ชวนอ่านชีวิตและความคิดของ Veblen ต้นธารความคิด “เศรษฐศาสตร์สถาบัน” กันครับ
เศรษฐศาสตร์
จับตาดีลทรู-ดีแทค กับ 101 PUB
ชวนอ่านบทวิเคราะห์ดีลควบรวมทรู-ดีแทค จาก 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank
แด่อาจารย์ป๋วย – รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2542 สิริอายุรวม 83 ปี
โลกได้สูญเสียสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ อันหาผู้ใดเสมอด้วยยาก และมิอาจหาผู้ใดทดแทนได้ด้วย
อาจารย์ป๋วยเกิดในตระกูลสามัญชน เติบโตและได้รับการบ่มเพาะเยี่ยงสามัญชน และจบชีวิตอย่างสามัญชน แต่อาจารย์ป๋วยก็แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า วิถีแห่งชีวิตสามัญชนเป็นวิถีที่ยิ่งใหญ่ได้ และเป็นวิถีที่งดงามได้ ความยิ่งใหญ่และความงดงามแห่งชีวิตมิได้ขึ้นอยู่กับชั้นชน มิได้ขึ้นอยู่กับฐานะและตำแหน่งแห่งหนในสังคม และมิได้ขึ้นอยู่กับอภิสิทธิ์ที่ได้รับ หากแต่ขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์
30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย
ผู้สัมภาษณ์: ปกป้อง จันวิทย์
ชวนอ่าน:
รวมบทสัมภาษณ์ว่าด้วยบทเรียนจากอดีตและความท้าทายแห่งอนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย จากคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหารทีดีอาร์ไอหลายยุคสมัย
อ่านมุมมองของ อานันท์ ปันยารชุน เสนาะ อูนากูล อาณัติ อาภาภิรม ไพจิตร เอื้อทวีกุล อัมมาร สยามวาลา โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วีรพงษ์ รามางกูร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นิพนธ์ พัวพงศกร และสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
พิมพ์ครั้งแรก: พฤศจิกายน 2557
หน้า: 256 หน้า
สยามวาระ: วิกฤตเศรษฐกิจไทย
ในยุคที่เศรษฐกิจโลกผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน เศรษฐกิจไทยคงไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงลุกลามในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คำถามสำคัญก็คือ เราพร้อมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกในวันนี้และวันหน้ามากน้อยแค่ไหน ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมย้อนกลับไปสำรวจบทเรียนจากอดีต เพื่อตอบคำถามเรื่องปัจจุบันและอนาคต 15 ปีผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทยเรียนรู้บทเรียนอะไรจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540” วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สังคมเศรษฐกิจไทยปรับตัวและเรียนรู้ไปมากเพียงไร อะไรคือโอกาส และความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไป
สยามวาระ: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่ย่อโลกและหลอมรวมระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินทั้งโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน โลกกลับต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 80 ปี วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาและวิกฤตยูโรโซนกำลังเขย่าให้โลกทั้งใบจนปั่นป่วน
อะไรคือรากเหง้าและต้นตอของวิกฤต วิกฤตครั้งนี้เหมือนหรือต่างจากครั้งก่อนๆ อย่างไร วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลกระทบเศรษฐกิจและชีวิตคนไทยอย่างไร สังคมเศรษฐกิจไทยพร้อมรับมือกับโลกที่ผันผวนปรวนแปรมากแค่ไหน
สยามวาระ: ก้าวข้ามเศรษฐกิจปลาใหญ่กินปลาเล็ก
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นกลไกสำคัญที่จะอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่เอาเปรียบบริษัทขนาดเล็ก ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์ แต่ตลอดระยะเวลากว่า 13 ปีนับตั้งแต่ประเทศไทยมีกฎหมายนี้ในชื่อ “พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542” กลับยังไม่มีธุรกิจแม้แต่รายเดียวที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าคืออะไร เหตุใดจึงจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย จุดอ่อนของกลไกการป้องกันการผูกขาดของประเทศไทยอยู่ที่ไหน และเราจะสามารถปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร
ปกป้อง จันวิทย์ จะพาท่านผู้ชมไปหาคำตอบร่วมกันในรายการ สยามวาระ ตอน ก้าวข้ามเศรษฐกิจปลาใหญ่กินปลาเล็ก
วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์
รายละเอียด: เมื่อนักมานุษยวิทยา นักปรัชญา และนักรัฐศาสตร์ วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์ ในวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้อภิปราย: ยุกติ มุกดาวิจิตร เกษม เพ็ญภินันท์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ พงษ์ธร วราศัย ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: กันยายน 2552
15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน – อัมมาร สยามวาลา
ในวาระครบรอบ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน อัมมาร สยามวาลา เขียนประวัติศาสตร์วิกฤตต้มยำกุ้ง และตอบคำถามว่า 15 ปี ผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทย ไล่เรียงตั้งแต่สถาบันการเงิน ภาคเศรษฐกิจจริง ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาครัฐไทย นักการเมือง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จนถึงประชาชนคนเดินถนนทั่วไป เรียนรู้อะไร และปรับตัวอย่างไรหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง กับเกษียร เตชะพีระ
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร
เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์
และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา
“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ