Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย

Posted on November 25, 2014 by pokpong

ผู้สัมภาษณ์: ปกป้อง จันวิทย์

ชวนอ่าน:

รวมบทสัมภาษณ์ว่าด้วยบทเรียนจากอดีตและความท้าทายแห่งอนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย จากคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหารทีดีอาร์ไอหลายยุคสมัย

อ่านมุมมองของ อานันท์ ปันยารชุน เสนาะ อูนากูล อาณัติ อาภาภิรม ไพจิตร เอื้อทวีกุล อัมมาร สยามวาลา โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วีรพงษ์ รามางกูร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นิพนธ์ พัวพงศกร และสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2557

หน้า: 256 หน้า

Posted in ผลงานร่วม, หนังสือ Tagged การพัฒนาเศรษฐกิจ, ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, ณรงค์ชัย อัครเศรณี, นักเศรษฐศาสตร์, นิพนธ์ พัวพงศกร, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, วีรพงษ์ รามางกูร, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, อัมมาร สยามวาลา, อาณัติ อาภาภิรม, อานันท์ ปันยารชุน, เทคโนแครต, เศรษฐกิจไทย, เศรษฐศาสตร์, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ, เสนาะ อูนากูล, โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์, ไพจิตร เอื้อทวีกุล Leave a comment

สยามวาระ: วิกฤตเศรษฐกิจไทย

Posted on September 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

ในยุคที่เศรษฐกิจโลกผูกพันเป็นหนึ่งเดียวก­ัน เศรษฐกิจไทยคงไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบของวิ­กฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงลุกลามในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คำถามสำคัญก็คือ เราพร้อมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกในวันนี้แล­ะวันหน้ามากน้อยแค่ไหน ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมย้อนกลับไปสำรวจบทเรียนจากอด­ีต เพื่อตอบคำถามเรื่องปัจจุบันและอนาคต 15 ปีผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทยเรียนรู้บทเรียนอะไรจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540” วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศ­าสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สังคมเศรษฐกิจไทยปรับตัวและเรียนรู้ไปมากเ­พียงไร อะไรคือโอกาส และความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไป

Posted in จับเข่าคุย Tagged thai pbs, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, วิกฤตเศรษฐกิจไทย, สยามวาระ, เศรษฐกิจมหภาค, เศรษฐศาสตร์ Leave a comment

เปิดบทเรียน 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับ ทนง พิทยะ: “ผมก็ต้องขออภัยที่บางคนต้องเจ็บปวด”

Posted on September 10, 2014October 5, 2014 by pokpong

ในวาระ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หนึ่งในผู้ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รำลึกความหลังถึงเหตุการณ์ในวันที่หลายคนปักหมุดหมายเป็นจุดตั้งต้นของวิกฤตต้มยำกุ้ง เชิญอ่านบทบันทึกปากคำประวัติศาสตร์ในหลายเรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน

Posted in จับเข่าคุย Tagged 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจไทย, 2 กรกฎาคม 2540, thaipublica, การลอยตัวค่าเงินบาท, ทนง พิทยะ, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, วิกฤตเศรษฐกิจไทย, สัมภาษณ์, เศรษฐกิจไทย Leave a comment

โลกสีหม่น ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

Posted on September 4, 2014October 1, 2014 by pokpong

ท่ามกลางกระบวนการสร้าง “โลกสีขาว” เป็นของขวัญแก่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย ในวาระครบ 6 รอบ ก่อนล้างมือในอ่างทองคำ open พลิกแฟ้มข่าว พาผู้อ่านย้อนสำรวจเหตุการณ์ อาการ และอารมณ์ของสังคมไทย ในช่วงพฤศจิกายน 2539 ถึง พฤศจิกายน 2540

… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ “ชวลิต ยงใจยุทธ”

… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

… ช่วงเวลาที่ “โลก” ของพลเอกชวลิต และคนไทยทุกคน เปลี่ยนจากสีขาว … เป็นสีหม่น และหมองคล้ำ

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged การปฏิรูปการเมือง, การเมือง, ชวลิต ยงใจยุทธ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, รัฐธรรมนูญ, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, เศรษฐกิจ Leave a comment

อ่าน เศรษฐศาสตร์ ผ่าน เดือน บุนนาค

Posted on September 1, 2014October 1, 2014 by pokpong

อาจารย์เดือนเป็นผู้มีบทบาทผลักดันให้มีการใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ในฐานะคำแปลของ ‘Economics’ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 และเคยเขียนความเห็นว่า “คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ที่ใช้อยู่ในบัดนี้เป็นคำที่ราชการรับรองแล้ว … และมีความหมายพิเศษ ไม่ใช่ตามตัวอักษร ปัญหาเรื่องศัพท์นี้จึงระงับไป” (เดือน บุนนาค, 2495, เศรษฐศาสตร์ภาคต้น (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 4)

ถึงกระนั้น ในหนังสือเล่มเดียวกัน อาจารย์เดือนได้กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการเลือกใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ไว้ด้วยว่า “แต่ถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นวิชาเกี่ยวกับการหาความร่ำรวย ถ้าเข้าใจตามนี้ ขอบเขตการศึกษาจะแคบมากกว่า และอุดมคติของเศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นการจัดให้กำเนิดผลมากที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด มิใยว่าผู้ทำงานจะได้รับความทุกข์ยากลำบากอย่างไร” แต่ท่านก็ยังไม่เห็นด้วยกับการใช้คำอื่นแทนคำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ เช่น ทรัพยศาสตร์ เพราะ “ทรัพย์เป็นสิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์ แต่การที่จะได้ทรัพย์นั้นมา อาจทำให้คนอื่นๆ เดือดร้อน คำว่า ‘ทรัพยศาสตร์’ จึงยังไม่เหมาะสมแท้”

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประวัติศาสตร์, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, เดือน บุนนาค, เศรษฐศาสตร์ Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back