ไม่ว่าชีวิตของรัฐบุรุษหรือมหาโจรต่างมีบทเรียนสอนใจเราทั้งนั้น ชีวิตของคุณบรรหาร ศิลปอาชา ก็เช่นกัน ในฐานะผู้สนใจการเมือง ผมได้เรียนรู้บทเรียนหลายประการจากชีวิตทางการเมืองของคุณบรรหาร
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
‘เสรีประชาธรรม’ กับ ‘หมู่บ้านไทยเจริญ’
หลังจากที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 หลังจากเพิ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างนับสิบปีในปี 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2512 ซึ่งพรรคสหประชาไทยของท่านชนะเลือกตั้ง จอมพลถนอมก็เปลี่ยนสภาพจากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้ระบอบเผด็จการทหารตามความคุ้นชิน
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ลาไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ได้เขียนจดหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาฉบับหนึ่ง คือ จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เศรษฐศาสตร์สาร ฉบับชาวบ้าน (ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2515) ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้จอมพลถนอมเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว
โลกสีหม่น ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ท่ามกลางกระบวนการสร้าง “โลกสีขาว” เป็นของขวัญแก่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย ในวาระครบ 6 รอบ ก่อนล้างมือในอ่างทองคำ open พลิกแฟ้มข่าว พาผู้อ่านย้อนสำรวจเหตุการณ์ อาการ และอารมณ์ของสังคมไทย ในช่วงพฤศจิกายน 2539 ถึง พฤศจิกายน 2540
… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ “ชวลิต ยงใจยุทธ”
… ช่วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
… ช่วงเวลาที่ “โลก” ของพลเอกชวลิต และคนไทยทุกคน เปลี่ยนจากสีขาว … เป็นสีหม่น และหมองคล้ำ