ในยุคที่เศรษฐกิจโลกผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน เศรษฐกิจไทยคงไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงลุกลามในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คำถามสำคัญก็คือ เราพร้อมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกในวันนี้และวันหน้ามากน้อยแค่ไหน ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมย้อนกลับไปสำรวจบทเรียนจากอดีต เพื่อตอบคำถามเรื่องปัจจุบันและอนาคต 15 ปีผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทยเรียนรู้บทเรียนอะไรจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540” วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สังคมเศรษฐกิจไทยปรับตัวและเรียนรู้ไปมากเพียงไร อะไรคือโอกาส และความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไป
เศรษฐกิจมหภาค
สยามวาระ: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่ย่อโลกและหลอมรวมระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินทั้งโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน โลกกลับต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 80 ปี วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาและวิกฤตยูโรโซนกำลังเขย่าให้โลกทั้งใบจนปั่นป่วน
อะไรคือรากเหง้าและต้นตอของวิกฤต วิกฤตครั้งนี้เหมือนหรือต่างจากครั้งก่อนๆ อย่างไร วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลกระทบเศรษฐกิจและชีวิตคนไทยอย่างไร สังคมเศรษฐกิจไทยพร้อมรับมือกับโลกที่ผันผวนปรวนแปรมากแค่ไหน
เปิดบทเรียน 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์: “ผมไม่คิดว่าได้ทำอะไรผิดพลาด … ที่ผมรับไม่ได้คือหาว่าผมทำงานด้วยการขายชาติ”
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงรอบด้านเช่นนี้ “ธารินทร์ นิมมานเหมินท์” สามารถนำพาประเทศก้าวข้ามพ้นจุดวิกฤตไปได้อย่างไร บทสัมภาษณ์นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสิบปีที่ “ธารินทร์” ให้สัมภาษณ์สื่อถึงเบื้องลึกของการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสถาบันการเงินในช่วงนั้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น “ความจริงประเทศไทย” ที่ถูกปิดเป็นความลับในตอนนั้น และเบื้องหลังการเจรจากับไอเอ็มเอฟเพื่อขอผ่อนปรนมาตรการเข้มงวด รวมทั้งเปิดเผยเรื่อง “คับแค้นใจ” ที่ไม่สามารถทำได้ในตอนนั้น พร้อมเล่าทุกแง่มุมในการทำงานอย่างมั่นใจว่า “ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด”และบอกเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน จากมุมมองขุนคลังผู้รับบทหนักในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 2540
US Crisis วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
รายละเอียด: รวมบทบรรยายและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ผู้บรรยายและสัมภาษณ์: กอบศักดิ์ ภูตระกูล สฤณี อาชวานันทกุล ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: มิถุนายน 2552
แบบจำลองว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในตลาดแรงงานของซามูแอล โบลส์: แนวคิดและนัยต่อเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่
ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์
ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน ปกป้อง จันวิทย์ (บรรณาธิการ). 2552. เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks.
รายละเอียด: บทความนี้นำเสนอครั้งแรกในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลังตีพิมพ์ใน รัฐศาสตร์สาร 30 ปี เล่ม 4 (2552) หน้า 392-426.
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ พรเทพ เบญญาอภิกุล
แหล่งทุน: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท
ตีพิมพ์: มกราคม 2556
การฟื้นตัวแบบไม่จ้างงาน
สรุปว่า กำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะนำไปสู่การจ้างงานมากขึ้นเสมอไป นับวันโลกของกำไรกับโลกของงานยิ่งแยกขาดจากกัน ความเชื่อที่ว่าช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวก่อนแล้วจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการจ้างงานต่อไปดูจะเป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจปัจจุบันเสียแล้ว
และหากสถานการณ์ในตลาดแรงงานยังคงดำเนินไปอย่างเลวร้ายเช่นนี้อยู่ ก็มีโอกาสสูงว่า สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วเป็นเพียงภาพลวงตาระยะสั้น ก่อนที่จะวนกลับสู่ความตกต่ำซ้ำสองอีกรอบในไม่ช้า เพราะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนต้องมีฐานล่างที่เข้มแข็ง คนต้องมีงานทำและได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมจึงมีอำนาจซื้อสินค้าและบริการในระดับที่นำพาเศรษฐกิจออกจากหล่มแห่งความตกต่ำได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
สิบความคิดที่ส่งผลต่อตัวตนของไอเอ็มเอฟ
ไอเอ็มเอฟมิใช่สถาบันที่ปราศจากอุดมการณ์เบื้องหลัง นักเศรษฐศาสตร์หลายคนตีตราไอเอ็มเอฟในฐานะสถาบันที่แปลงอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประจักษ์พยานที่เห็นเด่นชัดในปัจจุบันคือ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ไอเอ็มเอฟเสนอแก่ประเทศที่เผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจล้วนเดินตามนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เป็นสำคัญ
ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลและมีวิวัฒนาการต่อเนื่องจากการเผชิญหน้าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของเศรษฐกิจโลก ในอีกทางหนึ่ง ไอเอ็มเอฟก็เป็นผู้เขียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเศรษฐกิจโลกเสียเอง
ในทางหนึ่ง ตัวตนของไอเอ็มเอฟได้รับอิทธิพลจากความคิดและองค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ในอีกทางหนึ่ง ลักษณะตัวตนของไอเอ็มเอฟกลับส่งอิทธิพลกำหนดความเป็นไปและพัฒนาการขององค์ความรู้ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์
ความเห็นหนึ่งถึงปัญหาบาทแข็ง
เมื่อก่อนคนมักเข้าใจว่า นโยบายส่งเสริมการส่งออกไปด้วยกันได้ดีกับนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน แต่ปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงความขัดกันของสองนโยบายนี้ กล่าวคือเงินทุนที่ไหลเข้ามาก ทำให้ค่าเงินแข็ง และกระทบภาคส่งออก มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อกัน
โจทย์สำคัญที่ต้องคิดกันก็คือ ถ้าประเทศไทยจะยังยึดกุมยุทธศาสตร์ส่งออกเพื่อการพัฒนาต่อไป เราควรจะมีท่าทีอย่างไรต่อการไหลเข้าของเงินระหว่างประเทศ ถ้าเราปล่อยให้ทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี เราก็ต้องรับผลกระทบจากความผันผวนไร้เสถียรภาพจากระบบการเงินโลก ซึ่งประสบการณ์ในขณะนี้ชี้ชัดว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเงิน ในค่าเงินนั้นกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงด้วย ผลกระทบไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แต่ในภาคการเงินหรือตัวแปรที่เป็นตัวเงินเท่านั้น
การลงทุนสีเขียว
การลงทุนไม่ได้ส่งผลช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นโดยเพิ่มการจ้างงานและเพิ่มกระแสรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่การลงทุนยังสร้างผลได้ทางเศรษฐกิจระยะยาว ได้แก่ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของระบบเศรษฐกิจ การยกระดับความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ การสะสมทุน การสร้างโอกาสในการแสวงหารายได้ที่สูงขึ้นในอนาคต การเพิ่มทักษะและฝีมือของแรงงาน และการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในอนาคต เช่น ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนด้านพลังงาน เป็นต้น ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนจึงตอบโจทย์เศรษฐกิจในภาวะวิกฤตได้ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
แม้การลงทุนโดยรัฐดูจะเป็นทางออกในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาลควรจะเลือกลงทุนในทิศทางหรือในกิจการใด รัฐบาลของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา มีคำตอบใหม่ที่น่าสนใจต่อคำถามนี้ นั่นคือ “การลงทุนสีเขียว” (Green Investment)
- 1
- 2