Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

october

‘จิตวิญญาณ’ แห่ง ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ประชาธิปไตย’ เชิง ‘จิตวิญญาณ’: ทัศนะว่าด้วยการเมืองร่วมสมัย ประชาธิปไตย และการปฏิรูปประเทศไทย ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

Posted on September 8, 2014October 5, 2014 by pokpong

ท่ามกลางความร้อนรุ่มและเครียดคลั่งของสถานการณ์การเมืองไทย October ชวน ‘เสกสรรค์ ประเสริฐกุล’ ในวันที่ถอดหมวกวาง และรักที่จะใช้ชีวิตกับ ‘ความว่าง’ อย่างไม่ถูกคุมขังอยู่ในคำนิยามใดๆ มาสนทนาเรื่องการเมืองร่วมสมัย ประชาธิปไตย และการปฏิรูปประเทศไทย

กล่าวอย่างรวบรัด สำหรับเสกสรรค์แล้ว “ประชาธิปไตยคล้ายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดพื้นที่ให้คนบรรลุศักยภาพของตน ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่เป็นระบบกระจายอำนาจ กระจายโอกาส และกระจายทางเลือกในการใช้ชีวิตให้กับคน ซึ่งรวมทั้งทางเลือกทางจิตวิญญาณด้วย”

กล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขอเชิญท่านผู้อ่านละเลียดบทสนทนาความยาวกว่า 3 ชั่วโมงว่าด้วย ‘จิตวิญญาณ’ แห่ง ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ประชาธิปไตย’ เชิง ‘จิตวิญญาณ’ ได้นับจากบรรทัดนี้

Posted in จับเข่าคุย Tagged october, openbooks, การเมืองภาคประชาชน, การเมืองไทย, จิตวิญญาณ, ปฏิรูป, ประชาธิปไตย, สัมภาษณ์, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล Leave a comment

สงครามอันศักดิ์สิทธิ์  ในห้วงยามแห่งวิกฤต

Posted on September 2, 2014September 8, 2014 by pokpong

ในนามแห่งความโกรธ ความเกลียด ความคับแค้น ความรุนแรง ความลุ่มหลง ความหยามเหยียด ความยึดมั่นถือมั่น และอคติ เป็นการง่ายมากที่มนุษย์จะถูกชักจูงเข้าสู่ ‘โลกมืด’ และตกอยู่ในกับดักแห่งอวิชชา

ในกับดักนั้น ในเวลานั้น ในห้วงอารมณ์นั้น น้อยยิ่งกว่าน้อย ที่คนจะมองเห็นตัวเอง

แทบทุกคนต่างคิดว่ากำลังสู้รบอยู่ในสงครามศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตนเป็นนักรบแห่งความถูกต้อง ความดี ความงาม ความจริง

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged october, การเมือง, การเมืองอเมริกา, คนผิวดำ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, พิพากษา, วิกฤตการณ์การเมือง, ศาลเตี้ย, สงครามศักดิ์สิทธิ์, สิทธิเสรีภาพ, แซม โฮส Leave a comment

มุมมองต่อธุรกิจหนังสือไทย

Posted on August 31, 2014October 1, 2014 by pokpong

หากพิจารณาเพียงผิวเผิน หนังสือก็เป็นสินค้าประเภทหนึ่ง แต่แท้ที่จริง หนังสือมีความแตกต่างจากสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไปตรงที่เป็นสินค้าที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและปัญญา หนังสือดีมีมูลค่าใช้สอยที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่ว่าไม่ได้ตกอยู่กับตัวคนอ่านเองเท่านั้น แต่สร้างประโยชน์ต่อสังคมอีกทอดหนึ่งด้วย

เมื่อผู้คนในสังคมอ่านหนังสือมาก ฉลาดรอบรู้ขึ้นมาก คน – ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะแรงงาน ผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้กำหนดนโยบาย หรือพลเมือง – ก็มีคุณภาพมากขึ้น สังคมย่อมมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างผลกระทบภายนอกต่อสังคมในด้านบวก (Positive Externality) ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่การผลิตหรือการบริโภคไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะต่อตัวผู้ผลิตหรือผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่สังคมส่วนรวมได้ประโยชน์ด้วยพร้อมกัน

บางคนอาจจะไม่ได้มองหนังสือเป็นแค่สินค้าเพื่อการบริโภคด้วยซ้ำ แต่มองการซื้อหนังสือเหมือนเป็น “การลงทุน” เพราะการอ่านหนังสือช่วยให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น เป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทำให้เราเก่งขึ้น มีฝีมือขึ้น ซึ่งช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้ตัวคนอ่านในอนาคตได้ด้วย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged october, ธุรกิจหนังสือ, ผู้ผลิตหนังสืออิสระ, วงการหนังสือ, หนังสือ Leave a comment

มองการเมืองไทย ผ่านแว่นตานักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

Posted on August 28, 2014October 5, 2014 by pokpong

ในช่วงที่สังคมการเมืองไทยกำลังเวียนวนค้นหาทางออกจากวิกฤตการณ์การเมืองที่ตัวเองสร้างขึ้นตลอดปี 2549-2550 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวในงานสัมมนางานหนึ่งว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงการเมืองไทยในปัจจุบันนั้น สหรัฐอเมริกาเคยผ่านมาหมดแล้ว”

ปลายเดือนกรกฎาคม 2550 ก่อนการลงประชามติ “รับ” / “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. ปกป้อง จันวิทย์ ชวน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มองการเมืองไทยผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ทหาร นักการเมือง จนถึงตุลาการภิวัตน์

เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันได้บ้าง?

Posted in จับเข่าคุย Tagged october, openbooks, การร่างรัฐธรรมนูญ, การเมืองอเมริกา, การเมืองไทย, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ประวัติศาสตร์อเมริกา, รัฐธรรมนูญ, รัฐประหาร, ศาลสูง, สัมภาษณ์ Leave a comment

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : “นี่คือรัฐบาลเปรม 6”

Posted on August 28, 2014October 5, 2014 by pokpong

หลังรัฐประหาร หลังการแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีสิ่งใดจะเหมาะไปกว่า การชวน อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ มานั่งวิเคราะห์เจาะลึกการเมืองไทยยุคหลัง 19 กันยายน 2549

เป็นการพูดคุยในสถานการณ์การเมืองยุค ‘หลังทักษิณ’ ท่ามกลางคำถามที่ว่า ฤา ‘เปรมาธิปไตย’ กลับมาแล้ว? เริ่มดังระงม

Posted in จับเข่าคุย Tagged october, openbooks, กลุ่มทุน, การเมืองไทย, ประชาธิปไตย, รัฐประหาร, สัมภาษณ์, อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, เปรมาธิปไตย Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back