Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

เสรีนิยมใหม่

แบบจำลองว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในตลาดแรงงานของซามูแอล โบลส์: แนวคิดและนัยต่อเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่

Posted on September 6, 2014October 6, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์

ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน ปกป้อง จันวิทย์ (บรรณาธิการ). 2552. เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks.

รายละเอียด: บทความนี้นำเสนอครั้งแรกในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลังตีพิมพ์ใน รัฐศาสตร์สาร 30 ปี เล่ม 4 (2552) หน้า 392-426.

Posted in งานวิชาการ, บทความวิชาการ Tagged ค่าจ้าง, ซามูแอล โบลส์, ตลาดแรงงาน, เศรษฐกิจมหภาค, เศรษฐศาสตร์สถาบัน, เสรีนิยมใหม่, แรงงาน, โลกาภิวัตน์ Leave a comment

Capital Flight from Thailand : 1980-2000

Posted on September 6, 2014October 6, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: Edsel L. Beja, Pokpong Junvith and Jared Ragusett

ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน Epstein, Gerald (ed.). 2005. Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries. Edward Elgar Publishing.

Posted in งานวิชาการ, บทความวิชาการ Tagged capital controls, capital flight, การเงินระหว่างประเทศ, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

โครงการนโยบายเศรษฐกิจทางเลือกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่: บทสำรวจองค์ความรู้และประสบการณ์

Posted on September 6, 2014September 21, 2014 by pokpong

ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ สฤณี อาชวานันทกุล เอื้อมพร พิชัยสนิธ

แหล่งทุน: อ๊อกแฟม ประเทศไทย

ตีพิมพ์: มกราคม 2551

Posted in งานวิจัย, งานวิชาการ Tagged นโยบายสาธารณะ, นโยบายเศรษฐกิจทางเลือก, ปกป้อง จันวิทย์, สฤณี อาชวานันทกุล, เศรษฐกิจทางเลือก, เสรีนิยมใหม่, เอื้อมพร พิชัยสนิธ, โลกาภิวัตน์ Leave a comment

เศรษฐกิจทางเลือก: ว่าด้วยมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

โลกาภิวัตน์ อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ วิวาทะว่าด้วยการเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ และ Capital Controls

ชวนอ่านปกหลัง:

หนังสือชุด ‘เศรษฐกิจทางเลือก’ เป็น ‘สิ่งยืนยัน’ ว่า ในซอกมุมเล็กๆ ของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่ทำงานในแนวทางที่แตกต่าง ในซอกมุมเล็กๆ ของเศรษฐกิจโลก ยังมีบางประเทศที่เลือกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางที่แตกต่าง

‘ทางเลือกอื่น’ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ ยังพอมีหลงเหลืออยู่ในโลกใบนี้ นโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นมิได้สร้างผลกระทบด้านลบแก่ระบบเศรษฐกิจ จนทำให้เศรษฐกิจล้มเหลวหรือพังทลายลง ดังที่นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่หวาดกลัว

ในทางตรงกันข้าม นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกเหล่านั้นกลับมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มีความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในประเทศเป็นเป้าหมายสุดท้าย

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2553

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged capital controls, openbooks, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, ชิลี, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, มาเลเซีย, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน

ชวนอ่านปกหลัง:

“หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ ‘กังวล’ อย่างไม่ต้องสงสัยว่า ‘เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ ที่ร่ำเรียนทฤษฎีกันมาเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูง โดยละเลยปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น สามารถอธิบายความเป็นจริงของโลกและของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องหรือไม่” – วรากรณ์ สามโกเศศ

” ‘เศรษฐศาสตร์’ เป็นแค่วิธีคิดวิธีศึกษาโลกอย่างหนึ่งในหลายๆ วิธี เป็นแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์การคิดการเข้าใจโลกหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือการคิดการเรียนรู้เข้าใจโลกอื่นๆ มันมีประโยชน์และก็มีข้อจำกัดหรือกรอบของมัน มันช่วยให้คุณมองและยึดกุมอะไรบางอย่างชัดขึ้น มั่นคงแม่นยำขึ้น แต่มันก็ทำให้คุณมองบางอย่างรางเลือนไป ไม่อยู่ในโฟกัส” – เกษียร เตชะพีระ

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2547

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged openbooks, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ, ปกป้อง จันวิทย์, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์สถาบัน, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

Post Washington Consensus

Posted on August 30, 2014October 3, 2014 by pokpong

เมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างหนัก อันเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของการทำงานของตลาดการเงิน ซึ่งทำงานอยู่บนฐานของความโลภส่วนตน แต่ไร้ซึ่งการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยโครงสร้างสิ่งจูงใจที่บิดเบือน (Moral Hazard) และผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้ตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีประสิทธิภาพเหมือนดังคำทำนายของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐาน

ผู้คนทั่วโลกตั้งคำถามท้าทาย “ฉันทมติแห่งวอชิงตัน” อย่างหนักหน่วง ในฐานะปัจจัยสำคัญที่นำพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤตรุนแรง เกิดกระแสด้านกลับต่อฉันทมติแห่งวอชิงตัน เช่น การเรียกร้องระบบกำกับดูแลตลาด โดยเฉพาะตลาดการเงิน เพื่อจัดการกับปัญหาผลกระทบภายนอกด้านลบ (Negative Externalities) ที่เกิดจากตลาดการเงิน โดยไม่ให้การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม รวมถึง การสนับสนุนบทบาทของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการจ้างงานเป็นสำคัญ เป็นต้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged ฉันทมติวอชิงตัน, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, วิกฤตเศรษฐกิจโลก, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่

Posted on August 30, 2014October 7, 2014 by pokpong

เมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างหนัก อันเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของการทำงานของตลาดการเงิน ซึ่งทำงานอยู่บนฐานแห่งความโลภส่วนตน แต่ไร้ซึ่งการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยโครงสร้างสิ่งจูงใจที่บิดเบือน และผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้ตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเหมือนดังคำทำนายของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐาน ผู้คนทั่วโลกจึงเริ่มตั้งคำถามท้าทาย “ฉันทมติแห่งวอชิงตัน” อย่างหนักหน่วง ในฐานะปัจจัยสำคัญที่นำพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤตรุนแรง และเกิดกระแสด้านกลับต่อฉันทมติแห่งวอชิงตัน เช่น การเรียกร้องระบบกำกับดูแลตลาด โดยเฉพาะตลาดการเงิน การสนับสนุนบทบาทของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการจ้างงานเป็นสำคัญ เป็นต้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged BRICs, G-20, ฉันทมติวอชิงตัน, ซับไพรม์, นิตยสาร ค คน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก, รัฐ, วิกฤตเศรษฐกิจโลก, เศรษฐกิจ, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

ไอเอ็มเอฟกับมาตรการควบคุมทุน

Posted on August 30, 2014October 7, 2014 by pokpong

ไอเอ็มเอฟยืนอยู่ข้างฝ่ายสนับสนุนการเปิดเสรีการเงินและต่อต้านมาตรการควบคุมทุนอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกระทั่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หมุดหมายสำคัญในสายธารแห่งการถกเถียงเรื่องการเปิดเสรีการเงินก็ถูกปักลง เมื่อไอเอ็มเอฟตีพิมพ์ ‘บันทึกจุดยืนของทีมเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟ’ (IMF Staff Position Note) ซึ่งมีเนื้อหาหลักดังที่หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลพาดหัวข่าวในเวลาต่อมาว่า “ไอเอ็มเอฟแนะนำให้ประเทศเศรษฐกิจใหม่ใช้มาตรการควบคุมทุน”

ในบันทึกฉบับนั้น ไอเอ็มเอฟยอมรับว่า มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ “มาตรการควบคุมทุน” (Capital Controls) ควรถูกนับรวมเป็นหนึ่งใน ‘ชุดเครื่องมือ’ อัน ‘ชอบธรรม’ ที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่สามารถหยิบมาใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ เฉกเช่นเดียวกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ และการกำกับดูแลระบบการเงินภายในประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์ให้การยอมรับเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว

ท่าทีดังกล่าวถือเป็นการ ‘กลับหลังหัน’ ด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศของไอเอ็มเอฟครั้งสำคัญ เพราะแต่เดิมมีทีท่าปฏิเสธมาตรการควบคุมทุนอย่างแข็งขันมาโดยตลอด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged capital controls, IMF, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การเคลื่อนย้ายเงินทุน, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, นิตยสาร ค คน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, มาตรการควบคุมทุน, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

ไอเอ็มเอฟกับการเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ

Posted on August 30, 2014October 7, 2014 by pokpong

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ ‘ไอเอ็มเอฟ’ เป็นป้อมปราการสำคัญของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ ไอเอ็มเอฟมีบทบาทในการผลิตสร้าง สนับสนุน และผลักดันนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ไปยังประเทศกำลังพัฒนาตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

นโยบายหลักซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายเสรีนิยมใหม่คือ การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ (Financial Liberalization) หรือการเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalization) ซึ่งหมายถึง การทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น พันธบัตร เงินตราต่างประเทศ เงินฝาก เงินกู้ ตราสารอนุพันธ์ รวมถึงเงินลงทุน ดำเนินไปอย่างเสรีตามกลไกตลาด ลดการกำกับควบคุมโดยรัฐ และยกเลิกข้อจำกัดและกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศอย่างเสรี

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged IMF, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, การเคลื่อนย้ายเงินทุน, การเงินระหว่างประเทศ, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, ฉันทมติวอชิงตัน, นิตยสาร ค คน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment

ความเห็นหนึ่งถึงปัญหาบาทแข็ง

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

เมื่อก่อนคนมักเข้าใจว่า นโยบายส่งเสริมการส่งออกไปด้วยกันได้ดีกับนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน แต่ปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงความขัดกันของสองนโยบายนี้ กล่าวคือเงินทุนที่ไหลเข้ามาก ทำให้ค่าเงินแข็ง และกระทบภาคส่งออก มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อกัน

โจทย์สำคัญที่ต้องคิดกันก็คือ ถ้าประเทศไทยจะยังยึดกุมยุทธศาสตร์ส่งออกเพื่อการพัฒนาต่อไป เราควรจะมีท่าทีอย่างไรต่อการไหลเข้าของเงินระหว่างประเทศ ถ้าเราปล่อยให้ทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี เราก็ต้องรับผลกระทบจากความผันผวนไร้เสถียรภาพจากระบบการเงินโลก ซึ่งประสบการณ์ในขณะนี้ชี้ชัดว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเงิน ในค่าเงินนั้นกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงด้วย ผลกระทบไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แต่ในภาคการเงินหรือตัวแปรที่เป็นตัวเงินเท่านั้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged การส่งออก, การเงินระหว่างประเทศ, ค่าเงินบาท, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, อัตราดอกเบี้ย, เศรษฐกิจมหภาค, เสรีนิยมใหม่ Leave a comment
  • 1
  • 2
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back