วันนี้เชิญ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มาชวนนักศึกษาปีหนึ่งวิชา TU101 คุยเรื่อง ในนามความเป็น(ชาติ-คน)ไทย อ.ชาญวิทย์นำเสนอเรื่องชาติไทย คนไทย วัฒนธรรมไทย ฉบับรัฐ/ราช ผ่าน 3 ลัทธิชาตินิยมคือ ราชาชาตินิยมของรัชกาลที่ 6 (เน้นความจงรักภักดี) อำมาตยาเสนาชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (เน้นเชื้อชาติไทย) และชาตินิยมลูกผสมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา (ลัทธิจงรักภักดี+ลัทธิเชื้อชาติ+ลัทธิทหาร)
ประวัติศาสตร์
28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-14 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2530-2558)
22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วง 22 ปีแรก
อ่าน เศรษฐศาสตร์ ผ่าน เดือน บุนนาค
อาจารย์เดือนเป็นผู้มีบทบาทผลักดันให้มีการใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ในฐานะคำแปลของ ‘Economics’ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 และเคยเขียนความเห็นว่า “คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ที่ใช้อยู่ในบัดนี้เป็นคำที่ราชการรับรองแล้ว … และมีความหมายพิเศษ ไม่ใช่ตามตัวอักษร ปัญหาเรื่องศัพท์นี้จึงระงับไป” (เดือน บุนนาค, 2495, เศรษฐศาสตร์ภาคต้น (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 4)
ถึงกระนั้น ในหนังสือเล่มเดียวกัน อาจารย์เดือนได้กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการเลือกใช้คำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ ไว้ด้วยว่า “แต่ถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นวิชาเกี่ยวกับการหาความร่ำรวย ถ้าเข้าใจตามนี้ ขอบเขตการศึกษาจะแคบมากกว่า และอุดมคติของเศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นการจัดให้กำเนิดผลมากที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด มิใยว่าผู้ทำงานจะได้รับความทุกข์ยากลำบากอย่างไร” แต่ท่านก็ยังไม่เห็นด้วยกับการใช้คำอื่นแทนคำว่า ‘เศรษฐศาสตร์’ เช่น ทรัพยศาสตร์ เพราะ “ทรัพย์เป็นสิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์ แต่การที่จะได้ทรัพย์นั้นมา อาจทำให้คนอื่นๆ เดือดร้อน คำว่า ‘ทรัพยศาสตร์’ จึงยังไม่เหมาะสมแท้”
ประวัติศาสตร์ที่เป็นประชาธิปไตย
บ่อยครั้งที่เรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อาจมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์เล็กๆ โดยคนเล็กๆ ในสังคม
เกิดขึ้นเงียบๆ เพียงจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ กระเพื่อมขยายวงออกสู่ผู้คนในวงกว้าง จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกว้างขวางใหญ่หลวงระดับสังคมในบั้นปลาย
อย่าดูถูกพลังของคนเล็กๆ ธรรมดาๆ ที่มุ่งหวังที่จะทำสิ่งที่ดี แม้เขาเหล่านั้นจะเริ่มต้นด้วยตัวคนเดียวหรือมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์เพียงหยิบมือ ทำตัวดุจไม้ซีกงัดไม้ซุง หรือแม้เขาเหล่านั้นจะห่างไกลจากศูนย์กลางแห่งอำนาจในโครงสร้างระดับบนของสังคม ก็ตามที
การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และดีงามหลายครั้งไม่จำเป็นที่ต้องมี ‘อำนาจ’ เสียก่อน และไม่จำเป็นที่ต้องเริ่มต้นจาก ‘ผู้มีอำนาจ’