ในวันที่ 1 มกราคม 1990 ฮาเวลได้กล่าวผ่านสื่อกับประชาชนของเขา มันเป็นการนำเสนอข้อความที่น่าประหลาดใจในหลายๆ ด้าน มันไม่ใช่ข้อความของผู้ชนะ แต่เป็นประดุจการครุ่นคิดพิจารณาว่า ระบอบอันล้มละลายทางศีลธรรมพลอยทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย เขาบรรยายระบบที่กัดกร่อนคุณค่าและความรู้สึกของมนุษย์ ก่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนจำยอม ไม่มีหนทางต่อสู้ ที่แพร่หลายไปทั่ว มันเป็นข้อความที่ร่างขึ้นมาอย่างทรงพลัง และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างกว้างขวางกับระบอบเผด็จการอำนาจนิยมทั่วโลก
สุนทรพจน์
สุนทรพจน์ก้องโลก
ผู้แปล: โตมร ศุขปรีชา ปกป้อง จันวิทย์ และพลอยแสง เอกญาติ
ชวนอ่านปกหลัง:
“หนังสือเล่มนี้มีคำพูดดีๆ ของนักคิดที่มีความฝันจะสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้น อย่างสุนทรพจน์อันลือชื่อของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่ชื่อว่า I Have a Dream หรือสุนทรพจน์ของเนลสัน แมนเดลา
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น ‘คำพูด’ ที่ไม่ได้มีพลังงานในตัวมากพอจะทำให้ใบไม้ไหวหรือเทียนดับเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่าศักยภาพในความหมายของ ‘คำพูด’ เหล่านี้กลับท่วมท้นทบทวี กระทั่งทำให้โลก…อย่างน้อยก็โลกในบริบทหนึ่ง ณ กาลเวลาหนึ่ง ได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลอย่างไม่อาจหวนคืนได้” – โตมร ศุขปรีชา
สำนักพิมพ์: ปราณ
พิมพ์ครั้งแรก: มกราคม 2555
จอน เฟฟโร: เบื้องหลัง ‘เสียง’ ของโอบามา
การเขียนสุนทรพจน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นคนเขียนสุนทรพจน์ให้บรรดานักคิดนักเขียนด้วยแล้ว ยิ่งยากยิ่งเป็นทวีคูณ
อาชีพของเฟฟส์ไม่ใช่การเขียนเพื่อตัวเอง แต่เป็นการเขียนเพื่อเจ้านาย ความเป็นนักเขียนสุนทรพจน์อาชีพที่ดีจึงไม่ได้วัดกันที่การแต่งประโยคสวยหรูหรือถ้อยความชวนคิดแล้วยัดเยียดใส่ปากให้เจ้านายเป็นผู้ออกหน้าอ่านออกเสียง แต่นักเขียนสุนทรพจน์ที่ดีต้องรู้จัก ตัวตน บุคลิก ชีวิต ความคิด จิตใจ และอุดมการณ์ของเจ้านายอย่างทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขียนงานให้เสมือนออกมาจากความคิดและฝีมือของเจ้านาย ผลิตคำกล่าวที่เหมาะกับบุคลิกและฝีปากของผู้พูด อย่างไม่ขาดพร่องและไม่ล้นเกิน
ข้าพเจ้ามีความฝัน
28 สิงหาคม 1963 มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวสุนทรพจน์แห่งประวัติศาสตร์ ‘ข้าพเจ้ามีความฝัน’ เบื้องหน้าฝูงชนกว่า 250,000 คน ณ อนุสรณ์สถานลิงคอล์น กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
สุนทรพจน์ที่ต่อสู้กับ ‘ความจริง’ ด้วย ‘ความฝัน’ … ‘ความฝัน’ ที่ย้อนกลับไปเปลี่ยนโลก ‘ความจริง’ จากโหดร้าย สู่เสรีและยุติธรรม
ขอร่วมรำลึก 50 ปี แห่ง ‘ความฝัน’ ของ ดร.คิง ด้วย ‘ข้าพเจ้ามีความฝัน’ ภาคภาษาไทย ที่ผมแปลไว้สำหรับหนังสือ ‘สุนทรพจน์ก้องโลก’ (Speeches that changed the world)