Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

way

:: 2558 :: บุคคลแห่งปี ::

Posted on January 2, 2016 by pokpong

ภาพนี้เป็นภาพแห่งปีของผมครับ

ถ้าผมจำไม่ผิด ภาพนี้ถ่ายโดยนักศึกษาฝึกงานของประชาไท ที่ออฟฟิศประชาไท ช่วงเดือนกันยายน 2558 ในภาพประกอบด้วย “คนทำงาน” สังกัดประชาไท, way, ป่าสาละ, iLaw, Thai Netizen Network, openworlds และ The 101%

มองดูภาพนี้ทีไร มันรู้สึกสัมผัสถึง “พลังงาน” บางอย่างอัดแน่นอยู่ในนั้น

Posted in บทความ, บล็อก Tagged 2558, iLaw, openworlds, thai netizen network, the 101%, way, การเมืองภาคประชาชน, บุคคลแห่งปี, ประชาไท, ป่าสาละ, แม่น้ำเจ็ดสาย Leave a comment

9 ways of Way

Posted on October 29, 2015November 1, 2015 by pokpong

ขอแสดงความยินดีกับ Way ในวาระก้าวสู่ปีที่ 10 ด้วยครับ

9 ปีที่ผ่านมาของ Way เป็นดังที่ ตุ่น-รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ บรรณาธิการคนปัจจุบัน เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ WAY#90 ว่า “เหยียบยืนได้เต็มเท้า มีเส้นทางให้เดิน และสามารถสบตากับตัวเองได้อย่างไม่ขัดเขิน” และเป็น 9 ปีที่เต็มไปด้วยผู้อ่านและผองเพื่อนยืนเคียงข้างตามรายทางมากมาย

อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร เขียนเรื่อง “เพื่อน” ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “เวลาพูดถึงเพื่อน เราไม่ควรใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย” ในฐานะที่ผมนับชนชาว way เป็นเพื่อน ผมขอบอกสั้นๆ ว่า “อิ่มใจและอุ่นใจ” มากครับ

อยากจบตรงนี้ จะได้ขลังและคมแบบอธิคม แต่ฉลอง 9 ปีทั้งที ผมว่าฟุ่มเฟือยกันบ้างก็ได้ (ฮา) เลยขออนุญาตฟุ่มเฟือยถ้อยคำต่อให้สมกับโอกาสอันเป็นมงคล เอาเป็นว่าผมขอบอกเล่าความคิดและความรู้สึกส่วนตัว 9 ประการต่อ way ไว้ตรงนี้สักนิด ในฐานะคนอ่านตั้งแต่เล่ม 1 จนถึง 90

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทความ, บทความรับเชิญ, บทอภิปราย Tagged 9 ปี นิตยสาร way, way, นิตยสาร, หนังสือ, อธิคม คุณาวุฒิ Leave a comment

อ่านใหม่ ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย

Posted on June 28, 2015June 28, 2015 by pokpong

อ่านความคิดของอาจารย์ป๋วยแล้ว จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่าน คือมหาวิทยาลัยที่มีความชอบธรรม อันเป็นเรื่องเดียวกับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ(สันติ)ประชาธรรม ซึ่งท่านนิยามว่า “ธรรมเป็นอำนาจ ไม่ใช่อำนาจเป็นธรรม และธรรมเกิดจากประชาชน … อำนาจสูงสุดมาจากธรรมของประชาชน … ทั้งหมู่” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ, 2515) มิใช่จากเผด็จการผู้ทรงธรรมแต่อย่างใด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การศึกษา, ความชอบธรรม, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, มหาวิทยาลัย, เสรีภาพ Leave a comment

อ่าน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ พิศผู้หญิงในชีวิตของ ‘สันติวิธี’

Posted on March 9, 2015March 10, 2015 by pokpong

สำหรับปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ “พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของสันติวิธี” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวใจสำคัญคือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การไม่ใช้ความรุนแรง, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ความรุนแรง, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ปาฐกถาป๋วย อึีงภากรณ์, สันติประชาธรรม, สันติวิธี Leave a comment

อ่าน คอร์รัปชั่น ประชาธิปไตย และสังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

Posted on December 6, 2014December 6, 2014 by pokpong

คอร์รัปชั่นจึงเป็นปัญหาทางการเมืองเรื่องความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจ และความอยุติธรรมทางสังคม สาเหตุเชิงโครงสร้างของคอร์รัปชั่นมาจากโครงสร้างและระบอบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจ ดังนั้น ในด้านหนึ่ง การร้องหาคนดีเพียงเท่านั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมองเชิงโครงสร้างและระบบโดยไปไกลกว่าเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคล ในอีกด้านหนึ่ง คอร์รัปชั่นก็มิได้เป็นแค่ปัญหาเชิงเทคนิค มิได้มีแค่มิติทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราหวังพึ่งเทคโนแครตมาออกแบบระบบที่ดีแล้วหวังว่าปัญหาจะหมดสิ้นก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ต้องคำนึงถึงมิติทางการเมือง เช่น การต่อสู้เชิงวาทกรรม และความชอบธรรมเชิงอำนาจของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged marc saxer, way, way to read!, การสร้างประชาธิปไตย, การเปลี่ยนผ่าน, การเมือง, คอร์รัปชั่น, นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประชาธิปไตย, วัฒนธรรม, วิกฤตการณ์การเมือง, เศรษฐศาสตร์การเมือง Leave a comment

อ่าน การเมืองเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Posted on September 2, 2014September 8, 2014 by pokpong

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคนทั่วไปอาจจะคุ้นกับชื่อ ’30 บาท รักษาทุกโรค’ มากกว่า ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ช่วยเหลือทุกคนอย่างถ้วนทั่ว เพราะมันเปลี่ยนสถานะของบริการสาธารณสุขจาก ‘สินค้า’ (ในระบบตลาดที่คนมีเงินเท่านั้นที่เข้าถึงได้) หรือ ‘ส่วนบุญ’ (ในระบบสังคมสงเคราะห์ที่ต้องพกบัตร ต้องจน ต้องถูกแบ่งแยกกดต่ำ ต้องแสดงให้เห็นว่าตน ‘ด้อย’ กว่าจึงจะได้รับความช่วยเหลือ) ให้เป็น ‘สิทธิ์’ ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

เป็น ‘สิทธิ์’ ที่ไม่ต้องร้องขอ และไม่ต้องรอให้ใครอนุมัติก่อน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged 30 บาท รักษาทุกโรค, way, way to read!, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ปฏิรูป, ประชาธิปไตย, ประชาสังคม, สวัสดิการสังคม, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, เผด็จการ Leave a comment

อ่าน ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย

Posted on September 2, 2014September 8, 2014 by pokpong

การแก้ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาด้วยการตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักเรียนอาชีวะเพียงลำพังยังไม่ใช่ทางออกในตัวเอง หากเราต้องการยกระดับคุณภาพของระบบอาชีวะให้เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนได้จริงก็จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณ ต้องเพิ่มการลงทุนครุภัณฑ์ทางการศึกษา ต้องเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว และต้องเพิ่มจำนวนครูด้วย นอกจากนั้น การร่วมมือกับสถานประกอบการทางธุรกิจเพื่อจัดการศึกษาร่วมกันก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนักเรียนอาชีวะจะได้มีโอกาสเรียนรู้ในสถานประกอบการจริง ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในโลกการผลิตจริง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การศึกษา, ทุนมนุษย์, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ปฏิรูปการศึกษา, ระบบอาชีวศึกษา, อาชีวะ, เศรษฐกิจไทย Leave a comment

อ่าน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทัศนะว่าด้วยการศึกษา

Posted on September 2, 2014March 30, 2015 by pokpong

อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มองว่าการศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา ‘แรงงาน’ ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษานั้นมีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไป

ส่วนตัวผมคิดเห็นเช่นเดียวกับ อ.ป๋วยว่าการศึกษาควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ว่า “การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสำคัญของนักเรียน … ทุกคนควรได้รับการศึกษาตามแต่ความถนัดของตนจน ‘สุดความสามารถ’ ของแต่ละคน” ทั้งนี้ เมื่อคนแต่ละคนได้รับการเติมเต็มศักยภาพของตนให้สุดทางที่ตนได้เลือกเองแล้ว คนคุณภาพเหล่านั้นย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพในที่สุด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การพัฒนาศักยภาพ, การศึกษา, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ปฏิรูปการศึกษา, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ผลิตภาพ Leave a comment

อ่าน แนวทางปฏิรูประบบการศึกษาไทย 5 ด้าน

Posted on September 2, 2014October 1, 2014 by pokpong

หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบการศึกษาอยู่ที่การสร้างระบบความรับผิดชอบ (accountability) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนควรเป็นหน่วยหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบการศึกษา 5 ด้านตามแนวทางดังกล่าว ได้แก่ (1) การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน (2) การปฏิรูประบบการวัดและประเมินผลการเรียน (3) การปฏิรูประบบการพัฒนาคุณภาพครู (4) การประเมินคุณภาพสถานศึกษา และ (5) การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, การศึกษา, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ปฏิรูประบบการวัดและประเมินผลการศึกษา, ปฏิรูประบบการเงิน, ปฏิรูประบบประเมินคุณภาพสถานศึกษา, ปฏิรูประบบพัฒนาคุณภาพครู, ปฏิรูปหลักสูตร Leave a comment

อ่าน แนวทางปฏิรูประบบการศึกษาไทยโดยเสริมสร้างระบบความรับผิดชอบ

Posted on September 2, 2014September 8, 2014 by pokpong

รายงานวิจัยเรื่อง “การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ” ของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ (2556) ชี้ว่า ใจกลางปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการขาด “ความรับผิดชอบ” (accountability) ของระบบการศึกษาตลอดทุกขั้นตอน ทั้งนี้ “ความรับผิดชอบ” หมายถึง พันธะผูกพันในหน้าที่ของคนหรือองค์กรต่อเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย โดยมีระบบที่ผู้มอบหมายสามารถประเมินและตรวจสอบผลงาน เพื่อให้รางวัลหรือลงโทษผู้ที่ได้รับมอบหมายงานได้

ในกรณีของระบบการศึกษา หัวใจสำคัญของการปฏิรูปเพื่อสร้างความรับผิดชอบคือ การทำให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนควรมีอิสระในการบริหารจัดการ และผู้ปกครองควรมีสิทธิเลือกโรงเรียนให้ลูกตามข้อมูลคุณภาพของโรงเรียนที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กล่าวคือ มีการส่งเสริมให้เกิดระบบ “ความรับผิดชอบสายสั้น” (short-route of accountability) หรือสายความรับผิดชอบระหว่าง “ผู้ปกครอง-โรงเรียน-ครู” โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล เพิ่มมากขึ้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged accountability, way, way to read!, การศึกษา, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ปฏิรูปการศึกษา, ระบบความรับผิดชอบ Leave a comment
  • 1
  • 2
  • 3
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back