Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก

เศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง กับเกษียร เตชะพีระ

Posted on September 8, 2014October 5, 2014 by pokpong

ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์

เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร

เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์

และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา

“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ

Posted in จับเข่าคุย Tagged macrotrends, การเงินระหว่างประเทศ, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, การเมือง, ซับไพรม์, ปกป้อง จันวิทย์, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, วิกฤตเศรษฐกิจ, วิกฤตเศรษฐกิจ 2540, วิกฤตเศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจไทย, เกษียร เตชะพีระ, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจใคร

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบไหน?

สำรวจเบื้องหลังสังคมเศรษฐกิจ ในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์-เสรีนิยมใหม่

ชวนอ่านปกหลัง:

การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

“เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเศรษฐกิจแบบไหน … โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยคือเราจะเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความหมายต่อชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะสามัญชนคนธรรมดาได้อย่างไร” – ปกป้อง จันวิทย์

สำนักพิมพ์: อมรินทร์

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): ตุลาคม 2554

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, การเมือง, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจ, สำนักพิมพ์อมรินทร์, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐกิจไทย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ Leave a comment

BLOG BLOG

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

เศรษฐกิจการเมืองอ่านสนุกจากมุมมองอดีตนักเรียนทุนฟุลไบรท์ไทยในอเมริกา ผู้สร้างชุมชนทางปัญญาผ่านเครือข่ายไซเบอร์สเปซ

งานเขียนแนวใหม่ที่ทำให้โลกไหวด้วยปลายนิ้ว

ชวนอ่านปกหลัง:

เมื่อนักวิชาการริอ่านเป็น blogger

หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านในวงกว้างได้สัมผัสกับงานเขียนดีๆ มีสาระบันเทิงจากหลายแง่มุม ทั้งในมุมของอาจารย์หนุ่ม นักศึกษาปริญญาเอก นักเศรษฐศาสตร์สำนักกระแสรอง ความยากลำบากและการต้องปรับตัวของชีวิตในต่างแดน การทำวิทยานิพนธ์ การเดินทาง แนวคิดเกี่ยวกับสังคมไทยและเรื่องอื่นๆ

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): กันยายน 2548

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged blog blog, openbooks, การเมือง, ชีวิตส่วนตัว, ปกป้อง จันวิทย์, ประสบการณ์เรียนต่อ, วัฒนธรรม, สังคม, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน

ชวนอ่านปกหลัง:

“หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ ‘กังวล’ อย่างไม่ต้องสงสัยว่า ‘เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ ที่ร่ำเรียนทฤษฎีกันมาเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูง โดยละเลยปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น สามารถอธิบายความเป็นจริงของโลกและของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องหรือไม่” – วรากรณ์ สามโกเศศ

” ‘เศรษฐศาสตร์’ เป็นแค่วิธีคิดวิธีศึกษาโลกอย่างหนึ่งในหลายๆ วิธี เป็นแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์การคิดการเข้าใจโลกหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือการคิดการเรียนรู้เข้าใจโลกอื่นๆ มันมีประโยชน์และก็มีข้อจำกัดหรือกรอบของมัน มันช่วยให้คุณมองและยึดกุมอะไรบางอย่างชัดขึ้น มั่นคงแม่นยำขึ้น แต่มันก็ทำให้คุณมองบางอย่างรางเลือนไป ไม่อยู่ในโฟกัส” – เกษียร เตชะพีระ

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2547

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ, ปกป้อง จันวิทย์, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

คลื่นลูกใหม่แห่งเศรษฐศาสตร์กระแสรอง

Posted on August 29, 2014October 1, 2014 by pokpong

ในอนาคต เขาคิดจะเขียนหนังสือเรียนเศรษฐศาสตร์สักเล่ม เพื่อถ่ายทอดความรู้และความคิด ช่วงชิงคำนิยามใหม่ของคำว่า “วิชาเศรษฐศาสตร์”

“ผมอยากนิยามเศรษฐศาสตร์ในแบบของผม โดยเฉพาะเพื่อสังคมไทย ถ้าคุณได้ไปลองอ่านหนังสือเรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น คุณจะเห็นเขานิยามคำว่าเศรษฐศาสตร์ ว่าคือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดภายใต้ความจำกัด ซึ่งผมว่านี่ยังคับแคบ ไม่รอบด้านเพียงพอ โลกเศรษฐศาสตร์กว้างใหญ่กว่านี้มาก

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged GM, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

ปกป้อง จันวิทย์ เศรษฐศาสตร์นอกรั้วกระแสหลัก

Posted on August 29, 2014October 1, 2014 by pokpong

จากพิธีกรรายการทีวี ‘จิ๋วแจ๋วเจาะโลก’ ผู้โด่งดังตั้งแต่วัยเยาว์ อะไรทำให้เด็กชายคนหนึ่งซึ่งใฝ่ฝันจะเป็นนักการเมืองหันเหชีวิตตัวเองสู่การเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เต็มตัว

และไม่ใช่แต่เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกซึ่งครอบงำความคิดคนส่วนใหญ่อยู่เท่านั้น

แต่ ปกป้อง จันวิทย์ เลือกที่จะเรียนเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก ด้วยเชื่อว่ามันคือเศรษฐศาสตร์ที่แท้ ซึ่งอธิบายความเป็นไปของสังคมได้ดีกว่าเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก อันติดอยู่กับกรอบคิดว่าคนเป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจเท่านั้น

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การศึกษาเศรษฐศาสตร์, ประสบการณ์เรียนต่อ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

นอกกระแส

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

“อาชีพการเมืองเป็นอาชีพที่มีการประนีประนอมสูง จนตัวตนของคุณเหลือน้อยลงไปเรื่อย อยู่ในระบบที่คนต้องคิดเหมือนกับพรรค อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมของคุณตกต่ำลง

… การเป็นนักวิชาการสามารถเปลี่ยนโลกได้เหมือนกัน เป็นการเปลี่ยนในระดับฐานล่างผ่านการสอนของเรา ผมเชื่อว่าการศึกษาเปลี่ยนชีวิตคนได้ เป็นการเล่นการเมืองภาคประชาชน ถ่ายทอดความคิด ความรู้ให้กับประชาชน”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged ชีวิตส่วนตัว, ดิฉัน, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

Passionate Economist

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

“ผมเป็นคนมีแพสชั่นสูง ถึงทุกวันนี้ระดับความอยากให้สังคมดีขึ้น ไม่เคยลดลง และการทำความเข้าใจกลไกที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เพื่อยอมรับมัน แต่เพื่อเปลี่ยนแปลงมัน สำหรับผม หน้าที่ของนักวิชาการไม่ใช่แค่อธิบายสังคม เข้าใจมันแล้วจบ แต่ต้องมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม บทบาทของนักวิชาการไม่ใช่อยู่บนหอคอยงาช้าง แล้วคอยผลิตคำอธิบาย แต่มันต้องมีระดับของความเป็นนักปฏิวัติซ่อนอยู่ด้วย เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมทำได้หลายวิธี”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged positioning, ชีวิตส่วนตัว, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

นักเศรษฐศาสตร์นอกคอก กับแนวคิดที่แตกต่าง

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

สำหรับวงการศึกษาและวงการวิชาการในประเทศไทย อยากเรียกร้องไปอีกระดับหนึ่ง เพราะวงวิชาการไทยถูกครอบครองโดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ โดยในอนาคตตนอยากเห็น หรือหวังว่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์แปลกๆ สำนักต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อความหลากหลาย เรารู้ว่าสังคมต้องมีความหลากหลาย ซึ่งสังคมเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าหยุดนิ่งมีความคิดแบบเดียว สังคมนั้นก็ไร้ชีวิตชีวาและตายไปในที่สุด

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์สถาบัน

Posted on August 19, 2014October 1, 2014 by pokpong

กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์สถาบันมีความเชื่อว่า “สถาบัน” ทั้งการจัดองค์กร (Organization) และกฎกติกา (Rules of the Game) ในสังคมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ในสังคม การศึกษามนุษย์และสังคมโดยละเลยการศึกษาด้านสถาบันนั้นไม่เพียงพอที่จะเข้าใจมนุษย์และสังคมได้อย่างถ่องแท้

ด้วยเหตุดังนี้ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านสถาบันอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และมิอาจละเลยได้ การละเลยปัจจัยด้านสถาบัน นอกจากจะทำให้การอรรถาธิบายว่าด้วยประพฤติกรรมและปรากฏการณ์ในสังคมไม่สมบูรณ์แล้ว ยังเป็นอุปสรรคในการแสวงหามรรควิธีในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอีกด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back