เปิดแล้ว! 101 Academy ประเดิมด้วยหลักสูตร Creative Knowledge Communication Program
สื่อสารมวลชน
ภาพของ ‘เอ็ม’
ภาพถ่ายแห่งปี 2020
สนทนากับ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ เรื่อง 101
สนทนากับคุณสุทธิชัย หยุ่น เรื่อง The101.world ในรายการ Suthichai Live เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561
สุทธิชัย หยุ่น
ผมกับสุทธิชัย หยุ่น!
The101.world : สื่อความรู้สร้างสรรค์ ชวนตั้งคำถามที่ใช่ เพื่อไปสู่คำตอบที่น่าสนใจ
สนทนากับ The MATTER เกี่ยวกับแนวคิดเบื้องหลังสื่อความรู้สร้างสรรค์ The101.world
โครงการประเมินผลการดำเนินงานประจำปี 2552 (การประเมินภายนอก) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
ผู้วิจัย: วิโรจน์ ณ ระนอง อัญชนา ณ ระนอง ปกป้อง จันวิทย์ สฤณี อาชวานันทกุล นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
แหล่งทุน: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.)
ตีพิมพ์: พฤษภาคม 2553
สื่อทางเลือกแบบ “ลงแขก” โมเดล และ “โอเพ่น ออนไลน์”
“อินเทอร์เน็ตจะเป็นเวทีของสื่อทางเลือก สื่อหลายประเทศก็เริ่มปรับตัวมาทางนี้ สื่อออนไลน์ ถ้าเราไม่อคติกับมัน ข้อดีคือทำให้สื่อขนาดเล็กมีที่ยืนได้ มีสื่อหลากหลายให้สังคมเลือกอ่าน ทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของสื่อได้ โดยไม่มีทุน ผมไร้ทุนก็เป็นเจ้าของสื่อได้โดยเขียนบล็อก โนบอดี้ในสังคมก็เขียนบทความวิจารณ์การเมืองได้ ถ้าคุณเป็นของจริง ดีจริง ความเชื่อถือก็ตามมาเอง เป็นเวทีเปิดที่ทุกคนมีโอกาสพิสูจน์ตัวเอง อินเทอร์เน็ตช่วยทำให้สื่อเป็นของประชาชนวงกว้าง เพิ่มระดับความเป็นประชาธิปไตยให้แก่สื่อ ช่วยให้เกิดสื่อจำนวนมากเสียจนไม่มีใครสามารถผูกขาดความจริงไว้กับตัวได้ ใช้อำนาจควบคุมไม่ได้หมด”
อย่าเชื่อนักข่าว (และนักเศรษฐศาสตร์ด้วย)
ในวงวิชาการ ความเห็นทางวิชาการมีหลากหลาย ยากที่ใครจะเป็นตัวแทนใครได้ มันไม่มีตัวแทนที่สามารถพูดแทนผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกันได้ นักข่าวที่ดีควรลดระดับของการจับนักวิชาการเข้าคอก แล้วยัดใส่ป้ายยี่ห้อ แต่โปรดให้เขาได้เป็นตัวของเขาเองเถิด ความ ‘ขลัง’ มันอยู่ใน ‘ความ’ ที่เขาพูด ว่ามีเนื้อหาสาระหรือไม่ มิได้อยู่ที่ตำแหน่ง หรือสถานะทางสังคมหรือทางอาชีพ
ผมอยากให้มองว่าความเห็นของนักวิชาการก็เป็นเพียงแค่ความเห็นหนึ่งของสังคม ก็ฟังไว้ ฟังให้เยอะคน ฟังคนอื่นนอกจากนักวิชาการด้วย ฟังแล้วจำไว้ด้วย ว่าใครมั่ว ใครบ้า ใครมีวาระซ่อนเร้น จะได้ตรวจสอบนักวิชาการได้ถูก ฟังแล้วคิดด้วย คิดให้หนัก ท้าทายให้มาก อย่าเชื่อ เพราะนักวิชาการไม่ใช่คนผูกขาด ‘ความจริง’ ของสังคม
ดังหลักข้อแรกที่วันนี้ผมแนะนำว่าที่นักข่าวเศรษฐกิจว่า “กฎข้อที่ 1 ของการทำข่าวเศรษฐกิจคือ อย่าเชื่อนักเศรษฐศาสตร์”
สื่อทางเลือก
สื่อทางเลือกควรถูกคาดหวังให้เป็น ‘ทางเลือก’ ที่ ‘แตกต่างหลากหลาย’ ของสังคม นั่นคือ เป็นสื่อที่มีอิสรเสรีภาพจนสามารถ ‘เลือก’ วางที่ทางของตัวเอง อย่าง ‘ไร้พันธนาการ’ ได้
‘ไร้พันธนาการ’ ที่ว่า หมายถึง ความสามารถที่จะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างอิสระเต็มที่ โดยมิต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการของอำนาจ ผลประโยชน์ แม้กระทั่ง ทุน
พูดง่าย ๆ ว่า สามารถ ‘เลือกทาง’ ของตัวเองได้ ก่อนที่จะเป็น ‘ทางเลือก’ ให้สังคม
จิ๋วแจ๋วเจาะโลก
จิ๋วแจ๋วเจาะโลกเป็นรายการข่าวเด็ก ใช้เด็กเป็นพิธีกรรายงานข่าวแบบผู้ใหญ่ มีคนนั่งอ่านข่าวอยู่ในสตูดิโอ และมีนักข่าวเด็กเดินสายสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และทำสกู๊ปข่าว เข้าใจว่าเริ่มแรกออกอากาศประมาณ 15 นาที ผมก็เริ่มจากการเป็นนักข่าวภาคสนาม สักพักถึงได้เข้ามาอ่านข่าวในสตูดิโอ สตูดิโอที่อัดรายการอยู่ซอยนายเลิศ เพลินจิต ใกล้ ๆ ทางด่วน
สักพักหนึ่ง จิ๋วแต่แจ๋วก็ยุบรวมมาเป็นจิ๋วแจ๋วเจาะโลก มีวันเสาร์อาทิตย์ แล้วเพิ่มเวลานานขึ้น ยุครุ่งเรือง (ประมาณ 2533-2535) มีเวลาครึ่งชั่วโมงเลยนะครับ แถมเป็นเวลาดี ก่อนข่าวภาคค่ำช่องสาม จบข่าวเด็กก็ต่อด้วยข่าวผู้ใหญ่ เรทติ้งตอนนั้นสูงจริง ๆ นะครับ พี่ ๆ ทีมงานเขาบอก ผมก็ไม่รู้หรอกว่าเขาวัดกันอย่างไร แต่ถ้าวัดจากจดหมายที่น้อง ๆ เขียนเข้ามาในรายการแต่ละสัปดาห์ก็เยอะมากทีเดียว และใคร ๆ ก็รู้จักรายการนี้