ชวนอ่านชีวิตและความคิดของ Veblen ต้นธารความคิด “เศรษฐศาสตร์สถาบัน” กันครับ
เศรษฐศาสตร์สถาบัน
เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์
รายละเอียด: รวมบทความด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบันของคณาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เขียน: ทวี หมื่นนิกร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ สุวินัย ภรณวลัย สมบูรณ์ ศิริประชัย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ปัทมาวดี ซูซูกิ ชล บุนนาค อภิชาต สถิตนิรามัย ศุพฤติ ถาวรยุติการต์ ปกป้อง จันวิทย์
สำนักพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks
ตีพิมพ์: ตุลาคม 2552
แบบจำลองว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในตลาดแรงงานของซามูแอล โบลส์: แนวคิดและนัยต่อเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่
ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์
ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน ปกป้อง จันวิทย์ (บรรณาธิการ). 2552. เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ openbooks.
รายละเอียด: บทความนี้นำเสนอครั้งแรกในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลังตีพิมพ์ใน รัฐศาสตร์สาร 30 ปี เล่ม 4 (2552) หน้า 392-426.
คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ
ชวนอ่านปกหน้า:
ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและนโยบายเสรีนิยมใหม่ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน
ชวนอ่านปกหลัง:
“หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ ‘กังวล’ อย่างไม่ต้องสงสัยว่า ‘เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ ที่ร่ำเรียนทฤษฎีกันมาเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูง โดยละเลยปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น สามารถอธิบายความเป็นจริงของโลกและของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องหรือไม่” – วรากรณ์ สามโกเศศ
” ‘เศรษฐศาสตร์’ เป็นแค่วิธีคิดวิธีศึกษาโลกอย่างหนึ่งในหลายๆ วิธี เป็นแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์การคิดการเข้าใจโลกหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือการคิดการเรียนรู้เข้าใจโลกอื่นๆ มันมีประโยชน์และก็มีข้อจำกัดหรือกรอบของมัน มันช่วยให้คุณมองและยึดกุมอะไรบางอย่างชัดขึ้น มั่นคงแม่นยำขึ้น แต่มันก็ทำให้คุณมองบางอย่างรางเลือนไป ไม่อยู่ในโฟกัส” – เกษียร เตชะพีระ
สำนักพิมพ์: openbooks
พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2547
กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์สถาบัน
กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์สถาบันมีความเชื่อว่า “สถาบัน” ทั้งการจัดองค์กร (Organization) และกฎกติกา (Rules of the Game) ในสังคมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ในสังคม การศึกษามนุษย์และสังคมโดยละเลยการศึกษาด้านสถาบันนั้นไม่เพียงพอที่จะเข้าใจมนุษย์และสังคมได้อย่างถ่องแท้
ด้วยเหตุดังนี้ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านสถาบันอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และมิอาจละเลยได้ การละเลยปัจจัยด้านสถาบัน นอกจากจะทำให้การอรรถาธิบายว่าด้วยประพฤติกรรมและปรากฏการณ์ในสังคมไม่สมบูรณ์แล้ว ยังเป็นอุปสรรคในการแสวงหามรรควิธีในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอีกด้วย
ความเรียงว่าด้วยเศรษฐศาสตร์สองกระแส
ปรากฏการณ์ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ด้านหนึ่งนำมาซึ่งความมหัศจรรย์ใจและความน่าตื่นเต้นที่นักเศรษฐศาสตร์สามารถนำระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีแบบแผนชัดเจน มีความเป็นสากล สามารถทดสอบข้อมูลจากประจักษ์พยานข้อเท็จจริง สร้างทฤษฎี และทำนายผลในอนาคตได้ มาใช้อธิบายพฤติกรรมของคน บริษัท หรือสังคม ที่มีชีวิต มีวัฒนธรรม มีค่านิยม เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง และมีความสลับซับซ้อน อย่างเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ
แต่หากเรามองอีกด้านหนึ่ง ระดับความเป็นวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้นมิใช่ได้มาโดยมิต้องเสียต้นทุน หากต้องแลกมาด้วยการละเลยปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ เช่น ปัจจัยทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม หรือสถาบัน ซึ่งยากจะวัดค่าได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (แท้ที่จริงแล้ว ตัวแปรทางเศรษฐกิจก็ใช่จะวัดค่าได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าพอใจนัก) โดยทั่วไป นักเศรษฐศาสตร์มักกำหนดข้อสมมติให้ตัวแปรเหล่านี้ถูกกำหนดมาอยู่แล้ว และไม่เปลี่ยนแปลง ตัวแปรทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่ถูกให้น้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ
ตัวแปรหรือปัจจัยทางการเมือง สังคม หรือสถาบัน ดูจะกลายเป็นสิ่งแปลกแยก และไร้ที่ทางมากขึ้นในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐาน แม้ว่าเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เป็นสิ่งที่มิอาจแยกขาดจากกันก็ตาม