ใครคิดถึงเฉลิมพงศ์-พรเทพบ้าง?
ชีวิตส่วนตัว
#นั่นพี่โผ้ม
moment of the day ในงานหนังสือแห่งชาติ
เสริมกับผม
รำลึกถึงเพื่อนรัก – ไกรเสริม โตทับเที่ยง
Me, Pok the Blogger and My Father
ประสบการณ์เจอ ‘ป๊อก’ ครั้งแรก
สุทธิชัย หยุ่น
ผมกับสุทธิชัย หยุ่น!
จิ๋วแจ๋วเจาะโลก: 30 ปีให้หลัง
เมื่อคืนนี้ อดีตพิธีกรรายการข่าวเด็ก “จิ๋วแจ๋วเจาะโลก” เมื่อสามสิบปีก่อน (มันเกือบสามสิบปีมาแล้วครับ!) นัดกินข้าวกัน บางคนยังมีโอกาสได้เจอกันบ้างนานๆ ครั้ง บางคนไม่เคยติดต่อกันมาเกินยี่สิบปีแล้ว ขอบคุณเฟซบุ๊กและไลน์ที่ทำให้พวกเรา “ต่อกันติด” อีกครั้ง
พวกเราโตมาด้วยกัน เพราะทำจิ๋วแจ๋วด้วยกันอย่างน้อยก็ 6 ปี อย่างผมก็ตั้งแต่ ป.6 จนเข้ามหาวิทยาลัย
จะว่าไป จิ๋วแจ๋วก็มีส่วนก่อร่างสร้างตัวตนของพวกเราไม่น้อย แต่ละคนก็มาฝึกตนที่นี่กันทั้งนั้น ในขณะที่เพื่อนฝูงวิ่งเล่นตอนเลิกเรียน หรือเรียนพิเศษกันวันเสาร์อาทิตย์ เราออกท่องโลกกว้าง สัมภาษณ์ผู้ใหญ่หลายแวดวง ไปทำข่าวภาคสนาม เดินทางต่างจังหวัดและต่างประเทศ คุยกับเพื่อนเด็กคนเก่ง ฝึกอ่านออกเสียง ฝึกพูดหน้ากล้อง หน้าสาธารณะ
แล้วกลับบ้านไปอ่านหนังสือเรียนและทำการบ้าน
ปกป้อง
ว่าด้วย ปกป้อง ปกป้อง ปกป้อง ปกป้อง ปกป้อง
ก่อนและหลังชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัย
“ทั้ง 3 วงการ (วงการการเมือง วงการสื่อ วงการวิชาการ) มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีแก่นอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความจริง จะเข้าใจความจริงได้ก็ต้องอาศัยความรู้ นักวิชาการมีหน้าที่ค้นหาความจริง สร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายความจริงให้ได้ดีที่สุด ส่วนนักข่าวก็มีหน้าที่ค้นหาความจริงของสังคมเหมือนกัน งานข่าวสืบสวนสอบสวนก็คืองานวิจัยขนาดย่อมๆ นั่นเอง นักการเมืองจะกำหนดนโยบายได้ก็ต้องเข้าใจความจริงของสังคมและโลกก่อน จึงจะกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและปฏิรูปสังคมได้ ซึ่งตัวเราก็สนใจสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ก็อยู่ในตัวเรามาโดยตลอด”
สอนหนังสือในธรรมศาสตร์
เกือบ 17 ปี ที่สอนหนังสือในธรรมศาสตร์ มีความทรงจำที่งดงามเกี่ยวกับการสอนมากมาย โดยเฉพาะความประทับใจต่อลูกศิษย์แต่ละรุ่น
ครั้งแรกที่ผมได้สอนหนังสือให้คณะคือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 วิชาแรกคือหลักสาม (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค แต่สมัยนั้นเรียกชื่อวิชาว่า ทฤษฎีราคาและวิภาคกรรม ชื่อเท่ดีไหม) โดยเป็นอาจารย์ติวในห้องย่อย และขึ้นสอนบางหัวข้อในห้องใหญ่ ถ้าจำไม่ผิดจะได้สอนส่วนที่ว่าด้วยตลาดผูกขาด นักศึกษารุ่นนั้นคือรุ่นรหัส 41 – ไหม ป๊อป ชวน ฯลฯ
เทอมต่อมาถึงได้รับผิดชอบเต็มวิชา สอนวิชาหลักสอง (เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น) ลูกศิษย์รุ่นแรกแบบเต็มตัวคือรุ่นโหม่ง สุนทร ฯลฯ
การสอนครั้งแรกๆ ย่อมอยู่ในความทรงจำเสมอ ช่วงนั้นวัยผมกับลูกศิษย์ไม่ได้ห่างกัน เพราะผมเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบปริญญาตรี จึงอยู่กันแบบพี่แบบน้อง หลายคนยังคงคบหากันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บางคนกลายเป็นอาจารย์ร่วมคณะ เป็นเพื่อนร่วมงานที่ทีดีอาร์ไอ หลายคนยังติดต่อกันอยู่เสมอ
อำลาเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
วันนี้เป็นวันทำงานวันสุดท้ายของผมในฐานะอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นบ้านหลังที่สองของผม หากนับตั้งแต่แรกเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ผมก็อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มา 22 ปีเต็ม เรียกว่าเกินครึ่งหนึ่งของชีวิต
แน่นอนว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต