อ่าน “โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานคร” ของจิตร ภูมิศักดิ์
การเมืองไทย
ภาพของ ‘เอ็ม’
ภาพถ่ายแห่งปี 2020
One man, One vote ของคณะกรรมการร่าง รธน. 60
อ่านเหตุผลอันเหลือเชื่อเกี่ยวกับการเลือกตั้งของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย ธร ปีติดล วัชรฤทัย บุญธินันท์ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จันจิรา สมบัติพูนศิริ สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิฐิณี ทองแท้
บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชา 7 ท่านที่ถูกเชื้อเชิญให้มาศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอด และความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยในปัจจุบัน
สำนักพิมพ์: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2559
หน้า: 256 หน้า
งานอภิปรายทางวิชาการและเปิดตัวหนังสือ “ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน” ในงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์
งานอภิปรายทางวิชาการและเปิดตัวหนังสือ “ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน” ในงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ. ท่าพระจันทร์
35 | 53 หนุ่มสาวในห้วงของการเปลี่ยนผ่าน (ตอน 1)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ กับผม มาแลกเปลี่ยนกันเรื่องพัฒนาการของสังคม-เศรษฐกิจ-การเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เชื่อมโยงมาถึงสภาพปัจจุบันและมองไปข้างหน้า โดยมีคุณชูวัส ฤกษ์ศิริสุข เป็นผู้ชวนสนทนา
บทเรียนการเมืองไทยจาก ‘บรรหาร ศิลปอาชา’
ไม่ว่าชีวิตของรัฐบุรุษหรือมหาโจรต่างมีบทเรียนสอนใจเราทั้งนั้น ชีวิตของคุณบรรหาร ศิลปอาชา ก็เช่นกัน ในฐานะผู้สนใจการเมือง ผมได้เรียนรู้บทเรียนหลายประการจากชีวิตทางการเมืองของคุณบรรหาร
บทเรียนการเมืองไทย จากบรรหาร ศิลปอาชา
ชีวิตทางการเมืองของคุณบรรหาร ศิลปอาชา สอนผม 3-4 อย่างครับ
1. นักการเมือง ไม่ว่าจะดี จะชั่ว หรือชั่วๆ ดีๆ ยังไงก็ต้องฟังเสียงและแคร์ความรู้สึกของประชาชน
เพราะคุณบรรหารอยากเป็นนายกฯ เลยต้องแปลงโฉมใส่สูท ใส่แว่นหนา ถ่ายโฆษณาประดับลูกโลกบนโต๊ะทำงาน คบนักวิชาการ และชูธงปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ชนชั้นกลางในเมืองยอมรับ หยุดส่งเสียง ‘ยี้’
เราเลยแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 211 ได้สำเร็จ เปิดทางให้เกิด ส.ส.ร. จนในที่สุด รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ก็คลอดออกมาได้ แม้นักการเมืองจำนวนมากในสภาไม่ต้องการ
สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: In the vertigo of change: How to resolve Thailand’s transformation crisis (สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: Marc Saxer
ชวนอ่าน:
กว่า 10 ปี ภายใต้วังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน? และสังคมไทยจะก้าวข้ามวิกฤตเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางออกดังกล่าวได้อย่างไร? หาคำตอบได้จากบทความทั้ง 9 ชิ้น อันเฉียบคมและชวนถกเถียงต่อในหนังสือเล่มนี้
1. บทนำ: ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย
2. ในวังวนแห่งการเปลี่ยนแปลง: เราจะคลี่คลายวิกฤตการเมืองได้อย่างไร?
3. ประเทศไทยจะก้าวข้ามวิกฤตการเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร?: ยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
4. เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้: หนทางสร้างการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อสังคมที่ดี
5. โทสะชนชั้นกลางคุกคามประชาธิปไตย
6. วาทกรรมการเมืองเชิงศีลธรรม ในฐานะอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
7. การต่อสู้กับคอร์รัปชันในสังคมเปลี่ยนผ่าน
8. ความฝันของสยามยามคณะรัฐประหารครองเมือง
9. บทส่งท้าย: การสร้างสังคมที่ดีในประเทศไทย
ชวนอ่านปกหลัง
– วิกฤตเปลี่ยนผ่าน –
ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านคือความทุกข์จากความสำเร็จของตน เมื่อระเบียบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อความเป็นจริงใหม่ทางสังคม ในการข้ามพ้นวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ระเบียบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความซับซ้อน ความหลากหลาย และความขัดแย้งอันถาวรของสังคมพหุนิยมสมัยใหม่
– ประชาธิปไตย –
‘ประชาธิปไตยแบบหนา’ คือเกมที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีอยู่ ประชาธิปไตยที่ไม่มีการเลือกตั้งและการปกครองด้วยเสียงข้างมากย่อมไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายใต้หลักนิติธรรม และระบบตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อคัดคานการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วย
– ความขัดแย้งเหลือง-แดง –
ทั้งสองฝ่ายต่างนำวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการใช้ความรุนแรงมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตน ทั้งวาทกรรม ‘แดง’ และ ‘เหลือง’ ต่างส่งเสริมประชาธิปไตยที่บกพร่องและไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
– ชนชั้นกลาง –
ประชาธิปไตยไม่อาจอยู่รอดได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง เราจำเป็นต้องดึงชนชั้นกลางที่เกรี้ยวกราดกลับเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังประชาธิปไตยอีกครั้งให้ได้
– คอร์รัปชัน –
คอร์รัปชันมิใช่ปัญหาศีลธรรมส่วนบุคคล แต่เป็นอาการของโรคเรื้อรังจากระบอบศักดินาราชูปถัมภ์ ในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน เราจำเป็นจะต้องเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง และต้องทำให้การต่อสู้กับคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ที่ใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยและสร้างความยุติธรรมทางสังคม
– เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้ –
เศรษฐกิจไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้เป้าหมายแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’ ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการพัฒนาใหม่ สู่โมเดลการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของทุกคนให้บรรลุศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่ตนเลือกอย่างถ้วนหน้า
– พันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง –
เพื่อเอาชนะแนวร่วมฝ่ายธำรงรักษาสถานภาพเดิมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง กลุ่มพลังก้าวหน้า เสรีนิยม และอนุรักษนิยมตาสว่าง ต้องรวมพลังกันเป็นพันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง พื้นที่กลาง ซึ่งทุกกลุ่มน่าจะยอมรับร่วมกันได้ คือการรวมพลังกันเพื่อ “สร้างสนามประชาธิปไตยในวันนี้สำหรับใช้แข่งขันกันอย่างเท่าเทียมต่อไปในวันหน้า”
– สัญญาประชาคมใหม่ –
ทางออกที่ทุกกลุ่มในสังคมเป็นผู้ชนะ มิอาจเกิดขึ้นผ่านการประนีประนอมเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำแบบปิดลับอีกต่อไป สังคมไทยต้องการสัญญาประชาคมใหม่ที่วางอยู่บนฐานของการประนีประนอมที่เปิดกว้างให้ทุกกลุ่มในสังคมมีส่วนร่วมอย่างถ้วนหน้า และเป็นสัญญาประชาคมที่สร้างระเบียบสมัยใหม่บนฐานของกฎหมายและเหตุผลสำหรับเป็นฐานที่มั่นแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’
สำนักพิมพ์: openworlds / มูลนิธิฟรีดริด แอเบร์ท
พิมพ์ครั้งแรก: ธันวาคม 2557
หน้า: 304 หน้า
ราคา: ไม่จำหน่าย
‘เสรีประชาธรรม’ กับ ‘หมู่บ้านไทยเจริญ’
หลังจากที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 หลังจากเพิ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างนับสิบปีในปี 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2512 ซึ่งพรรคสหประชาไทยของท่านชนะเลือกตั้ง จอมพลถนอมก็เปลี่ยนสภาพจากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้ระบอบเผด็จการทหารตามความคุ้นชิน
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ลาไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ได้เขียนจดหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาฉบับหนึ่ง คือ จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เศรษฐศาสตร์สาร ฉบับชาวบ้าน (ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2515) ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้จอมพลถนอมเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว