เบื้องหลังการทำหนังสือ “สยามปฏิวัติ”
ประชาธิปไตย
เมื่อเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เลือกคณบดี
กระบวนการสรรหาคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังจะสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ในเดือนเมษายน 2560 ทีมบริหารชุดใหม่จะเริ่มต้นทำงาน
ยี่สิบกว่าปีที่ผมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ทั้งในฐานะนักศึกษา อาจารย์ และศิษย์เก่า ทุกครั้งที่มีการสรรหาคณบดีใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์จะมีวัฒนธรรม “เลือกตั้ง” คณบดีโดยสมาชิกของประชาคมเสมอ แม้ว่าข้อบังคับว่าด้วยการ “สรรหา” คณบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างน้อยในช่วง 15 ปีหลังไม่ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งคณบดีก็ตาม ข้อบังคับหลายฉบับเขียนกำกับไว้ด้วยซ้ำว่าห้ามมีการหยั่งเสียงหรือห้ามเลือกตั้งนั่นเอง (ไม่ต้องยุ่ง เดี๋ยวผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและผู้บริหารมหาวิทยาลัยสรรหามาให้เอง) อำนาจในการเลือกคณบดีอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ที่ประชาคม และช่องทางการแสดงออกของประชาคมตามข้อบังคับก็มีจำกัด
ประชานิยม V ประชาธิปไตย
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์เรื่อง “ประชานิยม” (populism) ที่ไปไกลกว่าความเข้าใจและข้อถกเถียงหลักเรื่อง “ประชานิยม” ในสังคมไทยลิบลับ ทั้งจากฝั่งเอาและไม่เอาประชาธิปไตย
“ประชาชน” เป็นฐานหลักของ “ประชาธิปไตย” และ “ประชานิยม” แต่ “ประชาชน” ใน “ประชาธิปไตย” และ “ประชานิยม” ต่างกันอย่างไร และความต่างนั้นนำไปสู่อะไร
“ประชานิยม” ช่วยให้ “ประชาธิปไตย” เข้มแข็งขึ้นในมุมไหน และบั่นทอนประชาธิปไตยอย่างไร
อะไรคือมิติทางจริยธรรมที่แฝงฝังอยู่ในอุดมการณ์ประชานิยม ผู้ปฏิเสธวาทกรรม “คนดี” จะก้าวออกความย้อนแย้งในเรื่องนี้ที่อยู่ข้างในอุดมการณ์ประชานิยม (“ประชาชนดี”) ได้หรือไม่ อย่างไร
และเมื่อนักประชานิยม ซึ่งปฏิเสธชนชั้นนำเดิม ก้าวขึ้นสู่อำนาจในระบบทางการ กลายเป็นชนชั้นนำเสียเอง จะเกิดอะไรขึ้น
คุยกับปลัดคลัง
มันไม่ใช่แค่เรื่องประเคนผลตอบแทนสูง เรื่องเร่ขายของถูกไงครับ มันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น ซึ่งโยงไปถึงระบบการเมืองและวัฒนธรรมเรื่องประชาธิปไตย นิติรัฐ การตรวจสอบ ความรับผิด ความยุติธรรม ความแน่นอนคงเส้นคงวา และความโปร่งใส
ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย ธร ปีติดล วัชรฤทัย บุญธินันท์ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จันจิรา สมบัติพูนศิริ สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิฐิณี ทองแท้
บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชา 7 ท่านที่ถูกเชื้อเชิญให้มาศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอด และความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยในปัจจุบัน
สำนักพิมพ์: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2559
หน้า: 256 หน้า
มองการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาแบบฉลาดหลังเหตุการณ์ (ทั้งที่ยังไม่หายโง่)
ผมติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 อย่างหงอยๆ เพราะรู้สึกว่าเป็นการเลือกตั้งที่หมดสนุก สลดหดหู่ และไร้ซึ่งความหวังที่สุดตั้งแต่ติดตามการเมืองอเมริกามากว่า 25 ปี (ไม่นับกระแส feel the bern ของคุณปู่เบอร์นี่ แซนเดอร์ส สมาชิกวุฒิสภารัฐเวอร์มอนต์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต)
ทั้งฮิลลารี คลินตัน ตัวแทนพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน ต่างก็เป็นผู้สมัครที่มีคนเกลียดมากกว่าคนรักในสายตาของประชาชนทั่วไป (ระดับ 60:40 พอกันทั้งคู่) ไม่ต้องพูดถึงกองเชียร์ของพรรคฝั่งตรงข้ามที่โคตรเกลียด ส่วนกองเชียร์ภายในพรรคตัวเองจำนวนมากก็ไม่ชอบหน้าเช่นกัน
เพียงแค่ 8 ปี บรรยากาศแห่งความหวังที่โอบามาปลูกไว้ในการเลือกตั้งปี 2008 ก็มลายสิ้นจากสังคมการเมืองอเมริกัน เหลือเพียงความเป็นจริงทางการเมืองที่ขมขื่น ฉาวโฉ่ ไร้ทางเลือก เต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจและความเกลียดชัง
ดาบในมือผู้นำ
ใครเคยเยี่ยมชม National Museum of American History หนึ่งในพิพิธภัณฑ์สังกัด Smithsonian Institution กลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. น่าจะเคยเห็นรูปปั้นนี้ตั้งตระหง่านอยู่บนชั้นสอง
ดูออกไหมครับว่านี่คือรูปปั้นของจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำการปฏิวัติอเมริกันเพื่อประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ประธานการประชุมร่างรัฐธรรมนูญที่ฟิลาเดลเฟียในช่วงฤดูร้อนปี 1789 บิดาผู้ก่อร่างสร้างประเทศ และประธานาธิบดีคนแรกสหรัฐอเมริกา
ฟาสซิสต์กับประชาธิปไตย
ระบอบฟาสซิสต์กับประชาธิปไตยสัมพันธ์กันอย่างไร
บทเรียนการเมืองไทย จากบรรหาร ศิลปอาชา
ชีวิตทางการเมืองของคุณบรรหาร ศิลปอาชา สอนผม 3-4 อย่างครับ
1. นักการเมือง ไม่ว่าจะดี จะชั่ว หรือชั่วๆ ดีๆ ยังไงก็ต้องฟังเสียงและแคร์ความรู้สึกของประชาชน
เพราะคุณบรรหารอยากเป็นนายกฯ เลยต้องแปลงโฉมใส่สูท ใส่แว่นหนา ถ่ายโฆษณาประดับลูกโลกบนโต๊ะทำงาน คบนักวิชาการ และชูธงปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ชนชั้นกลางในเมืองยอมรับ หยุดส่งเสียง ‘ยี้’
เราเลยแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 211 ได้สำเร็จ เปิดทางให้เกิด ส.ส.ร. จนในที่สุด รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ก็คลอดออกมาได้ แม้นักการเมืองจำนวนมากในสภาไม่ต้องการ
:: 2558 :: ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ::
ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดขึ้นเนื่องในวาระรำลึก 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้คัดเลือกบุคคลผู้สืบสานปณิธานอาจารย์ป๋วยในแวดวงต่างๆ เพื่อแสดงปาฐกถาต่อสาธารณะในหัวข้อที่สะท้อนถึงความคิด ชีวิต และจิตวิญญาณของอาจารย์ป๋วย