ในวันที่ 1 มกราคม 1990 ฮาเวลได้กล่าวผ่านสื่อกับประชาชนของเขา มันเป็นการนำเสนอข้อความที่น่าประหลาดใจในหลายๆ ด้าน มันไม่ใช่ข้อความของผู้ชนะ แต่เป็นประดุจการครุ่นคิดพิจารณาว่า ระบอบอันล้มละลายทางศีลธรรมพลอยทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย เขาบรรยายระบบที่กัดกร่อนคุณค่าและความรู้สึกของมนุษย์ ก่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนจำยอม ไม่มีหนทางต่อสู้ ที่แพร่หลายไปทั่ว มันเป็นข้อความที่ร่างขึ้นมาอย่างทรงพลัง และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างกว้างขวางกับระบอบเผด็จการอำนาจนิยมทั่วโลก
เผด็จการ
ป๋วย ทหาร เผด็จการ และประชาธิปไตย
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถูกกลุ่มอุดมการณ์ และกลุ่มไร้อุดมการณ์ ต่างๆ ในสังคมไทยฉวยใช้ประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ที่เป็นข่าวโต้เถียงกันใหญ่โตในขณะนี้ก็คือการใช้อาจารย์ป๋วยเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ที่เลือกเส้นทางรับใช้ระบอบเผด็จการทหาร โดยอ้างว่าอาจารย์ป๋วยก็รับใช้รัฐบาลเผด็จการเหมือนกัน
ผมเห็นว่าข้ออ้างทำนองนี้บอกความจริงเพียงส่วนเดียว อีกทั้งเป็นการตัดสินอาจารย์ป๋วยอย่างลดรูปและขาดพร่องเกินไป จนทำให้มองไม่เห็นภาพรวมของตัวตนและความคิดของอาจารย์ป๋วยตลอดทั้งชีวิต มิพักต้องพูดถึงว่า การเปรียบเทียบอาจารย์ป๋วยกับนักรับใช้เผด็จการยุคใหม่หลายคนที่ชอบแก้ตัวเช่นนั้น (หรือมีคนอื่นคอยแก้ตัวให้) เป็นเรื่องชวนหัวแบบขำขื่นเสียมากกว่า
อาจารย์ป๋วยแตกต่างจาก ‘นักรับใช้เผด็จการยุคใหม่’ อย่างไร
อ่าน การเมืองเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคนทั่วไปอาจจะคุ้นกับชื่อ ’30 บาท รักษาทุกโรค’ มากกว่า ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ช่วยเหลือทุกคนอย่างถ้วนทั่ว เพราะมันเปลี่ยนสถานะของบริการสาธารณสุขจาก ‘สินค้า’ (ในระบบตลาดที่คนมีเงินเท่านั้นที่เข้าถึงได้) หรือ ‘ส่วนบุญ’ (ในระบบสังคมสงเคราะห์ที่ต้องพกบัตร ต้องจน ต้องถูกแบ่งแยกกดต่ำ ต้องแสดงให้เห็นว่าตน ‘ด้อย’ กว่าจึงจะได้รับความช่วยเหลือ) ให้เป็น ‘สิทธิ์’ ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
เป็น ‘สิทธิ์’ ที่ไม่ต้องร้องขอ และไม่ต้องรอให้ใครอนุมัติก่อน
โปรดอ่าน แถลงการณ์ ฉบับที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง
เราจะเห็นร่องรอยความหวาดเกรงต่ออุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ในแถลงการณ์ของ คปค. อย่างชัดเจน (ดูตัวเน้นดำโดยผู้เขียน) จนดูราวกับว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจไทยไม่มีทางเลือกอื่นใดแล้ว นอกเหนือจากการเปิดเสรีการค้าและเปิดเสรีการเงิน ส่งเสริมการส่งออก เพิ่มบทบาทภาคเอกชน ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ ไม่ว่าผู้มีอำนาจรัฐจะมีที่มาด้วยวิถีทางชอบธรรมโดยการเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย หรือขึ้นสู่อำนาจด้วยวิถีทางไม่ชอบธรรมอย่างรัฐประหารก็ตามที นโยบายเศรษฐกิจเหมือนจะถูกกำหนดมาให้คงที่ล่วงหน้าอยู่แล้ว ประเทศกำลังพัฒนาเล็กๆ ที่มีระดับการเปิดประเทศสูงอย่างไทย ต้องเป็นผู้รับนโยบายเศรษฐกิจระดับโลก (policy taker) อย่างมิอาจแข็งขืน
ธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ ธรรมศาสตร์วันนี้
ธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ ธรรมศาสตร์วันนี้
เมื่อวานนี้ ผมไปงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของคณะที่รังสิต อาจารย์กับนักศึกษาไปถ่ายรูปหมู่กันที่อนุสาวรีย์ป๋วยหน้าอาคารเรียนรวม ผมชี้ให้เพื่อนอาจารย์ดูแผ่นจารึกถ้อยคำของ อ.ป๋วย ข้างอนุสาวรีย์
เพื่อนผมถ่ายรูปมาลงเฟซบุ๊ก แล้วเขียนว่า “ป้ายที่ถูกลืม”
อ่าน Rethinking Democracy ของ ดานี ร็อดริก
ผู้คนจำนวนมากในประเทศเหล่านั้นอาจเลือกทางผิด คิดว่าเผด็จการทหารเป็นทางออก พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็แอบชอบสนับสนุนให้ยกอำนาจการทำนโยบายสาธารณะให้เหล่าเทคโนแครตเสียเลยจะดีกว่า
ร็อดริกพยายามจะบอกเราว่า นั่นไม่ใช่ทางออก เพราะวิถีอำนาจนิยมเหล่านั้นบั่นทอนอนาคตของประชาธิปไตยในระยะยาว เหตุผลสำคัญคือ มันกั้นขวางการพัฒนา ‘วัฒนธรรม’ ที่สำคัญในการสร้างประชาธิปไตย นั่นคือ การประนีประนอมหาจุดร่วมแบบไม่สุดขั้วระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ ตราบเท่าที่ทหารมีอำนาจสูงสุด ประชาชนแต่ละกลุ่มจะมัวแต่คิดหาทางวิ่งเข้าหาหรือเอาชนะใจผู้มีอำนาจ แทนที่จะมุ่งต่อรอง แลกเปลี่ยน เอาชนะใจประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วยกันเอง
แถลงการณ์ที่ไม่ได้ใช้
แถลงการณ์คัดค้านรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
พวกเรา ….. ตามรายนามด้านล่างนี้ ขอคัดค้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากเป็นการกระทำที่ทำลายระบอบและวัฒนธรรมประชาธิปไตย ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ละเมิดหลักนิติธรรม และบั่นทอนโอกาสในการปฏิรูปประเทศไทย
การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองด้วยวิถีทางนอกระบบย่อมไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนและล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริง กลับจะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ทวีความขัดแย้งให้หนักหน่วงขึ้นในระยะยาว จนอาจนำไปสู่โศกนาฏกรรมของสังคมในอนาคต