อ่านความคิดของอาจารย์ป๋วยแล้ว จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่าน คือมหาวิทยาลัยที่มีความชอบธรรม อันเป็นเรื่องเดียวกับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ(สันติ)ประชาธรรม ซึ่งท่านนิยามว่า “ธรรมเป็นอำนาจ ไม่ใช่อำนาจเป็นธรรม และธรรมเกิดจากประชาชน … อำนาจสูงสุดมาจากธรรมของประชาชน … ทั้งหมู่” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ, 2515) มิใช่จากเผด็จการผู้ทรงธรรมแต่อย่างใด
way to read!
อ่าน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ พิศผู้หญิงในชีวิตของ ‘สันติวิธี’
สำหรับปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ “พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของสันติวิธี” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวใจสำคัญคือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”
อ่าน คอร์รัปชั่น ประชาธิปไตย และสังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง
คอร์รัปชั่นจึงเป็นปัญหาทางการเมืองเรื่องความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจ และความอยุติธรรมทางสังคม สาเหตุเชิงโครงสร้างของคอร์รัปชั่นมาจากโครงสร้างและระบอบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจ ดังนั้น ในด้านหนึ่ง การร้องหาคนดีเพียงเท่านั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมองเชิงโครงสร้างและระบบโดยไปไกลกว่าเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคล ในอีกด้านหนึ่ง คอร์รัปชั่นก็มิได้เป็นแค่ปัญหาเชิงเทคนิค มิได้มีแค่มิติทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราหวังพึ่งเทคโนแครตมาออกแบบระบบที่ดีแล้วหวังว่าปัญหาจะหมดสิ้นก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง เช่น การต่อสู้เชิงวาทกรรม และความชอบธรรมเชิงอำนาจของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นด้วย
อ่าน การเมืองเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคนทั่วไปอาจจะคุ้นกับชื่อ ’30 บาท รักษาทุกโรค’ มากกว่า ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ช่วยเหลือทุกคนอย่างถ้วนทั่ว เพราะมันเปลี่ยนสถานะของบริการสาธารณสุขจาก ‘สินค้า’ (ในระบบตลาดที่คนมีเงินเท่านั้นที่เข้าถึงได้) หรือ ‘ส่วนบุญ’ (ในระบบสังคมสงเคราะห์ที่ต้องพกบัตร ต้องจน ต้องถูกแบ่งแยกกดต่ำ ต้องแสดงให้เห็นว่าตน ‘ด้อย’ กว่าจึงจะได้รับความช่วยเหลือ) ให้เป็น ‘สิทธิ์’ ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
เป็น ‘สิทธิ์’ ที่ไม่ต้องร้องขอ และไม่ต้องรอให้ใครอนุมัติก่อน
อ่าน ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย
การแก้ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาด้วยการตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักเรียนอาชีวะเพียงลำพังยังไม่ใช่ทางออกในตัวเอง หากเราต้องการยกระดับคุณภาพของระบบอาชีวะให้เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนได้จริงก็จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณ ต้องเพิ่มการลงทุนครุภัณฑ์ทางการศึกษา ต้องเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว และต้องเพิ่มจำนวนครูด้วย นอกจากนั้น การร่วมมือกับสถานประกอบการทางธุรกิจเพื่อจัดการศึกษาร่วมกันก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนักเรียนอาชีวะจะได้มีโอกาสเรียนรู้ในสถานประกอบการจริง ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในโลกการผลิตจริง
อ่าน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทัศนะว่าด้วยการศึกษา
อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มองว่าการศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา ‘แรงงาน’ ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษานั้นมีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไป
ส่วนตัวผมคิดเห็นเช่นเดียวกับ อ.ป๋วยว่าการศึกษาควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ว่า “การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสำคัญของนักเรียน … ทุกคนควรได้รับการศึกษาตามแต่ความถนัดของตนจน ‘สุดความสามารถ’ ของแต่ละคน” ทั้งนี้ เมื่อคนแต่ละคนได้รับการเติมเต็มศักยภาพของตนให้สุดทางที่ตนได้เลือกเองแล้ว คนคุณภาพเหล่านั้นย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพในที่สุด
อ่าน แนวทางปฏิรูประบบการศึกษาไทย 5 ด้าน
หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบการศึกษาอยู่ที่การสร้างระบบความรับผิดชอบ (accountability) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนควรเป็นหน่วยหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบการศึกษา 5 ด้านตามแนวทางดังกล่าว ได้แก่ (1) การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน (2) การปฏิรูประบบการวัดและประเมินผลการเรียน (3) การปฏิรูประบบการพัฒนาคุณภาพครู (4) การประเมินคุณภาพสถานศึกษา และ (5) การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา
อ่าน แนวทางปฏิรูประบบการศึกษาไทยโดยเสริมสร้างระบบความรับผิดชอบ
รายงานวิจัยเรื่อง “การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ” ของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ (2556) ชี้ว่า ใจกลางปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการขาด “ความรับผิดชอบ” (accountability) ของระบบการศึกษาตลอดทุกขั้นตอน ทั้งนี้ “ความรับผิดชอบ” หมายถึง พันธะผูกพันในหน้าที่ของคนหรือองค์กรต่อเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย โดยมีระบบที่ผู้มอบหมายสามารถประเมินและตรวจสอบผลงาน เพื่อให้รางวัลหรือลงโทษผู้ที่ได้รับมอบหมายงานได้
ในกรณีของระบบการศึกษา หัวใจสำคัญของการปฏิรูปเพื่อสร้างความรับผิดชอบคือ การทำให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนควรมีอิสระในการบริหารจัดการ และผู้ปกครองควรมีสิทธิเลือกโรงเรียนให้ลูกตามข้อมูลคุณภาพของโรงเรียนที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กล่าวคือ มีการส่งเสริมให้เกิดระบบ “ความรับผิดชอบสายสั้น” (short-route of accountability) หรือสายความรับผิดชอบระหว่าง “ผู้ปกครอง-โรงเรียน-ครู” โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล เพิ่มมากขึ้น
อ่าน ผลกระทบต่อต้นทุนแรงงานของ ‘นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท’
งานวิจัยของ ปกป้อง จันวิทย์ และพรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม (2556) ได้พยายามแสวงหาคำตอบส่วนหนึ่งต่อคำถามสำคัญที่แวดล้อมนโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย เช่น ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ต้นทุนแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำต่อต้นทุนแรงงานทั้งหมดและต้นทุนแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำต่อผลผลิตมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด และการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อต้นทุนแรงงานอย่างไร
อ่าน แพทยสภา
หากเราเชื่อว่ากลไกการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ที่เป็นทางการมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงรักษาผลประโยชน์สาธารณะ มิใช่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แล้ว การปฏิรูปแพทยสภาให้มีลักษณะเป็นกลไกกำกับดูแลร่วมเป็นสิ่งจำเป็น
ถ้ามีการออกแบบกลไกหรือสถาบันที่ดี ซึ่งมีความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นที่ยอมรับต่อกลไกกำกับดูแล และมีโอกาสสูงที่จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ถูกผลักเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมลดลง อันเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- 1
- 2