เปิดตัวทีมวิจัย Constitution Dialogue รัฐธรรมนูญสนทนา
รัฐธรรมนูญ
One man, One vote ของคณะกรรมการร่าง รธน. 60
อ่านเหตุผลอันเหลือเชื่อเกี่ยวกับการเลือกตั้งของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ชื่อหนังสือ: ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย ธร ปีติดล วัชรฤทัย บุญธินันท์ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จันจิรา สมบัติพูนศิริ สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิฐิณี ทองแท้
บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชา 7 ท่านที่ถูกเชื้อเชิญให้มาศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอด และความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยในปัจจุบัน
สำนักพิมพ์: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2559
หน้า: 256 หน้า
โครงการการสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปการเมือง
ผู้วิจัย: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ อัมมาร สยามวาลา วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สิริพรรณ นกสวน ปกป้อง จันวิทย์ วรดุลย์ ตุลารักษ์
แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ตีพิมพ์: กรกฎาคม 2550
โลกสีหม่น ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ท่ามกลางกระบวนการสร้าง “โลกสีขาว” เป็นของขวัญแก่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย ในวาระครบ 6 รอบ ก่อนล้างมือในอ่างทองคำ open พลิกแฟ้มข่าว พาผู้อ่านย้อนสำรวจเหตุการณ์ อาการ และอารมณ์ของสังคมไทย ในช่วงพฤศจิกายน 2539 ถึง พฤศจิกายน 2540
… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ “ชวลิต ยงใจยุทธ”
… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
… ช่วงเวลาที่ “โลก” ของพลเอกชวลิต และคนไทยทุกคน เปลี่ยนจากสีขาว … เป็นสีหม่น และหมองคล้ำ
อ่าน กฎหมายว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน
สมเกียรติและคณะ (2550) เสนอข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปกระบวนการเสนอร่างกฎหมายโดยภาคประชาชน โดยมีหลักการเพื่อการลดภาระต้นทุนของภาคประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย และสร้างหลักประกันในการคุ้มครองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้ปรับลดจำนวนขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนผู้ร่วมลงนามเสนอร่างกฎหมายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภา
มองการเมืองไทย ผ่านแว่นตานักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
ในช่วงที่สังคมการเมืองไทยกำลังเวียนวนค้นหาทางออกจากวิกฤตการณ์การเมืองที่ตัวเองสร้างขึ้นตลอดปี 2549-2550 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวในงานสัมมนางานหนึ่งว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงการเมืองไทยในปัจจุบันนั้น สหรัฐอเมริกาเคยผ่านมาหมดแล้ว”
ปลายเดือนกรกฎาคม 2550 ก่อนการลงประชามติ “รับ” / “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มองการเมืองไทยผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ทหาร นักการเมือง จนถึงตุลาการภิวัตน์
เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันได้บ้าง?
Reforming Thailand กับ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ เกษียร เตชะพีระ
ทีมวิจัย “การสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปการเมือง” ชวน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ เกษียร เตชะพีระ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่งล้อมวงแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการปฏิรูปการเมืองไทย รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย และสถานการณ์การเมืองไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
อะไรคือโจทย์ของการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ มาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงหลายปีหลัง และการเมืองไทยภายใต้รัฐบาลชั่วคราวจะเป็นเช่นไร หาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์คู่ขนาดยาวอันข้นคลั่กชิ้นนี้ !
อ่าน Federalist Paper หมายเลข 10
ใน Federalist paper หมายเลข 10 ซึ่งเป็นบทความที่มีผู้กล่าวถึงและอ้างอิงมากที่สุดชิ้นหนึ่ง แมดิสัน ผู้เขียน ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นคือ ปัญหาทรราชย์ของเสียงข้างมาก หรือการที่กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะที่ได้รับเสียงข้างมาก (Majority Fraction) มีพฤติกรรมในทางที่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ และเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นเสียงข้างน้อย ซึ่งแมดิสันชี้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมาก ในรัฐขนาดเล็ก ซึ่งมีกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะไม่หลากหลาย และมีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินระหว่างคนจนกับคนรวยมาก
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550
ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีสัดส่วนของกลุ่มข้าราชการประจำ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมถึง(อดีต)ผู้พิพากษาจำนวนมาก ขณะที่กลุ่มนักวิชาการมีประมาณ 9 คน จาก 35 คน ส่วนตัวแทนภาคสังคมและสื่อมวลชนมีเพียง 2 คน มีอดีตนักการเมืองเพียงคนเดียว
องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุด 2550 จึงแตกต่างจากชุด 2540 อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุด 2540 มีอดีตผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน อดีตนักการเมือง นักวิชาการ แต่ไม่มีข้าราชการประจำและผู้ที่ ‘กำลัง’ ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐเลยแม้แต่คนเดียว นอกเหนือจากข้าราชการบำนาญ อีกทั้งยังมีตัวแทนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสายจังหวัดเป็นผู้ประสานงาน กับสมาชิกฯ แต่ละภาค และยังมีประธานคณะกรรมาธิการชุดอื่นทุกชุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญร่วมเป็นกรรมาธิการอยู่ด้วย
- 1
- 2