รู้ข่าวบ้านสีฟ้ากลายเป็นกองเศษไม้แล้วใจหายวาบ
บ้านเลขที่ 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300 แห่งนี้ เป็นโรงเรียนสอนทำหนังสือของผมและพี่น้องผองเพื่อนอีกมากมาย พวกเราผ่านโรงเรียน open ที่มีครูใหญ่ (หรือหัวโจก) ชื่อ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
รู้ข่าวบ้านสีฟ้ากลายเป็นกองเศษไม้แล้วใจหายวาบ
บ้านเลขที่ 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300 แห่งนี้ เป็นโรงเรียนสอนทำหนังสือของผมและพี่น้องผองเพื่อนอีกมากมาย พวกเราผ่านโรงเรียน open ที่มีครูใหญ่ (หรือหัวโจก) ชื่อ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีสัญญาณหลายอย่างที่ชี้ชัดว่า อาณาจักรทักษิณกำลังเดินเครื่องทำลายตัวเอง
ปัจจัยที่น่ากลัวที่สุดที่คุกคามการอยู่รอดของอาณาจักรใดก็ตาม คือการทำลายตัวเองจากภายใน (self-destruction) หาใช่ภัยคุกคามจากภายนอก แต่อย่างใดไม่
อาณาจักรทักษิณกำลังเดินเครื่องทำลายตัวเอง โดยมีคุณทักษิณรับบทเป็นผู้ทำลายล้างด้วยตัวเอง ทั้งที่อีกภาคหนึ่งเป็นผู้สร้างอาณาจักรนี้ขึ้นมาด้วยสองมือ กระบวนการก่อร่างสร้างอาณาจักรทักษิณด้วยวิถีทางแบบทักษิณ และควบคุมบริหารจัดการมันด้วยระบบคุณค่าและมาตรฐานทางจริยธรรมแบบทักษิณ เป็นเชื้อเพลิงในการทำลายล้างที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง
ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงที่นายกรัฐมนตรีใช้เงินในงบประมาณหรือเงินนอกประมาณเข้าซื้อหุ้น เพราะไม่ว่าจะใช้เงินของรัฐส่วนใด ย่อมสูญเสียโอกาสในการใช้เงินก้อนนั้นในการทำกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์และจำเป็นมากกว่า ต้นทุนของการซื้อทีมฟุตบอลจึงมิใช่แค่รายจ่ายที่ใช้ซื้อหุ้น หากต้องคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสเหล่านี้ด้วย
นายกรัฐมนตรีอ้างว่า การเข้าถือหุ้นสโมสรลิเวอร์พูลจะช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทย ผู้เขียนมองไม่เห็นความเป็นเหตุและผล และความเชื่อมโยงแม้แต่น้อยว่า การมีสโมสรฟุตบอลสัญชาติไทยอยู่ที่ต่างประเทศจะช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทยได้อย่างไร
การลงทุนครั้งนี้ใช้จำนวนเงินสูงยิ่ง ขณะที่ไม่มีหลักประกันเลยว่า คุณภาพวงการฟุตบอลไทยจะสูงขึ้นจริง ความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลต่างประเทศกับการพัฒนาวงการฟุตบอลไทยเลือนรางแทบมองไม่เห็น
กกต. ทำตัวเป็นเทวดาที่มีนิ้วเพชร มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายผู้สมัคร แทนที่จะให้นิ้วเพชรนี้อยู่กับประชาชน
การแข่งขันด้านนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง จึงไม่มีความสำคัญเท่าการระมัดระวังตัว ไม่ให้ผิด “กฎศักดิ์สิทธิ์” ของกกต. การเลือกตั้งได้เพิ่มระดับของการแข่งขันกันทาง “เทคนิค” ผู้หาช่องว่างของกฎระเบียบได้เก่งกว่าคือผู้ชนะ การแข่งขันเชิงนโยบายระหว่างตัวผู้สมัครถูกลดทอนคุณค่าลง
คุณสมบัติของนักการเมืองที่ดีในปัจจุบัน จึงมิใช่เฉพาะการพูดจาปราศรัยเก่ง การขยันลงพื้นที่ หากต้องทำตัวเป็นนักสืบ เพื่อดูพฤติกรรมฝ่ายตรงข้ามว่าเพลี่ยงพล้ำต่อ “กฎศักดิ์สิทธิ์” ของกกต.ข้อใดบ้าง ที่สำคัญ ต้องมีนิสัยเป็น “เด็กขี้ฟ้อง”
รัฐบาลในสังคมประชาธิปไตยมีที่มาจากมติของสังคมส่วนรวม รัฐบาลได้รับมอบหมายจากประชาชนให้มาเป็น “ตัวแทน” ช่วยดูแลสังคมผ่านระบบการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีหาใช่ “เจ้าของ” ประเทศ และประเทศไทยก็มิใช่ “บริษัท” ที่นายกรัฐมนตรีนึกจะทำอะไรได้เบ็ดเสร็จตามใจฉัน แม้จะเห็นว่าทิศทางของตนเป็นประโยชน์กับสังคมโดยปราศจากผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนพวกพ้อง (ซึ่งเถียงกันได้ว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่) ก็ตาม
หากนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของสังคมในช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องแลกเปลี่ยนถกเถียงกับสังคมอย่างเปิดเผย โปร่งใส หาใช่ทึกทักและมุบมิบทำตามความต้องการส่วนตนและส่วนพรรค โดยอ้างเพียงว่าประชาชนได้มอบอำนาจมาให้แล้ว
คำถามสำคัญก็คือ เราจะสามารถเพิ่มระดับความเป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจ โดยไม่บั่นทอนประสิทธิภาพลงได้หรือไม่ นั่นคือ จะออกแบบนโยบายกระจายทรัพยากรใหม่อย่างไร ในทางที่ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยพร้อมกัน
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อย พยายามเสนอ “ทางเลือก” ในการจัดสรรทรัพยากรหลายรูปแบบ โดยพยายามก้าวข้ามข้อจำกัดของ “ตลาด” และ “รัฐ” เนื่องจาก ทั้งคู่ต่างมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน บางคนให้ความสำคัญกับ “ชุมชน” บางคนเสนอระบบวางแผนจากส่วนกลางที่เป็นประชาธิปไตย บางคนเสนอระบบสังคมนิยมแบบตลาด
Samuel Bowles กับ Herbert Gintis แห่ง University of Massachusetts – Amherst เสนอข้อเสนอว่าด้วยการกระจายทรัพยากรใหม่เพื่อความเป็นธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพด้วยในขณะเดียวกัน ในบทความเรื่อง “Effecient Redistribution: New Rules for Communities, States, and Markets”
คำประกาศของ Ford นับเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาผลประโยชน์ขัดกันข้างต้นของนายจ้าง นอกเหนือจากวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือจ่ายโบนัสตามผลงาน การใช้ระบบแบ่งปันกำไรให้ลูกจ้าง และการประเมินผลงานเพื่อต่อสัญญา
การจ่ายค่าจ้างให้สูงกว่าระดับขั้นต่ำที่แรงงานพึงได้ (ระดับค่าจ้างทางเลือกของเขา) ในแง่หนึ่ง ดูเหมือนว่านายจ้างจะเสียประโยชน์ ในขณะที่ลูกจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสเก็บเกี่ยวส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) แต่ในอีกมุมหนึ่ง ส่วนเกินทางเศรษฐกิจดังกล่าวสะท้อนระดับ “อำนาจ” ของนายจ้างเหนือลูกจ้าง
ส่วนเกินนี้เสมือนเป็นเครื่องบังคับทางอ้อมให้ลูกจ้างต้องขยันทุ่มเททำงานหนัก เพื่อรักษางานนี้ไว้ เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่างานอื่นๆ ความขยันทำงานหนักของลูกจ้างส่งประโยชน์ให้นายจ้างในบั้นปลาย
แม้จะไม่รู้คำนิยามในใจของแท็กซี่คนนั้น แต่ผมคิดว่า “คนอย่างพวกผม” มีจำนวนไม่น้อยในสังคมเศรษฐกิจไทย พบเจอได้ไม่ยากตามโรงงานหรือเขตงานก่อสร้าง
เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่ถูกไล่ออกเป็นลำดับแรก ยามเศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจล้มละลาย เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อความอยู่รอดของนายทุน
เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่ถูกยื่นซองขาวให้ออกจากงาน ยามเศรษฐกิจฟื้นตัว เพื่อแลกกับประสิทธิภาพในการผลิตที่มาพร้อมกับเครื่องจักรนำเข้าที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสะสมทุน
เป็น “คนอย่างพวกผม” ที่อุทิศตนอย่างไม่เต็มใจ เพื่อเป็นประจักษ์พยานให้นายกรัฐมนตรีสำเหนียกว่า ยังมีคนบางกลุ่มที่ไร้อำนาจต่อรองอย่างสิ้นเชิง จนต้องตกอยู่ในฐานะ “เหยื่อ” ของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะดีหรือเลว
คำถามที่สำคัญก็คือ การตรึงค่าแรงต่ำและกดระดับสวัสดิการเพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาคเอกชน และเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในระยะยาวเพียงใด เมื่อเทียบกับการเลือกเส้นทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น นอกจากต้นทุนทางสังคมจากยุทธศาสตร์กดค่าแรงต่ำ และช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หากประเทศเลือกแข่งกับประเทศอื่นด้วยการ “ขายของถูก” แทนที่จะ “ขายของดีและเด่น” ก็ย่อมมีประเทศที่ยากจนกว่าหรือมีแรงงานมากกว่าสามารถขายของที่ถูกกว่าได้ เช่น จีน เวียดนาม ที่ค่าแรงต่ำกว่าไทย เมื่อนั้นไทยย่อมสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเช่นกัน
การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นวิถีทางที่มีเป้าหมายบั้นปลายเพื่อให้คนในสังคมอยู่ดีมีสุขมากขึ้น แต่หาก “กระบวนการ” ที่นำมาซึ่งการเติบโตต้องแลกด้วยการลงโทษกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสกว่าโดยเปรียบเทียบอย่างแรงงานที่อยู่ได้ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ คำถามที่ตามมาก็คือ จะถือว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจยังประโยชน์อยู่อีกได้อย่างไรและเป็นไปเพื่อใคร ในเมื่อบนเส้นทางแห่งการเติบโตต้องบั่นทอนเป้าหมายบั้นปลายแห่งการเติบโตนั้น ซึ่งก็คือ สังคมที่คนอยู่ดีมีสุข ไม่ใช่สังคมที่นายทุนหรือชนชั้นกลางอยู่ดีมีสุข แต่คนจนต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญ
ไม่ใช่แค่สื่อทางเลือกที่อยู่ยาก แต่ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ถูกพัดพาตามกระแสสังคมหรือกระแสทุน คนที่ยืดหยัดเพื่อต่อสู้ยึดมั่นในสิ่งที่ตนเชื่อ ก็อยู่อย่างยากลำบากในสังคมนี้
นอกจากให้กำลังใจกันเองแล้ว เราจะช่วยกันทำอะไรได้มากกว่านี้บ้าง? จะสร้างเครือข่ายของเหล่าชนกลุ่มน้อยที่ไม่เดินตามรอยกระแสหลักอย่างไร?
จะหาที่ยืนตรงไหนในสังคมที่ไร้วัฒนธรรมเรียนรู้ …