Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

เศรษฐกิจ

สนทนา 30 ปี ทีดีอาร์ไอ “สังคมเศรษฐกิจไทย: ความท้าทายและการปฏิรูป” – อานันท์ ปันยารชุน

Posted on September 8, 2015September 9, 2015 by pokpong

สนทนา 30 ปี ทีดีอาร์ไอ “สังคมเศรษฐกิจไทย: ความท้าทายและการปฏิรูป” กับ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557 “ประเทศไทยในสามทศวรรษหน้า: สี่ความท้าทายเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ” จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์

Posted in จับเข่าคุย Tagged 30 ปี ทีดีอาร์ไอ, การเมือง, ทีดีอาร์ไอ, ปัญหาเศรษฐกิจ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สังคมเศรษฐกิจไทย, อานันท์ ปันยารชุน, เศรษฐกิจ Leave a comment

เช็คบิล: กรณีหวยหงส์ และการลุกขึ้นยืนตรงของสังคมไทย

Posted on September 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

รายละเอียด: บทบันทึกกรณีรัฐบาลไทยสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต้องการออกหวยเพื่อซื้อสโมสรลิเวอร์พูล

ผู้อภิปรายและผู้ให้สัมภาษณ์: สมณะโพธิรักษ์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ไมเคิล ไรท รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เทพชัย หย่อง อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ วิมุต วานิชเจริญธรรม พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นันทขว้าง สิรสุนทร รสนา โตสิตระกูล ทิชา ณ นคร กวิน ชุติมา วิทยากร เชียงกูล พระไพศาล วิศาโล ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: openbooks

ตีพิมพ์: มิถุนายน 2547

Posted in ผลงานร่วม, หนังสือ Tagged openbooks, ทักษิณ ชินวัตร, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, ระบอบทักษิณ, ลิเวอร์พูล, สลากกินแบ่ง, หวยหงส์, เศรษฐกิจ Leave a comment

เศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง กับเกษียร เตชะพีระ

Posted on September 8, 2014October 5, 2014 by pokpong

ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์

เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร

เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์

และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา

“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ

Posted in จับเข่าคุย Tagged macrotrends, การเงินระหว่างประเทศ, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, การเมือง, ซับไพรม์, ปกป้อง จันวิทย์, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, วิกฤตเศรษฐกิจ, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, วิกฤตเศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจไทย, เกษียร เตชะพีระ, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

สุนทรพจน์ก้องโลก

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ผู้แปล: โตมร ศุขปรีชา ปกป้อง จันวิทย์ และพลอยแสง เอกญาติ

ชวนอ่านปกหลัง:

“หนังสือเล่มนี้มีคำพูดดีๆ ของนักคิดที่มีความฝันจะสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้น อย่างสุนทรพจน์อันลือชื่อของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่ชื่อว่า I Have a Dream หรือสุนทรพจน์ของเนลสัน แมนเดลา

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น ‘คำพูด’ ที่ไม่ได้มีพลังงานในตัวมากพอจะทำให้ใบไม้ไหวหรือเทียนดับเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่าศักยภาพในความหมายของ ‘คำพูด’ เหล่านี้กลับท่วมท้นทบทวี กระทั่งทำให้โลก…อย่างน้อยก็โลกในบริบทหนึ่ง ณ กาลเวลาหนึ่ง ได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลอย่างไม่อาจหวนคืนได้” – โตมร ศุขปรีชา

สำนักพิมพ์: ปราณ

พิมพ์ครั้งแรก: มกราคม 2555

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged การเมือง, ปกป้อง จันวิทย์, ประวัติศาสตร์โลก, พลอยแสง เอกญาติ, วัฒนธรรม, สังคม, สำนักพิมพ์ปราณ, สุนทรพจน์, เศรษฐกิจ, โตมร ศุขปรีชา Leave a comment

เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบไหน?

สำรวจเบื้องหลังสังคมเศรษฐกิจ ในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์-เสรีนิยมใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

“เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน … โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยคือเราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: อมรินทร์

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2554

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, การเมือง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจ, สำนักพิมพ์อมรินทร์, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐกิจไทย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ Leave a comment

เศรษฐกิจทางเลือก: ว่าด้วยมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

โลกาภิวัตน์ อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ วิวาทะว่าด้วยการเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ และ Capital Controls

ชวนอ่านปกหลัง:

หนังสือชุด ‘เศรษฐกิจทางเลือก’ เป็น ‘สิ่งยืนยัน’ ว่า ในซอกมุมเล็กๆ ของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่ทำงานในแนวทางที่แตกต่าง ในซอกมุมเล็กๆ ของเศรษฐกิจโลก ยังมีบางประเทศที่เลือกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางที่แตกต่าง

‘ทางเลือกอื่น’ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ ยังพอมีหลงเหลืออยู่ในโลกใบนี้ นโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นมิได้สร้างผลกระทบด้านลบแก่ระบบเศรษฐกิจ จนทำให้เศรษฐกิจล้มเหลวหรือพังทลายลง ดังที่นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่หวาดกลัว

ในทางตรงกันข้าม นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกเหล่านั้นกลับมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มีความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในประเทศเป็นเป้าหมายสุดท้าย

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2553

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged capital controls, openbooks, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, ชิลี, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, มาเลเซีย, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

Macrotrends ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: สฤณี อาชวานันทกุล เอื้อมพร พิชัยสนิธ ปกป้อง จันวิทย์ และภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

ชวนอ่านปกหน้า: โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกษียร เตชะพีระ สนทนากับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

ชวนอ่านปกหลัง: 26 แนวโน้มใหญ่ เศรษฐกิจโลกใหม่ และเศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง

สำนักพิมพ์: สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ openbooks

พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2552

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged macrotrends, openbooks, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปกป้อง จันวิทย์, ปัญหาเศรษฐกิจ, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจโลก, สฤณี อาชวานันทกุล, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจไทย, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ, เอื้อมพร พิชัยสนิธ Leave a comment

BLOG BLOG

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เศรษฐกิจการเมืองอ่านสนุกจากมุมมองอดีตนักเรียนทุนฟุลไบรท์ไทยในอเมริกา ผู้สร้างชุมชนทางปัญญาผ่านเครือข่ายไซเบอร์สเปซ

งานเขียนแนวใหม่ที่ทำให้โลกไหวด้วยปลายนิ้ว

ชวนอ่านปกหลัง:

เมื่อนักวิชาการริอ่านเป็น blogger

หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านในวงกว้างได้สัมผัสกับงานเขียนดีๆ มีสาระบันเทิงจากหลายแง่มุม ทั้งในมุมของอาจารย์หนุ่ม นักศึกษาปริญญาเอก นักเศรษฐศาสตร์สำนักกระแสรอง ความยากลำบากและการต้องปรับตัวของชีวิตในต่างแดน การทำวิทยานิพนธ์ การเดินทาง แนวคิดเกี่ยวกับสังคมไทยและเรื่องอื่นๆ

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): กันยายน 2548

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged blog blog, openbooks, การเมือง, ชีวิตส่วนตัว, ปกป้อง จันวิทย์, ประสบการณ์เรียนต่อ, วัฒนธรรม, สังคม, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

จาก ‘นักบุญ’ ถึง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’

Posted on September 4, 2014October 8, 2014 by pokpong

จะ ‘พอเพียง’ ได้อย่างไร ในเมื่อคนยากคนจนมากมายในสังคมยังมี ‘ไม่เพียงพอ’ ไม่มีทรัพยากรพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เคยอยู่ภายใต้สังคมเศรษฐกิจที่ให้ ‘โอกาส’ ในการยกระดับและพัฒนาตัวเอง และไม่เคยอยู่ภายใต้ทุนนิยมเสรีอย่างแท้จริง ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged ความเหลื่อมล้ำ, นักบุญ, อิมเมจ, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจไทย Leave a comment

โลกสีหม่น ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

Posted on September 4, 2014October 1, 2014 by pokpong

ท่ามกลางกระบวนการสร้าง “โลกสีขาว” เป็นของขวัญแก่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย ในวาระครบ 6 รอบ ก่อนล้างมือในอ่างทองคำ open พลิกแฟ้มข่าว พาผู้อ่านย้อนสำรวจเหตุการณ์ อาการ และอารมณ์ของสังคมไทย ในช่วงพฤศจิกายน 2539 ถึง พฤศจิกายน 2540

… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ “ชวลิต ยงใจยุทธ”

… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

… ช่วงเวลาที่ “โลก” ของพลเอกชวลิต และคนไทยทุกคน เปลี่ยนจากสีขาว … เป็นสีหม่น และหมองคล้ำ

Posted in บทความ, บทความรับเชิญ Tagged การปฏิรูปการเมือง, การเมือง, ชวลิต ยงใจยุทธ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย, รัฐธรรมนูญ, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, เศรษฐกิจ Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back