Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

การเลือกตั้ง

เมื่อเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เลือกคณบดี

Posted on February 23, 2017March 5, 2017 by pokpong

กระบวนการสรรหาคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังจะสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ในเดือนเมษายน 2560 ทีมบริหารชุดใหม่จะเริ่มต้นทำงาน

ยี่สิบกว่าปีที่ผมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ทั้งในฐานะนักศึกษา อาจารย์ และศิษย์เก่า ทุกครั้งที่มีการสรรหาคณบดีใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์จะมีวัฒนธรรม “เลือกตั้ง” คณบดีโดยสมาชิกของประชาคมเสมอ แม้ว่าข้อบังคับว่าด้วยการ “สรรหา” คณบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างน้อยในช่วง 15 ปีหลังไม่ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งคณบดีก็ตาม ข้อบังคับหลายฉบับเขียนกำกับไว้ด้วยซ้ำว่าห้ามมีการหยั่งเสียงหรือห้ามเลือกตั้งนั่นเอง (ไม่ต้องยุ่ง เดี๋ยวผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและผู้บริหารมหาวิทยาลัยสรรหามาให้เอง) อำนาจในการเลือกคณบดีอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ที่ประชาคม และช่องทางการแสดงออกของประชาคมตามข้อบังคับก็มีจำกัด

Posted in บทความ, บล็อก Tagged การศึกษา, การสรรหาคณบดี, การเลือกตั้ง, คณบดี, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประชาธิปไตย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Leave a comment

“เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” รวมพลังกลุ่มต่างขั้ว หา “จุดร่วม” ทางออกประเทศไทย

Posted on September 22, 2014October 6, 2014 by pokpong

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงเปิดตัวเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร คัดค้านความรุนแรงทุกรูปแบบ เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม นักวิชาการ ที่มีความคิดเห็น “ต่างขั้ว” และมี “จุดยืน” ทางการเมืองที่หลากหลาย แต่มี “จุดร่วม” ที่เหมือนกัน รวมพลังระดมความคิดร่วมกันหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และอีกหนึ่งความหวัง

ไม่เอา “รัฐประหาร-ความรุนแรง” เอา “เลือกตั้ง-ปฏิรูปวิถีประชาธิปไตย”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged rainbow coalition, การปฏิรูป, การเมือง, การเลือกตั้ง, ประชาธิปไตย, รัฐประหาร, เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา Leave a comment

CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

หนึ่งผิวสี หนึ่งสตรี หนึ่งวีรบุรุษชรา กับปฏิบัติการ ‘เปลี่ยน’ อเมริกา

เบื้องหลังการหาเสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกายุคใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

“ในที่สุด หลังจากถูกบังคับให้เป็นทาสมานานนับศตวรรษ คนผิวดำจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐ ที่กดขี่พวกเขามายาวนาน ได้อย่างสมภาคภูมิหรือไม่ ความฝันที่ถูกจุดประกายขึ้นโดยสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะสามารถแปลงเป็นความจริงได้หรือไม่ … กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในภาคภาษาไทย” – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

“แม้ว่าการเมืองของสหรัฐอเมริกาจะมิได้มีแต่แง่งาม หากมีอัปลักษณะหลายประการ และมีอัปรียชนแฝงตัวอยู่ เหมือนดังเช่นการเมืองทั่วทุกที่ แต่กระนั้น การเมืองอเมริกันก็เป็นภาพตัวอย่างที่ให้เราเอาเยี่ยงได้ในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ สิทธิ และเสรีภาพ การออกแบบระบบการเมืองการปกครองด้วยปัญญา โดยเฉพาะระบบการคานและดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ โดยมีข้อสมมติเบื้องต้นว่า การเมืองเป็นเรื่องของปุถุชนคนธรรมดา มิใช่เป็นเรื่องเฉพาะของเทวดา คุณพ่อคุณแม่รู้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ ปราชญ์ผู้ทรงธรรม หรือบรรดาผู้ผูกขาดนิยามความดี ความงาม ความจริง ไว้แต่เพียงผู้เดียว” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2551

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การเมือง, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, จอห์น แม็คเคน, บารัค โอบามา, ประวัติศาสตร์อเมริกา, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, ฮิลลารี คลินตัน, เศรษฐกิจอเมริกา 1 Comment

จอน เฟฟโร: เบื้องหลัง ‘เสียง’ ของโอบามา

Posted on September 4, 2014October 8, 2014 by pokpong

การเขียนสุนทรพจน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นคนเขียนสุนทรพจน์ให้บรรดานักคิดนักเขียนด้วยแล้ว ยิ่งยากยิ่งเป็นทวีคูณ

อาชีพของเฟฟส์ไม่ใช่การเขียนเพื่อตัวเอง แต่เป็นการเขียนเพื่อเจ้านาย ความเป็นนักเขียนสุนทรพจน์อาชีพที่ดีจึงไม่ได้วัดกันที่การแต่งประโยคสวยหรูหรือถ้อยความชวนคิดแล้วยัดเยียดใส่ปากให้เจ้านายเป็นผู้ออกหน้าอ่านออกเสียง แต่นักเขียนสุนทรพจน์ที่ดีต้องรู้จัก ตัวตน บุคลิก ชีวิต ความคิด จิตใจ และอุดมการณ์ของเจ้านายอย่างทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขียนงานให้เสมือนออกมาจากความคิดและฝีมือของเจ้านาย ผลิตคำกล่าวที่เหมาะกับบุคลิกและฝีปากของผู้พูด อย่างไม่ขาดพร่องและไม่ล้นเกิน

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged Jon Favreau, obama, openbooks, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, จอน เฟฟโร, บารัค โอบามา, สุนทรพจน์ Leave a comment

บารัค โอบามา  บนถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 4, 2014October 8, 2014 by pokpong

จากปี 1963 ถึง 2008

45 ปี ผ่านไป “ความฝัน” ซึ่ง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ได้เริ่มจุดประกายวาดหวังไว้ มีแววว่าจะไปได้ไกลสุดปลายฝัน เมื่อชายหนุ่มผิวดำ วัย 47 ปี นักการเมืองหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติได้ไม่ถึง 5 ปี สามารถพลิกประวัติศาสตร์เป็นคนผิวดำคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองใหญ่ลงชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุด และมีโอกาสสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกแห่งสหรัฐอเมริกา–ประเทศซึ่งคนผิวดำตกเป็นผู้ถูกกดขี่ในฐานะทาสและพลเมืองชั้นสามส่วนห้ามายาวนานนับศตวรรษ

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged obama, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, คนผิวดำ, นโยบายสาธารณะ, บารัก โอบามา, ประชาธิปไตย, ประวัติศาสตร์อเมริกา, สารคดี, สิทธิเสรีภาพ, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

โอบามา: การเมืองใหม่ เศรษฐกิจใหม่

Posted on September 1, 2014October 3, 2014 by pokpong

“การเมืองอเมริกาเป็นเรื่องเล่าที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเท่ากัน และเชื่อมั่นในหลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง ประชาชนมีสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศด้วยมือของเขาเอง ถ้าคุณเผชิญกับรัฐบาลนี้ ผู้นำคนนี้คุณไม่ชอบ วันเลือกตั้งคุณก็ลงโทษด้วยการไม่ลงคะแนน ระบบก็เดินไปข้างหน้า …”

“ระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกาเป็นระบอบที่อยู่บนฐานข้อสมมติที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องของสามัญชนคนธรรมดา การเมืองไม่ใช่เรื่องของคนมีอำนาจ ไม่ใช่เรื่องของนักปราชญ์เมธี แต่เป็นเรื่องของคนธรรมดา และไม่มีใครผูกขาดความดีความงามความจริงไว้กับตัวเองฝ่ายเดียว …”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, บารัค โอบามา, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

เศรษฐกิจใหม่

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจอเมริกาในขณะนี้คือ ปัญหาการว่างงาน อัตราการว่างงานสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนตุลาคม 2008 ตำแหน่งงานหายไปจากเศรษฐกิจอเมริกา 10 เดือนรวด รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านตำแหน่ง เฉพาะเดือนตุลาคม 2008 งานหายไป 240,000 ตำแหน่ง คาดว่าในขณะนี้ คนว่างงานในอเมริกาสูงถึงหลัก 10 ล้านคน

หากคนไม่มีงานทำ อำนาจซื้อในระบบเศรษฐกิจก็หดหาย เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวได้ยาก และเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อลูกหนี้สูญเสียความสามารถในการชำระหนี้ ก็เข้าสู่ภาวะหนี้ท่วมหัว อาจถูกยึดบ้าน ถูกฟ้องล้มละลาย และสถาบันการเงินก็ประสบปัญหาหนี้เสียและขาดทุน บั่นทอนความสามารถในการปล่อยกู้ให้ภาคเศรษฐกิจจริง ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปอุ้ม

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องอิรัก

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเด็นที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ ก็คือ ปฏิบัติการทางการทหารในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงหนึ่งปีให้หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลบุชต้องการทำสงครามกับอิรัก เพื่อล้มล้างระบอบซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งรัฐบาลบุชขนานนามว่าเป็นระบอบทรราชย์ที่เป็นภัยคุกคามต่ออเมริกาและต่อโลก โดยอ้างว่า อิรักได้พัฒนาอาวุธทำลายล้างรุนแรง (WMD – Weapons of Mass Destruction) ให้การสนับสนุนองค์กรก่อการร้าย และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโหดร้าย รวมถึงเคยพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีบุชผู้พ่อด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องคนย้ายถิ่น

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

หากวิเคราะห์จุดยืนพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการย้ายถิ่นของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า นโยบายของแม็คแคนและโอบามา (รวมถึงคลินตัน) ไม่ต่างกันมาก ทุกคนต่างให้การสนับสนุนการปฏิรูประบบจัดการการย้ายถิ่นตามแนวทางของร่างกฎหมายปี 2006 ซึ่งก็คือการสนับสนุนนโยบายสร้างรั้วกั้นแนวพรมแดนทางใต้ สนับสนุนการสร้าง ‘ทาง’ ให้คนย้ายถิ่นที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมายก้าวสู่การเป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัวได้ และการเปิดช่องให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในระบบแรงงานรับเชิญ

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การย้ายถิ่น, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

การเมืองเรื่องขุดน้ำมัน

Posted on August 25, 2014October 3, 2014 by pokpong

ด้วยราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไม่หยุด จนแตะระดับ 135 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปี 2551 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงปลุกผีการขุดเจาะหาน้ำมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยเสนอให้รัฐสภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการห้ามขุดเจาะน้ำมันในทะเล ปี 1981 และมีแนวคิดที่จะยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Orders) ที่ห้ามขุดเจาะน้ำมันปี 1990 รวมถึงเสนอให้อนุญาตให้ขุดหาน้ำมันในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและคุ้มครองสัตว์ป่าได้ด้วย โดยอ้างว่าหากค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่จะช่วยทำให้ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาลดลง เป็นการบรรเทาภาระของประชาชน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, นโยบายเศรษฐกิจ, รีพับลิกัน, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back