ทุกครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณโฆสิต ไม่ว่าครั้งสัมภาษณ์ยาว ในเวทีสัมมนา หรือในห้องประชุม ผมไม่เคยรู้สึกเลยว่าคุณโฆสิตเป็นนายแบงก์หรือนักธุรกิจเอกชน แต่สัมผัสได้ถึงความเป็น “เทคโนแครต” ตัวจริงเสียงจริง ผู้สนใจเรื่องการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และการรับมือกับโจทย์ปัญหาระยะยาว
เทคโนแครต
แด่อาจารย์ป๋วย – รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริอายุรวม 83 ปี
โลกได้สูญเสียสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ อันหาผู้ใดเสมอด้วยยาก และมิอาจหาผู้ใดทดแทนได้ด้วย
อาจารย์ป๋วยเกิดในตระกูลสามัญชน เติบโตและได้รับการบ่มเพาะเยี่ยงสามัญชน และจบชีวิตอย่างสามัญชน แต่อาจารย์ป๋วยก็แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า วิถีแห่งชีวิตสามัญชนเป็นวิถีที่ยิ่งใหญ่ได้ และเป็นวิถีที่งดงามได้ ความยิ่งใหญ่และความงดงามแห่งชีวิตมิได้ขึ้นอยู่กับชั้นชน มิได้ขึ้นอยู่กับฐานะและตำแหน่งแห่งหนในสังคม และมิได้ขึ้นอยู่กับอภิสิทธิ์ที่ได้รับ หากแต่ขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์
30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย
ผู้สัมภาษณ์: ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
รวมบทสัมภาษณ์ว่าด้วยบทเรียนจากอดีตและความท้าทายแห่งอนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย จากคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหารทีดีอาร์ไอหลายยุคสมัย
อ่านมุมมองของ อานันท์ ปันยารชุน เสนาะ อูนากูล อาณัติ อาภาภิรม ไพจิตร เอื้อทวีกุล อัมมาร สยามวาลา โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วีรพงษ์ รามางกูร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นิพนธ์ พัวพงศกร และสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2557
หน้า: 256 หน้า
ป๋วย ทหาร เผด็จการ และประชาธิปไตย
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถูกกลุ่มอุดมการณ์ และกลุ่มไร้อุดมการณ์ ต่างๆ ในสังคมไทยฉวยใช้ประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ที่เป็นข่าวโต้เถียงกันใหญ่โตในขณะนี้ก็คือการใช้อาจารย์ป๋วยเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ที่เลือกเส้นทางรับใช้ระบอบเผด็จการทหาร โดยอ้างว่าอาจารย์ป๋วยก็รับใช้รัฐบาลเผด็จการเหมือนกัน
ผมเห็นว่าข้ออ้างทำนองนี้บอกความจริงเพียงส่วนเดียว อีกทั้งเป็นการตัดสินอาจารย์ป๋วยอย่างลดรูปและขาดพร่องเกินไป จนทำให้มองไม่เห็นภาพรวมของตัวตนและความคิดของอาจารย์ป๋วยตลอดทั้งชีวิต มิพักต้องพูดถึงว่า การเปรียบเทียบอาจารย์ป๋วยกับนักรับใช้เผด็จการยุคใหม่หลายคนที่ชอบแก้ตัวเช่นนั้น (หรือมีคนอื่นคอยแก้ตัวให้) เป็นเรื่องชวนหัวแบบขำขื่นเสียมากกว่า
อาจารย์ป๋วยแตกต่างจาก ‘นักรับใช้เผด็จการยุคใหม่’ อย่างไร
อ่าน ทวี หมื่นนิกร ผ่าน “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง”
ชื่อของหนังสือ “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” เล่มนี้ เป็นประโยคที่สะท้อนแก่นความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของทวี หมื่นนิกร ได้อย่างดีที่สุด สำหรับผู้สนใจเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทของสังคมเศรษฐกิจไทย ผลงานเขียนของทวี หมื่นนิกร เป็นงานที่มิอาจผ่านเลย
อ่าน เส้นทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย … ผ่าน เสนาะ อูนากูล
หนังสือ อัตชีวประวัติและงานของเสนาะ อูนากูล มิได้บอกเล่าถึงชีวิตของ ดร.เสนาะ อูนากูล เพียงเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าถึงชีวิตของเทคโนแครตไทย เศรษฐกิจไทย และเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี พ.ศ.2504-2535 จากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ผ่านสายตาของตัวละครคนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่าง ดร.เสนาะ อูนากูล เทคโนแครตคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ‘ยุคทอง’ ของเทคโนแครต ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติภูมิและคุณธรรมในฐานะข้าราชการ
อ่าน Rethinking Democracy ของ ดานี ร็อดริก
ผู้คนจำนวนมากในประเทศเหล่านั้นอาจเลือกทางผิด คิดว่าเผด็จการทหารเป็นทางออก พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็แอบชอบสนับสนุนให้ยกอำนาจการทำนโยบายสาธารณะให้เหล่าเทคโนแครตเสียเลยจะดีกว่า
ร็อดริกพยายามจะบอกเราว่า นั่นไม่ใช่ทางออก เพราะวิถีอำนาจนิยมเหล่านั้นบั่นทอนอนาคตของประชาธิปไตยในระยะยาว เหตุผลสำคัญคือ มันกั้นขวางการพัฒนา ‘วัฒนธรรม’ ที่สำคัญในการสร้างประชาธิปไตย นั่นคือ การประนีประนอมหาจุดร่วมแบบไม่สุดขั้วระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ ตราบเท่าที่ทหารมีอำนาจสูงสุด ประชาชนแต่ละกลุ่มจะมัวแต่คิดหาทางวิ่งเข้าหาหรือเอาชนะใจผู้มีอำนาจ แทนที่จะมุ่งต่อรอง แลกเปลี่ยน เอาชนะใจประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วยกันเอง