เรื่องเล่าว่าด้วย “รถป๋วย”
ธนาคารแห่งประเทศไทย
การสื่อสารสาธารณะกับความท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน
สนทนากับกองบรรณาธิการ BOT พระสยาม MAGAZINE เรื่องการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ โดยเฉพาะความท้าทายขององค์กรภาครัฐเกี่ยวกับการสื่อสารความรู้
15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน – อัมมาร สยามวาลา
ในวาระครบรอบ 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ปกป้อง จันวิทย์ ชวน อัมมาร สยามวาลา เขียนประวัติศาสตร์วิกฤตต้มยำกุ้ง และตอบคำถามว่า 15 ปี ผ่านไป สังคมเศรษฐกิจไทย ไล่เรียงตั้งแต่สถาบันการเงิน ภาคเศรษฐกิจจริง ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาครัฐไทย นักการเมือง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จนถึงประชาชนคนเดินถนนทั่วไป เรียนรู้อะไร และปรับตัวอย่างไรหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ThaiPublica Forum ครั้งที่1 – “พ.ร.ก.โอนภาระหนี้กองทุนฟื้นฟู แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา?”
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดเสวนาในหัวข้อ “พ.ร.ก.โอนภาระหนี้กองทุนฟื้นฟู แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา” โดยมีวิทยากรได้แก่ นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและการคลัง (สวค.) นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และอดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) บมจ. ท่าอากาศยานไทย ดำเนินการเสวนาโดย นายปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความคิดเห็นต่อประเด็นข่าวเรื่องข้อเสนอในการนำเงินสำรองฯ มาใช้ลงทุน
สถานการณ์เช่นนี้ สังคมยิ่งต้องการความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของธนาคารกลางอย่างสูงยิ่ง เพื่อคานอำนาจกับรัฐบาล ที่อาจมุ่งหวังสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองให้ตัวเอง โดยละเลยผลเสียต่อประเทศในระยะยาว
การลิดรอนอำนาจทั้งทางกฎหมาย และทางปฏิบัติ ของธนาคารกลาง อาจส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในยุคที่ภาคการเมืองขาดการกำกับและตรวจสอบอย่างเป็นอิสระทั้งจากรัฐสภา องค์กรอิสระ และภายในตัวกระบวนการกำหนดนโยบายเอง
ข้อถกเถียงเรื่องการนำทุนสำรองฯ ที่มากเกินไปมาใช้ลงทุน หรือข้อถกเถียงเรื่องการแยกอำนาจกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ออกจากธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากรัฐบาลเปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารกลางให้เป็นคนที่ตนสามารถควบคุมได้ สั่งการได้โดยง่าย
สองปรากฏการณ์แห่งอุดรธานี
ปรากฏการณ์พิทักษ์คลังหลวงอันมีฐานที่มั่นอยู่ที่อุดรธานีโดยเนื้อหาสาระแล้วแตกต่างอะไรกับปรากฏการณ์พิสูจน์สัมภเวสีที่ป่าคำชะโนดในจังหวัดเดียวกัน
ในเมื่อทั้งสองปรากฏการณ์ต่างอยู่ในบริบทของสังคมไทย ที่การใช้ “ปัญญา” มิอาจลงหลักปักฐานในระดับวัฒนธรรม หากเต็มไปด้วยความเชื่อแบบตามแห่ ความคิดแบบไม่มีเหตุมีผล และแยกแยะไม่ออกระหว่างแก่นกับกระพี้
ไม่น่าแปลกใจที่ไม่ว่าพระอรหันต์หรือผีเปรตต่างก็ตกเป็นเหยื่อของสังคมไทย และไม่น่าแปลกใจเช่นกันหากจะมีใครสักคนบอกว่าสังคมไทยตกเป็นเหยื่อของพระอรหันต์และผีเปรตได้ง่ายดายเหลือเกิน
ผลลุกลามจากวิกฤตการณ์การเงิน (Contagion Effects)
ปรากฏการณ์ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 ตอกย้ำความสำคัญของ “ผลลุกลามจากวิกฤตการณ์การเงิน” หรือที่นักเศรษฐศาสตร์ขนานนามว่า Contagion Effects ในการก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินในประเทศต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคได้เป็นอย่างดี หลังธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 วิกฤตการณ์การเงินได้แพร่กระจายลุกลามไปยังประเทศในเอเชียตะวันออก ไม่ว่าเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ฯลฯ ต่อมา แม้ประเทศที่อยู่ห่างไกลอย่างรัสเซีย บราซิล ตุรกี ฯลฯ ก็ยังติดเชื้ออย่างมิอาจหลีกพ้น