รายละเอียด: รวมบทบรรยายและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ผู้บรรยายและสัมภาษณ์: กอบศักดิ์ ภูตระกูล สฤณี อาชวานันทกุล ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: มิถุนายน 2552
รายละเอียด: รวมบทบรรยายและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ผู้บรรยายและสัมภาษณ์: กอบศักดิ์ ภูตระกูล สฤณี อาชวานันทกุล ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: มิถุนายน 2552
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ – สัมภาษณ์
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะรับมืออย่างไร และเมื่อทุนนิยมโลกตกหล่มอีกหน นักวิชาการที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์จะอธิบายที่มา และการปรับตัวอย่างไร
เกษียร เตชะพีระ จะมาให้ข้อคิดเห็นด้วยมุมมองทางรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์
และมันน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเสียงเสียงนี้ ไม่ใช่เสียงของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก–เสียงที่ผูกขาดการอธิบายสภาพเศรษฐกิจในสังคมไทยเสมอมา
“ทางออกที่หวังพึ่งตะวันตกให้เป็นแหล่งบริโภคของโลกมันพึ่งไม่ได้แล้ว ทิศทางที่จะไปต่อคือการหันมาเน้นตลาดในประเทศ การกระจายรายได้ให้เสมอภาคมากขึ้น และสร้างรัฐสวัสดิการรองรับคนในสังคม ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยพลังการเมือง แต่ประชาธิปไตยแบบที่เรามี ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องรับใช้ประชาชน มันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตลอดมา” – เกษียร เตชะพีระ
วิกฤตการณ์การเงินรอบนี้เป็นประจักษ์พยานชี้ชัดว่า ตลาดการเงินเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้ทำงานบนฐานของความมีเหตุมีผล ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่สามารถดูแลจัดการแก้ปัญหาด้วยตัวกลไกตลาดเองได้ และเต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพและความไม่แน่นอน เช่นนี้แล้ว จึงจำเป็นต้องมีกลไกเชิงสถาบันเข้ามาร่วมกำกับดูแล ตรวจสอบ และจัดการตลาดการเงิน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรมและลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤตการณ์การเงิน พูดง่ายๆ คือ ต้องมีการออกแบบระบบกำกับดูแลภาคการเงินที่ดีนั่นเอง
เมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างหนัก อันเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของการทำงานของตลาดการเงิน ซึ่งทำงานอยู่บนฐานแห่งความโลภส่วนตน แต่ไร้ซึ่งการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยโครงสร้างสิ่งจูงใจที่บิดเบือน และผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้ตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเหมือนดังคำทำนายของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐาน ผู้คนทั่วโลกจึงเริ่มตั้งคำถามท้าทาย “ฉันทมติแห่งวอชิงตัน” อย่างหนักหน่วง ในฐานะปัจจัยสำคัญที่นำพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤตรุนแรง และเกิดกระแสด้านกลับต่อฉันทมติแห่งวอชิงตัน เช่น การเรียกร้องระบบกำกับดูแลตลาด โดยเฉพาะตลาดการเงิน การสนับสนุนบทบาทของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการจ้างงานเป็นสำคัญ เป็นต้น