อ่านผลงานสัมภาษณ์ชิ้นใหม่ๆ ของปกป้อง จันวิทย์ ได้ทาง The101.world
บทสัมภาษณ์
ก่อนและหลังชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัย
“ทั้ง 3 วงการ (วงการการเมือง วงการสื่อ วงการวิชาการ) มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีแก่นอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความจริง จะเข้าใจความจริงได้ก็ต้องอาศัยความรู้ นักวิชาการมีหน้าที่ค้นหาความจริง สร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายความจริงให้ได้ดีที่สุด ส่วนนักข่าวก็มีหน้าที่ค้นหาความจริงของสังคมเหมือนกัน งานข่าวสืบสวนสอบสวนก็คืองานวิจัยขนาดย่อมๆ นั่นเอง นักการเมืองจะกำหนดนโยบายได้ก็ต้องเข้าใจความจริงของสังคมและโลกก่อน จึงจะกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและปฏิรูปสังคมได้ ซึ่งตัวเราก็สนใจสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ก็อยู่ในตัวเรามาโดยตลอด”
พิษทักษิณ
รายละเอียด: ผลกระทบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมภายใต้ระบอบทักษิณ
ผู้ให้สัมภาษณ์: สุเมธ ตันติเวชกุล วิบูลย์ เข็มเฉลิม ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ พิภพ ธงไชย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ฉลาดชาย รมิตานนท์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: openbooks
ตีพิมพ์: เมษายน 2547
เล่มนี้ที่อยากดู: ย้อนรอยเสรีภาพด้วยหนัง
การร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาครั้งนั้นคือการออกแบบสถาบันที่น่าสนใจที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเลยนะครับ เป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองในขณะนั้น มีการต่อสู้ทางความคิดในที่ประชุม ต่อรองและชิงไหวชิงพริบทางการเมืองกันอย่างสนุกระหว่างตัวแทนต่างๆ ต้องใช้เวลากว่า 5 เดือนถึงจะร่างเสร็จ แล้วต้องส่งให้แต่ละรัฐให้การรับรอง ตามด้วยสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งพอผมได้อ่านหนังสือที่พูดถึงเรื่องพวกนี้อย่าง American Creation (2007) ของ Joseph Ellis, America’s Constitution: A Biography (2006) ของ Akhil Reed Amar แล้วก็ The Summer of 1787 (2007) ของ David Stewart ผมรู้สึกอยากเห็นหนังที่เล่าเหตุการณ์ช่วงนั้นมากๆ
25 ปี สารคดี: มิตรรัก สารคดี
เสน่ห์ของ สารคดี คือเป็นนิตยสารที่ไม่ได้ทำให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอ่าน อ่านแล้วไม่ค่อยเห็นตัวตนของคนทำ ไม่เหมือนหนังสือบางเล่มที่เห็นตัวตนของคนทำคับพองออกมา ตอบสนองแต่อุดมการณ์หรือความเชื่อของตัวเอง สารคดีพยายามรักษาสมดุล บอกเล่าความจริงแบบไม่ตัดสินไม่สั่งสอน ใจกว้างพอที่จะเคารพความเห็นที่แตกต่าง เราต้องการมาตรฐานแบบนี้ในวงการหนังสือ รวมถึงวงการวิชาการซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับความรู้
ไม่ว่าคนรุ่นไหน เด็กหรือแก่ ก็ต้องการความรู้กันทั้งนั้น ผมเชื่อว่าเวลาคนกระหายความรู้ สารคดี ก็ยังเป็นบ่อน้ำบ่อแรกๆ ที่คนนึกถึง … 25 ปีของ สารคดี จึงไม่ได้เป็นแค่ชีวิตของนิตยสารฉบับหนึ่ง แต่เป็นชีวิตของตลาดวิชาที่สำคัญแห่งหนึ่งของสังคมไทย
Open at heart
“On open lives on the energy of those making it,” he said.
“If the contributors and the web editor still have the energy to do it, and as long as we have regular updates, it will live on.
“I don’t think On Open will live forever but I believe it will evolve to suit the circumstances (of the society). If one day my energy runs dry, there may be someone new and younger who will step in to work on it. We will just let it grow naturally.”
Thaksinomics: The overated regime
ผมไม่เชื่อว่าคนทุกคนเป็นสัตว์เศรษฐกิจล้วนๆ ก็จริง แต่สำหรับคนเป็นนักการเมือง ยิ่งเคยโตมาจากการเป็นนักธุรกิจผูกขาดด้วยแล้ว คนแบบนี้มีแนวโน้มเป็นสัตว์เศรษฐกิจสูง เพราะเส้นทางชีวิตต้องอยู่กับสถาบันหรือกติกาที่หล่อหลอมให้คุณกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ และสำหรับสัตว์เศรษฐกิจแล้ว ถ้ามีโอกาสหาประโยชน์แล้วมันไม่มีวันพอ เพราะสัตว์เศรษฐกิจมีเป้าหมายเพื่อทำอย่างไรให้ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดหนึ่งๆ กรณีว่าด้วยพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ค่าโง่ไอทีวี และกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนของคุณทักษิณและกลุ่มชินอื่นๆ ที่งานวิจัยหลายชิ้นตีแผ่ สะท้อนให้เห็นพื้นฐานความเป็นสัตว์เศรษฐกิจของนายกทักษิณได้เป็นอย่างดี