เล่าเบื้องหลังหนังสือชุด “การ์ตูนที่รัก” ฉบับ Ultimate Edition โดย bookscape
หนังสือ
J&T : ศัตรูของคนรักหนังสือ
J&T ในฐานะศัตรูของคนรักหนังสือ
ประชานิยม V ประชาธิปไตย
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์เรื่อง “ประชานิยม” (populism) ที่ไปไกลกว่าความเข้าใจและข้อถกเถียงหลักเรื่อง “ประชานิยม” ในสังคมไทยลิบลับ ทั้งจากฝั่งเอาและไม่เอาประชาธิปไตย
“ประชาชน” เป็นฐานหลักของ “ประชาธิปไตย” และ “ประชานิยม” แต่ “ประชาชน” ใน “ประชาธิปไตย” และ “ประชานิยม” ต่างกันอย่างไร และความต่างนั้นนำไปสู่อะไร
“ประชานิยม” ช่วยให้ “ประชาธิปไตย” เข้มแข็งขึ้นในมุมไหน และบั่นทอนประชาธิปไตยอย่างไร
อะไรคือมิติทางจริยธรรมที่แฝงฝังอยู่ในอุดมการณ์ประชานิยม ผู้ปฏิเสธวาทกรรม “คนดี” จะก้าวออกความย้อนแย้งในเรื่องนี้ที่อยู่ข้างในอุดมการณ์ประชานิยม (“ประชาชนดี”) ได้หรือไม่ อย่างไร
และเมื่อนักประชานิยม ซึ่งปฏิเสธชนชั้นนำเดิม ก้าวขึ้นสู่อำนาจในระบบทางการ กลายเป็นชนชั้นนำเสียเอง จะเกิดอะไรขึ้น
:: 2559 :: สกว. publication ::
ตลอดปี 2559 ผมมีโอกาสได้เข้าไปช่วยทำงานด้านการพัฒนาระบบหนังสือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นอกจากการทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบหนังสือของ สกว. แล้ว (ซึ่งหวังว่าจะถูกนำไปใช้บ้างในอนาคต) เรายังเข้าไปทดลองปรับปรุงระบบการผลิตและการกระจายหนังสือใหม่ด้วย โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรนักทำหนังสือมืออาชีพหลายแห่งในการผลิตหนังสือ สกว. โฉมใหม่ 8 เล่ม และจัดจำหน่ายทั่วประเทศโดยเคล็ดไทย
:: 2559 :: openworlds ::
บทสรุปผลงานปี 2559 และแผนงานปี 2560 ของสำนักพิมพ์ openworlds
:: 2559 :: กษิดิศ อนันทนาธร และหนังสือป๋วยของเขา ::
เมื่อรวมเอาหนังสือชุดทัศนะของป๋วย อึ๊งภากรณ์ 4 เล่มใหม่หมาด เข้ากับผลงานเขียนของป๋วย อึ๊งภากรณ์ อีก 3 เล่ม ที่กษิดิศเป็นบรรณาธิการจนสำเร็จมาก่อนหน้านี้ นั่นคือ “ทหารชั่วคราว” “อัตชีวประวัติ: เหลียวหลัง แลหน้า” และ “คนที่ผมรู้จัก” จึงกล่าวได้เต็มปากเต็มคำว่า ทั้ง 7 เล่มนี้คืองานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ดีที่สุดและครบถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา
:: 2558 :: openworlds ::
สำนักพิมพ์ openworlds ตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 ด้วยหวังร่วมเปิดโลกการอ่านไทยผ่านการแปลหนังสือดีมีคุณภาพจากต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังสือแนวเศรษฐกิจการเมือง ธุรกิจสมัยใหม่ ประวัติศาสตร์อ่านสนุก และปัญญาความรู้หลากสาขา
ถึงวันนี้ openworlds ก็มีอายุครบ 5 ปีเต็มแล้วครับ เติบโตขึ้นตามลำดับจนยืนบนลำแข้งตัวเองได้แล้ว เป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของคณะผู้ก่อตั้ง
5 ปี openworlds
วันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน หนังสือ 2 เล่มแรกของสำนักพิมพ์ openworlds วางขายเคียงคู่กันอยู่ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติด้วยความใจดีของสำนักพิมพ์เพื่อนพ้องน้องพี่ ตอนนั้นเรายังไม่มีบูธเป็นของตัวเอง
หนังสือ 2 เล่มแรกที่ว่าคือ Creative Capitalism ของ Michael Kinsley (บรรณาธิการ) แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล และ Globalization: A very short introduction ของ Manfred Steger แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ทั้งคู่ตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม 2550
9 ways of Way
ขอแสดงความยินดีกับ Way ในวาระก้าวสู่ปีที่ 10 ด้วยครับ
9 ปีที่ผ่านมาของ Way เป็นดังที่ ตุ่น-รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ บรรณาธิการคนปัจจุบัน เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ WAY#90 ว่า “เหยียบยืนได้เต็มเท้า มีเส้นทางให้เดิน และสามารถสบตากับตัวเองได้อย่างไม่ขัดเขิน” และเป็น 9 ปีที่เต็มไปด้วยผู้อ่านและผองเพื่อนยืนเคียงข้างตามรายทางมากมาย
อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร เขียนเรื่อง “เพื่อน” ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “เวลาพูดถึงเพื่อน เราไม่ควรใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย” ในฐานะที่ผมนับชนชาว way เป็นเพื่อน ผมขอบอกสั้นๆ ว่า “อิ่มใจและอุ่นใจ” มากครับ
อยากจบตรงนี้ จะได้ขลังและคมแบบอธิคม แต่ฉลอง 9 ปีทั้งที ผมว่าฟุ่มเฟือยกันบ้างก็ได้ (ฮา) เลยขออนุญาตฟุ่มเฟือยถ้อยคำต่อให้สมกับโอกาสอันเป็นมงคล เอาเป็นว่าผมขอบอกเล่าความคิดและความรู้สึกส่วนตัว 9 ประการต่อ way ไว้ตรงนี้สักนิด ในฐานะคนอ่านตั้งแต่เล่ม 1 จนถึง 90
เบื้องหลังเว็บไซต์
2-3 เดือนก่อน เมื่อรู้ว่านิ้วกลมที่เคารพเตรียมทำหนังสือชุด “10 ปี นิ้วกลม” ผมก็ออกอาการอยากเลียนแบบบ้าง “10 ปี นิ้วกลม” ก็เท่ากับ “10 ปี ปกป้อง” เพราะหนังสือเล่มแรกของเราสองคนออกวางแผงปีเดียวกัน (มึงเป็นใครมิทราบ ริไปเทียบชั้นเขา!)
พอสบโอกาส จึงรีบถามไถ่ บก.เป็ด ซูเปอร์บอสที่เคารพแห่ง openworlds
“นิ้วกลมเค้าจะทำ ’10 ปี นิ้วกลม’ เรามาทำ ’10 ปี ปป.’ บ้างไหม” – ผมถาม
“ได้ ถ้าไม่เอาค่าเรื่อง ออกค่าพิมพ์เอง และจ่ายค่าบก. ค่าอาร์ต ค่าปรู๊ฟ ค่าฯลฯ ให้สำนักพิมพ์” – บอสตอบ
“……” – ผมจบ (ฮา)
- 1
- 2