ประสบการณ์เจอ ‘ป๊อก’ ครั้งแรก
บล็อก
อ่าน-คิด-เขียน
ตอนนี้เป็นช่วงเวลาเปิดเทอมใหม่ ผมสอนวิชาสังคมกับเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิชาพื้้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชานี้เป็นวิชาแห่งการอ่าน การคิด และการเขียน สำหรับนักศึกษาที่ยังไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบคิด ไม่ชอบเขียน ผมมีงานเขียน 2 ชิ้น ที่อยากชวนให้อ่านกันครับ ชิ้นแรกคือ “เขียนทำไม? เขียนอย่างไร?” ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทอภิปรายของอาจารย์สุวินัย ภรณวลัย อีกชิ้นหนึ่งคือ “ทำไมต้องอ่านอะไรยาวๆ” ของนิ้วกลม
อ่าน Rethinking Democracy ของ ดานี ร็อดริก
ผู้คนจำนวนมากในประเทศเหล่านั้นอาจเลือกทางผิด คิดว่าเผด็จการทหารเป็นทางออก พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็แอบชอบสนับสนุนให้ยกอำนาจการทำนโยบายสาธารณะให้เหล่าเทคโนแครตเสียเลยจะดีกว่า
ร็อดริกพยายามจะบอกเราว่า นั่นไม่ใช่ทางออก เพราะวิถีอำนาจนิยมเหล่านั้นบั่นทอนอนาคตของประชาธิปไตยในระยะยาว เหตุผลสำคัญคือ มันกั้นขวางการพัฒนา ‘วัฒนธรรม’ ที่สำคัญในการสร้างประชาธิปไตย นั่นคือ การประนีประนอมหาจุดร่วมแบบไม่สุดขั้วระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ ตราบเท่าที่ทหารมีอำนาจสูงสุด ประชาชนแต่ละกลุ่มจะมัวแต่คิดหาทางวิ่งเข้าหาหรือเอาชนะใจผู้มีอำนาจ แทนที่จะมุ่งต่อรอง แลกเปลี่ยน เอาชนะใจประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วยกันเอง
บ่นถึง กสทช. กรณีวิวาทะระหว่าง กสทช.กับ NBTC policy watch
กสทช.เป็นองค์กรสำคัญมากนะครับ ถ้าทำงานดีๆ จะช่วยปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปประชาธิปไตย และมีบทบาทคุ้มครองผู้บริโภคได้มากเลย คงไม่มีใครอยากเห็น กสทช.มุ่งแต่จะปิดกั้นสื่อ รับใช้รัฐบาลทหาร และเอาแต่คุ้มครองประโยชน์ของกลุ่มทุน
และการปกป้องตัวเองนี่ก็เอาแต่พองาม นิดๆ หน่อยๆ ก็พอครับ หันไปมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคมากๆ จะดีกว่า
เรา (รวมถึง กสทช.) น่าจะดีใจที่มีคนมาช่วยจับตาตรวจสอบเพื่อให้ กสทช.ทำงานได้ดีขึ้นนะครับ โครงการ NBTC Policy Watch พยายามทำงานนี้มาต่อเนื่องบนฐานวิชาการ ไม่ใช่วิจารณ์ด้วยอารมณ์ แต่การออกมาวิจารณ์หรือแถลงข่าวแต่ละครั้งมีงานวิจัยหนุนหลังทุกครั้งนะครับ และที่ผ่านมา จะจัดแถลงข่าวหรือสัมมนาเรื่องอะไรก็เชิญฝั่ง กสทช.ให้มาวิจารณ์กลับและแลกเปลี่ยนกันตลอด ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เปิดพื้นที่ให้ กสทช.ได้ชี้แจงบนเวทีสาธารณะที่โครงการจัดอย่างเต็มที่ ไม่มีการพูดจาแบบดิสเครดิตหรือตั้งหน้าตั้งตาด่า กสทช. ทางเดียว ถ้ามีเรื่องให้ชมได้ ก็ชมตลอด แต่มันไม่ค่อยจะมี