สำหรับปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ “พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของสันติวิธี” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวใจสำคัญคือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”
ปาฐกถาป๋วย อึีงภากรณ์
พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของ “สันติวิธี”
ชื่อหนังสือ: พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของ “สันติวิธี”
ผู้เขียน: ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
คณะบรรณาธิการ: ปกป้อง จันวิทย์ สิทธิกร นิพภยะ นภนต์ ภุมมา
ชวนอ่าน:
หัวใจสำคัญของปาฐกถานี้คือคำถามหลักที่ว่า บทบาทที่โดดเด่นของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจชีวิตของสันติวิธี? อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เลือกที่จะ ‘เล่นมายากล’ แสวงหาคำตอบมาสนทนากับเราด้วยการสำรวจชีวิตของ ‘สันติวิธี’ ผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้หญิงสี่คนที่ทำให้ “สันติวิธีมีชีวิตที่มีความหมายลึกล้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์”
ชวนอ่านปกหลัง:
บทบาทที่ดูจะโดดเด่นยิ่งของผู้หญิงส่งผลอย่างไรต่อการเข้าใจ(ชีวิตของ)สันติวิธี
เรื่องราวชีวิตของผู้หญิงสี่คนคือ Rankin, Sendler, Haidar และวนิดา ทำให้ชีวิตของ “สันติวิธี” เข้มแข็งแต่ว่าอ่อนโยนในเวลาเดียวกัน ฉลาดเฉลียวรู้จักเลี้ยวลดแต่ก็ยืนหยัดมั่นคง และที่สำคัญแวดล้อมอยู่ด้วยวิธีที่มองเห็นชีวิตและ “คนอื่น” แบบหนึ่ง อันเป็นฐานคิดสำคัญของแนวทางสันติวิธี/การไม่ใช้ความรุนแรง
ข้าพเจ้าคิดว่าได้แลเห็นทั้งภาพสี่ภารกิจของการทำงานสันติวิธี และคุณลักษณ์โดดเด่นสี่ประการของสันติวิธี คือ ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การยอมเสียสละ และการให้ความสำคัญกับชีวิตแม้เพียงชีวิตเดียว
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม 2558
หน้า: 224 หน้า
28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“28 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-14 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2530-2558)
22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์
“22 ปี ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์” พาผู้อ่านสำรวจเบื้องหลังและพลวัตของปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วง 22 ปีแรก