ชื่อหนังสือ: In the vertigo of change: How to resolve Thailand’s transformation crisis (สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน
ผู้เขียน: Marc Saxer
ชวนอ่าน:
กว่า 10 ปี ภายใต้วังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน? และสังคมไทยจะก้าวข้ามวิกฤตเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางออกดังกล่าวได้อย่างไร? หาคำตอบได้จากบทความทั้ง 9 ชิ้น อันเฉียบคมและชวนถกเถียงต่อในหนังสือเล่มนี้
1. บทนำ: ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย
2. ในวังวนแห่งการเปลี่ยนแปลง: เราจะคลี่คลายวิกฤตการเมืองได้อย่างไร?
3. ประเทศไทยจะก้าวข้ามวิกฤตการเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร?: ยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
4. เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้: หนทางสร้างการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อสังคมที่ดี
5. โทสะชนชั้นกลางคุกคามประชาธิปไตย
6. วาทกรรมการเมืองเชิงศีลธรรม ในฐานะอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
7. การต่อสู้กับคอร์รัปชันในสังคมเปลี่ยนผ่าน
8. ความฝันของสยามยามคณะรัฐประหารครองเมือง
9. บทส่งท้าย: การสร้างสังคมที่ดีในประเทศไทย
ชวนอ่านปกหลัง
– วิกฤตเปลี่ยนผ่าน –
ความขัดแย้งระยะเปลี่ยนผ่านคือความทุกข์จากความสำเร็จของตน เมื่อระเบียบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อความเป็นจริงใหม่ทางสังคม ในการข้ามพ้นวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ระเบียบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความซับซ้อน ความหลากหลาย และความขัดแย้งอันถาวรของสังคมพหุนิยมสมัยใหม่
– ประชาธิปไตย –
‘ประชาธิปไตยแบบหนา’ คือเกมที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีอยู่ ประชาธิปไตยที่ไม่มีการเลือกตั้งและการปกครองด้วยเสียงข้างมากย่อมไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายใต้หลักนิติธรรม และระบบตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อคัดคานการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วย
– ความขัดแย้งเหลือง-แดง –
ทั้งสองฝ่ายต่างนำวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการใช้ความรุนแรงมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตน ทั้งวาทกรรม ‘แดง’ และ ‘เหลือง’ ต่างส่งเสริมประชาธิปไตยที่บกพร่องและไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตย
– ชนชั้นกลาง –
ประชาธิปไตยไม่อาจอยู่รอดได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง เราจำเป็นต้องดึงชนชั้นกลางที่เกรี้ยวกราดกลับเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังประชาธิปไตยอีกครั้งให้ได้
– คอร์รัปชัน –
คอร์รัปชันมิใช่ปัญหาศีลธรรมส่วนบุคคล แต่เป็นอาการของโรคเรื้อรังจากระบอบศักดินาราชูปถัมภ์ ในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน เราจำเป็นจะต้องเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง และต้องทำให้การต่อสู้กับคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ที่ใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยและสร้างความยุติธรรมทางสังคม
– เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้ –
เศรษฐกิจไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้เป้าหมายแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’ ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการพัฒนาใหม่ สู่โมเดลการเติบโตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว เพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของทุกคนให้บรรลุศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่ตนเลือกอย่างถ้วนหน้า
– พันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง –
เพื่อเอาชนะแนวร่วมฝ่ายธำรงรักษาสถานภาพเดิมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง กลุ่มพลังก้าวหน้า เสรีนิยม และอนุรักษนิยมตาสว่าง ต้องรวมพลังกันเป็นพันธมิตรหลากสีเพื่อการเปลี่ยนแปลง พื้นที่กลาง ซึ่งทุกกลุ่มน่าจะยอมรับร่วมกันได้ คือการรวมพลังกันเพื่อ “สร้างสนามประชาธิปไตยในวันนี้สำหรับใช้แข่งขันกันอย่างเท่าเทียมต่อไปในวันหน้า”
– สัญญาประชาคมใหม่ –
ทางออกที่ทุกกลุ่มในสังคมเป็นผู้ชนะ มิอาจเกิดขึ้นผ่านการประนีประนอมเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำแบบปิดลับอีกต่อไป สังคมไทยต้องการสัญญาประชาคมใหม่ที่วางอยู่บนฐานของการประนีประนอมที่เปิดกว้างให้ทุกกลุ่มในสังคมมีส่วนร่วมอย่างถ้วนหน้า และเป็นสัญญาประชาคมที่สร้างระเบียบสมัยใหม่บนฐานของกฎหมายและเหตุผลสำหรับเป็นฐานที่มั่นแห่งการสร้าง ‘สังคมดีเพื่อชีวิตดีถ้วนหน้า’
สำนักพิมพ์: openworlds / มูลนิธิฟรีดริด แอเบร์ท
พิมพ์ครั้งแรก: ธันวาคม 2557
หน้า: 304 หน้า
ราคา: ไม่จำหน่าย