม่ล้นเกิน