Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

ประวัติศาสตร์อเมริกา

ทรัมป์ 101: ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์

Posted on December 13, 2016December 14, 2016 by pokpong

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2016 โลกต้องตื่นตะลึง เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน พลิกชนะฮิลลารี คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครต อย่างเหนือความคาดหมาย เตรียมก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2017

เหตุใดโดนัลด์ ทรัมป์ อภิมหาเศรษฐีระดับห้าพันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ไร้ประสบการณ์ทางการเมืองและกิจการสาธารณะโดยสิ้นเชิง จึงข้ามผ่านคู่แข่งอีก 16 คน ก้าวขึ้นเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกัน และยึดทำเนียบขาวได้สำเร็จในที่สุด ทั้งที่ตลอดการหาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ฉีกทุกกฎแห่ง ‘ความถูกต้องทางการเมือง’ ด้วยข่าวฉาวโฉ่ บุคลิกชวนขำขื่น วาจาข่มขู่ นโยบายเหนือจริง และโกหกคำโต

สหรัฐอเมริกาเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และโลกใหม่ในยุคประธานาธิบดีทรัมป์จะมีหน้าตาเช่นไร

ปกป้อง จันวิทย์ ผู้เขียนหนังสือ CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว เมื่อปี 2008 หนึ่งในคณะบรรณาธิการ the101.world สื่อใหม่ของทีมงาน ‘วันโอวัน’ ที่เตรียมเปิดตัวในปี 2017 ชวน ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสำรวจเบื้องลึกเบื้องหลังของ ‘ปรากฏการณ์ทรัมป์’ แบบตัวต่อตัว ผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา

Posted in จับเข่าคุย Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, บารัค โอบามา, ประวัติศาสตร์อเมริกา, ฮิลลารี คลินตัน, โดนัลด์ ทรัมป์ Leave a comment

CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

หนึ่งผิวสี หนึ่งสตรี หนึ่งวีรบุรุษชรา กับปฏิบัติการ ‘เปลี่ยน’ อเมริกา

เบื้องหลังการหาเสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกายุคใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

“ในที่สุด หลังจากถูกบังคับให้เป็นทาสมานานนับศตวรรษ คนผิวดำจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐ ที่กดขี่พวกเขามายาวนาน ได้อย่างสมภาคภูมิหรือไม่ ความฝันที่ถูกจุดประกายขึ้นโดยสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะสามารถแปลงเป็นความจริงได้หรือไม่ … กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในภาคภาษาไทย” – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

“แม้ว่าการเมืองของสหรัฐอเมริกาจะมิได้มีแต่แง่งาม หากมีอัปลักษณะหลายประการ และมีอัปรียชนแฝงตัวอยู่ เหมือนดังเช่นการเมืองทั่วทุกที่ แต่กระนั้น การเมืองอเมริกันก็เป็นภาพตัวอย่างที่ให้เราเอาเยี่ยงได้ในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ สิทธิ และเสรีภาพ การออกแบบระบบการเมืองการปกครองด้วยปัญญา โดยเฉพาะระบบการคานและดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ โดยมีข้อสมมติเบื้องต้นว่า การเมืองเป็นเรื่องของปุถุชนคนธรรมดา มิใช่เป็นเรื่องเฉพาะของเทวดา คุณพ่อคุณแม่รู้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ ปราชญ์ผู้ทรงธรรม หรือบรรดาผู้ผูกขาดนิยามความดี ความงาม ความจริง ไว้แต่เพียงผู้เดียว” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2551

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การเมือง, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, จอห์น แม็คเคน, บารัค โอบามา, ประวัติศาสตร์อเมริกา, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, ฮิลลารี คลินตัน, เศรษฐกิจอเมริกา 1 Comment

บารัค โอบามา  บนถนนสู่ทำเนียบขาว

Posted on September 4, 2014October 8, 2014 by pokpong

จากปี 1963 ถึง 2008

45 ปี ผ่านไป “ความฝัน” ซึ่ง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ได้เริ่มจุดประกายวาดหวังไว้ มีแววว่าจะไปได้ไกลสุดปลายฝัน เมื่อชายหนุ่มผิวดำ วัย 47 ปี นักการเมืองหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติได้ไม่ถึง 5 ปี สามารถพลิกประวัติศาสตร์เป็นคนผิวดำคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองใหญ่ลงชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุด และมีโอกาสสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกแห่งสหรัฐอเมริกา–ประเทศซึ่งคนผิวดำตกเป็นผู้ถูกกดขี่ในฐานะทาสและพลเมืองชั้นสามส่วนห้ามายาวนานนับศตวรรษ

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged obama, การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, คนผิวดำ, นโยบายสาธารณะ, บารัก โอบามา, ประชาธิปไตย, ประวัติศาสตร์อเมริกา, สารคดี, สิทธิเสรีภาพ, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

มองการเมืองไทย ผ่านแว่นตานักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

Posted on August 28, 2014October 5, 2014 by pokpong

ในช่วงที่สังคมการเมืองไทยกำลังเวียนวนค้นหาทางออกจากวิกฤตการณ์การเมืองที่ตัวเองสร้างขึ้นตลอดปี 2549-2550 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวในงานสัมมนางานหนึ่งว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงการเมืองไทยในปัจจุบันนั้น สหรัฐอเมริกาเคยผ่านมาหมดแล้ว”

ปลายเดือนกรกฎาคม 2550 ก่อนการลงประชามติ “รับ” / “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มองการเมืองไทยผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ทหาร นักการเมือง จนถึงตุลาการภิวัตน์

เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันได้บ้าง?

Posted in จับเข่าคุย Tagged october, openbooks, การร่างรัฐธรรมนูญ, การเมืองอเมริกา, การเมืองไทย, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ประวัติศาสตร์อเมริกา, รัฐธรรมนูญ, รัฐประหาร, ศาลสูง, สัมภาษณ์ Leave a comment

Smithsonian

Posted on June 1, 2014October 3, 2014 by pokpong

ในปี 1826 ก่อน James Smithson เสียชีวิต 3 ปีด้วยวัยเพียง 64 ปี เขาได้เขียน พินัยกรรม โดยระบุว่า จะยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ Henry James Hungerford หลานชาย แต่ Smithson ยังเขียนเงื่อนไขต่อไว้ด้วยว่า หากหลานชายเสียชีวิตโดยไร้ทายาท ให้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมด “ให้แก่สหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างสถาบันเพื่อเพิ่มพูนและกระจายความรู้สู่มนุษยชาติ ภายใต้ชื่อ Smithsonian Institution โดยให้ตั้งอยู่ ณ กรุง Washington”

Posted in บทความ, บล็อก Tagged smithsonian, ประวัติศาสตร์อเมริกา, พิพิธภัณฑ์, พื้นที่สาธารณะ, วัฒนธรรม, สหรัฐอเมริกา Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back