รำลึก 25 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540
วิกฤตเศรษฐกิจไทย
สยามวาระ: วิกฤตเศรษฐกิจไทย
ในยุคที่เศรษฐกิจโลกผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน เศรษฐกิจไทยคงไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงลุกลามในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คำถามสำคัญก็คือ เราพร้อมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกในวันนี้และวันหน้ามากน้อยแค่ไหน ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมย้อนกลับไปสำรวจบทเรียนจากอดีต เพื่อตอบคำถามเรื่องปัจจุบันและอนาคต 15 ปีผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทยเรียนรู้บทเรียนอะไรจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540” วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สังคมเศรษฐกิจไทยปรับตัวและเรียนรู้ไปมากเพียงไร อะไรคือโอกาส และความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไป
เปิดบทเรียน 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์: “ผมไม่คิดว่าได้ทำอะไรผิดพลาด … ที่ผมรับไม่ได้คือหาว่าผมทำงานด้วยการขายชาติ”
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงรอบด้านเช่นนี้ “ธารินทร์ นิมมานเหมินท์” สามารถนำพาประเทศก้าวข้ามพ้นจุดวิกฤตไปได้อย่างไร บทสัมภาษณ์นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสิบปีที่ “ธารินทร์” ให้สัมภาษณ์สื่อถึงเบื้องลึกของการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสถาบันการเงินในช่วงนั้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น “ความจริงประเทศไทย” ที่ถูกปิดเป็นความลับในตอนนั้น และเบื้องหลังการเจรจากับไอเอ็มเอฟเพื่อขอผ่อนปรนมาตรการเข้มงวด รวมทั้งเปิดเผยเรื่อง “คับแค้นใจ” ที่ไม่สามารถทำได้ในตอนนั้น พร้อมเล่าทุกแง่มุมในการทำงานอย่างมั่นใจว่า “ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด”และบอกเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน จากมุมมองขุนคลังผู้รับบทหนักในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 2540
เปิดบทเรียน 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับ บัณฑูร ล่ำซำ: “เกิดมาไม่เคยเจออย่างนี้ … ทุกคนตั้งแต่นายกฯ จนถึงคนเดินเท้า ก็เจอครั้งแรกในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น”
วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจว่าเป็นวิกฤตที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งและสร้างความเสียมหาศาลให้กับระบบเศรษฐกิจไทย
ความเจ็บปวดครั้งนั้น “สร้างบาดแผลและบทเรียน” ให้กับหลายคน หนึ่งในนั้นคือ “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ทำให้เกิดวิกฤต 2540 และได้เผชิญวิกฤตครั้งนั้นมาอย่างแสนสาหัสจนในที่สุดสามารถฝ่าฟันและรอดพ้นวิกฤตครั้งนั้นมาได้ด้วย “ฝีมือ” และ “โอกาส”
ท่ามกลางสถานการณ์ก่อนวิกฤต ช่วงกำลังเกิดวิกฤติ และหลังวิกฤต เกิดอะไรขึ้นกับธนาคารกสิกรไทย ธนาคารขนาดใหญ่หนึ่งในห้าของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เช้าวันแห่งประวัติศาสตร์ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยบอกอะไรกับนายธนาคารใหญ่ เศรษฐกิจไทย “ล้ม” แรงแค่ไหน กสิกรไทยต่อสู้อย่างไรเพื่อให้กลับมายืนอย่างสง่างามอีกครั้ง ทำไมธนาคารใหญ่อย่างกสิกรไทยจึงต้อง “แบมือ” ขอเงินระดมทุนจากต่างชาติ อะไรคือปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ฟื้นตัวได้ และร่วมวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อะไรคือความเสี่ยง อะไรคือกับดัก ที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจของเรา
พบกับบทสัมภาษณ์ที่เจาะลึกวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ในมุมมองของ บัณฑูร ล่ำซำ วิกฤตเศรษฐกิจที่เป็น “ครั้งแรก” ของหลายคนในประเทศ ตั้งแต่คนเดินถนน นายแบงก์ใหญ่ ไปจนถึงรัฐบาลในขณะนั้น
15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540: ประเทศไทยอยู่ตรงไหน
ผู้สัมภาษณ์: บุญลาภ ภูสุวรรณ ปกป้อง จันวิทย์ และภาวิน ศิริประภานุกูล
ชวนอ่านปกหน้า:
อดีต ปัจจุบัน อนาคต เศรษฐกิจไทย ผ่านมุมมองของ 12 ตัวละครหลักในวิกฤตต้มยำกุ้ง
ทนง พิทยะ บัณฑูร ล่ำซำ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ธาริษา วัฒนเกส บรรยง วิเศษมงคลชัย อมเรศ ศิลาอ่อน ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ อัมมาร สยามวาลา บรรยง พงษ์พานิช วิรไท สันติประภพ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ธนา เธียรอัจฉริยะ
สำนักพิมพ์: สำนักข่าวไทยพับลิก้า
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2556
เปิดบทเรียน 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับ ทนง พิทยะ: “ผมก็ต้องขออภัยที่บางคนต้องเจ็บปวด”
ในวาระ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หนึ่งในผู้ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รำลึกความหลังถึงเหตุการณ์ในวันที่หลายคนปักหมุดหมายเป็นจุดตั้งต้นของวิกฤตต้มยำกุ้ง เชิญอ่านบทบันทึกปากคำประวัติศาสตร์ในหลายเรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน
15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน – อัมมาร สยามวาลา
ในวาระครบรอบ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน อัมมาร สยามวาลา เขียนประวัติศาสตร์วิกฤตต้มยำกุ้ง และตอบคำถามว่า 15 ปี ผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทย ไล่เรียงตั้งแต่สถาบันการเงิน ภาคเศรษฐกิจจริง ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาครัฐไทย นักการเมือง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จนถึงประชาชนคนเดินถนนทั่วไป เรียนรู้อะไร และปรับตัวอย่างไรหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง กับเกษียร เตชะพีระ
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร
เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์
และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา
“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ