อ่านถอดความและชมวิดีโอการเสวนารับฟังเสียงสะท้อนจากเครือข่าย เพื่อทบทวนการทำงานของประชาไทในรอบ 10 ปีที่ผ่าน รวมถึงก้าวต่อไปและความท้าทายในอนาคต โดยวิทยากรประกอบไปด้วย สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์, กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา จากมูลนิธิชีววิถี และประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย ปกป้อง จันวิทย์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเสวนานี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีประชาไท
สิทธิเสรีภาพ
ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์
ก่อนที่มหาวิทยาลัยเราจะกลายเป็น ‘อธรรมศาสตร์’ ที่ยึดถือหลักอธรรมสัตย์ อธรรมรัฐ อธรรมชาติ และอยุติธรรม อย่าเพิ่งรีบปลงอนิจจัง เรามาช่วยกันรณรงค์ค่านิยม 12 ประการ ของคนธรรมศาสตร์ กันดีกว่าครับ
บารัค โอบามา บนถนนสู่ทำเนียบขาว
จากปี 1963 ถึง 2008
45 ปี ผ่านไป “ความฝัน” ซึ่ง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ได้เริ่มจุดประกายวาดหวังไว้ มีแววว่าจะไปได้ไกลสุดปลายฝัน เมื่อชายหนุ่มผิวดำ วัย 47 ปี นักการเมืองหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติได้ไม่ถึง 5 ปี สามารถพลิกประวัติศาสตร์เป็นคนผิวดำคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองใหญ่ลงชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุด และมีโอกาสสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกแห่งสหรัฐอเมริกา–ประเทศซึ่งคนผิวดำตกเป็นผู้ถูกกดขี่ในฐานะทาสและพลเมืองชั้นสามส่วนห้ามายาวนานนับศตวรรษ
สงครามอันศักดิ์สิทธิ์ ในห้วงยามแห่งวิกฤต
ในนามแห่งความโกรธ ความเกลียด ความคับแค้น ความรุนแรง ความลุ่มหลง ความหยามเหยียด ความยึดมั่นถือมั่น และอคติ เป็นการง่ายมากที่มนุษย์จะถูกชักจูงเข้าสู่ ‘โลกมืด’ และตกอยู่ในกับดักแห่งอวิชชา
ในกับดักนั้น ในเวลานั้น ในห้วงอารมณ์นั้น น้อยยิ่งกว่าน้อย ที่คนจะมองเห็นตัวเอง
แทบทุกคนต่างคิดว่ากำลังสู้รบอยู่ในสงครามศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตนเป็นนักรบแห่งความถูกต้อง ความดี ความงาม ความจริง
อ่าน กฎหมายว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน
สมเกียรติและคณะ (2550) เสนอข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปกระบวนการเสนอร่างกฎหมายโดยภาคประชาชน โดยมีหลักการเพื่อการลดภาระต้นทุนของภาคประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย และสร้างหลักประกันในการคุ้มครองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้ปรับลดจำนวนขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนผู้ร่วมลงนามเสนอร่างกฎหมายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภา
อ่าน Federalist Paper หมายเลข 10
ใน Federalist paper หมายเลข 10 ซึ่งเป็นบทความที่มีผู้กล่าวถึงและอ้างอิงมากที่สุดชิ้นหนึ่ง แมดิสัน ผู้เขียน ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นคือ ปัญหาทรราชย์ของเสียงข้างมาก หรือการที่กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะที่ได้รับเสียงข้างมาก (Majority Fraction) มีพฤติกรรมในทางที่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ และเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นเสียงข้างน้อย ซึ่งแมดิสันชี้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมาก ในรัฐขนาดเล็ก ซึ่งมีกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะไม่หลากหลาย และมีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินระหว่างคนจนกับคนรวยมาก
การเมืองภาคประชาชนในรัฐธรรมนูญ
จากประสบการณ์ที่สังคมการเมืองไทยได้ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มาร่วมหนึ่งทศวรรษ พบว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีปัญหาสำคัญบางประการในบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้รัฐธรรมนูญสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้จริง และเพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ อย่างกว้างขวางขึ้นและมีต้นทุนต่ำกว่าที่เป็นอยู่
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยฟุตบอล(โลก)
เมื่อคราวฟุตบอลโลกครั้งก่อนที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในปี 1998 มีงานศึกษาโดยใช้ข้อมูลฟุตบอลโลกจำนวน 10 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1954 ถึง 1990 งานวิจัยพบว่า การเป็นเจ้าภาพจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเจ้าภาพในปีถัดมาสูงขึ้นถึง 7 ใน 10 ครั้ง คำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงสองปีก่อนหน้าฟุตบอลโลก
นอกจาก “ผลจากการเป็นเจ้าภาพ” (Host Country Effect) แล้ว มีการพยายามสำรวจ “ผลจากการเป็นแชมป์” (Champion Effect) ด้วย แต่ผลอย่างหลังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เพราะ 5 ใน 10 ครั้ง แชมเปี้ยนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งลดลง แต่ถ้าประเทศไหนเป็นทั้งเจ้าภาพและทั้งแชมเปี้ยนด้วยแล้ว เช่น ประเทศอาร์เจนตินาในปี 1978 เศรษฐกิจเติบโตขึ้นจากใกล้ศูนย์เป็น 5.6% ทีเดียว
แถลงการณ์ที่ไม่ได้ใช้
แถลงการณ์คัดค้านรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
พวกเรา ….. ตามรายนามด้านล่างนี้ ขอคัดค้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากเป็นการกระทำที่ทำลายระบอบและวัฒนธรรมประชาธิปไตย ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ละเมิดหลักนิติธรรม และบั่นทอนโอกาสในการปฏิรูปประเทศไทย
การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองด้วยวิถีทางนอกระบบย่อมไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนและล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริง กลับจะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ทวีความขัดแย้งให้หนักหน่วงขึ้นในระยะยาว จนอาจนำไปสู่โศกนาฏกรรมของสังคมในอนาคต
ข้าพเจ้ามีความฝัน
28 สิงหาคม 1963 มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวสุนทรพจน์แห่งประวัติศาสตร์ ‘ข้าพเจ้ามีความฝัน’ เบื้องหน้าฝูงชนกว่า 250,000 คน ณ อนุสรณ์สถานลิงคอล์น กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
สุนทรพจน์ที่ต่อสู้กับ ‘ความจริง’ ด้วย ‘ความฝัน’ … ‘ความฝัน’ ที่ย้อนกลับไปเปลี่ยนโลก ‘ความจริง’ จากโหดร้าย สู่เสรีและยุติธรรม
ขอร่วมรำลึก 50 ปี แห่ง ‘ความฝัน’ ของ ดร.คิง ด้วย ‘ข้าพเจ้ามีความฝัน’ ภาคภาษาไทย ที่ผมแปลไว้สำหรับหนังสือ ‘สุนทรพจน์ก้องโลก’ (Speeches that changed the world)