นายปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในหัวข้อ “โมเดลใหม่ในการพัฒนา: สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลผลิต” บทความที่ 3 “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิต” ว่า “รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการต้องอยู่กันยาวๆ เพราะต้องวางนโยบายระยะยาว และต้องมีเจตจำนงที่แน่วแน่ในการปฏิรูปการศึกษา”
บทสัมภาษณ์
“เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” รวมพลังกลุ่มต่างขั้ว หา “จุดร่วม” ทางออกประเทศไทย
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงเปิดตัวเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร คัดค้านความรุนแรงทุกรูปแบบ เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม นักวิชาการ ที่มีความคิดเห็น “ต่างขั้ว” และมี “จุดยืน” ทางการเมืองที่หลากหลาย แต่มี “จุดร่วม” ที่เหมือนกัน รวมพลังระดมความคิดร่วมกันหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และอีกหนึ่งความหวัง
ไม่เอา “รัฐประหาร-ความรุนแรง” เอา “เลือกตั้ง-ปฏิรูปวิถีประชาธิปไตย”
ทีดีอาร์ไอเสนอโมเดลเศรษฐกิจใหม่: รื้อหลักสูตรเด็กไทยเรียนเยอะ แต่รู้น้อยและทำงานไม่เป็น มาลงทุนพื้นฐานทางปัญญา 4 ด้าน
นายปกป้องกล่าวว่า การศึกษาเป็น “หัวใจ” ในการเปลี่ยนสังคมเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ ที่ให้ความสําคัญกับการเติบโตที่มีคุณภาพ ยั่งยืน มีนวัตกรรม เป็นธรรม และนําพาชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกทุกระดับในสังคม
บนเส้นทางสู่เศรษฐกิจใหม่ การศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา “แรงงาน” ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษามีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไป
นายปกป้องกล่าวว่า บทความชิ้นนี้ให้ความหมายต่อ ‘การศึกษา’ ว่าควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่อาจารย์ป๋วย (อึ๊งภากรณ์) เคยกล่าวไว้ว่า
“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสําคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสําคัญของนักเรียน”
ทีดีอาร์ไอเสนอ 4 สร้าง เพื่อเติมเต็มศักยภาพนักเรียนไทย
ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ ระบุว่า โจทย์หลักของการศึกษาไม่ใช่การมุ่งผลิตคนเพื่อไปเป็นแรงงานตามสั่งราคาถูกตลอดชีวิต ไม่ใช่มุ่งส่งคนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อถูกเอารัดเอาเปรียบจากโครงสร้างค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่การศึกษาควรมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้แต่ละคนบรรลุศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนได้เลือกเอง เมื่อคนมีคุณภาพ ก็ย่อมมีผลิตภาพสูงขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและสังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ
นักวิจัย ‘ทีดีอาร์ไอ’ สวมบท ‘นักสื่อสาร’ ยุคดิจิทัล
ทีดีอาร์ไอเป็นสถาบันความรู้ ที่ต้องให้บริการวิชาการกับสังคม มีบทบาทหน้าที่สื่อสารความรู้ไปสู่สาธารณะ ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ มีคนที่กระหายความรู้มหาศาลในสังคม เมื่อทีดีอาร์ไอมีคลังความรู้จำนวนมาที่สะสมมาเป็นเวลานาน ก็ควรทำหน้าที่สื่อสารกับสังคมมากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีในโลกดิจิทัล
การสื่อสารเชิงนโยบายให้ถึงคนหมู่มาก นักวิจัยหรือนักเศรษฐศาสตร์ต้องสวมบทบาทนักสื่อสาร “ถือเป็นมิติใหม่ที่ท้าทาย” ในการให้ความรู้กับสังคม ซึ่งควรมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลเหล่านั้น
เพราะงานวิจัย ถือว่าเป็น “สินค้าสาธารณะ” หากผู้คนเข้าถึงงานวิจัยจำนวนมาก ย่อมเกิดประโยชน์ต่อผู้วิจัยและประเทศชาติ
โรงเรียนทางเลือกกับนวัตกรรมการเรียนการสอน
แม้ว่าในด้านหนึ่ง วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือกยังคงเป็นกระบวนการทดลองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา แต่ในอีกด้านหนึ่ง โรงเรียนทางเลือกได้เปิดความคิดว่า การศึกษาอาจไม่ใช่กระบวนผลิตแบบง่ายๆ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันจากโรงงาน ผลการสอบอาจช่วยบ่งชี้ว่า โรงเรียนทางเลือกก็สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กตามมาตรฐานกลางได้ แต่ผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ใช่จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในโรงเรียนทางเลือก
โจทย์หนึ่งที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาไทยก็คือ เราจะเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ผ่านโรงเรียนทางเลือก เพิ่มการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา และขยายผลจากโรงเรียนทางเลือกไปสู่โรงเรียนทั่วได้อย่างไร?
โรงเรียนทางเลือกกับนวัตกรรมการเรียนการสอน การศึกษาไม่ใช่กระบวนการผลิตแบบง่ายๆ เพื่อให้ได้สินค้าที่เหมือนกันจากโรงงาน
แม้ว่าการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือก ยังคงเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาอยู่ แต่โรงเรียนทางเลือกได้เปิดความคิดที่ว่า การศึกษาไม่ใช่กระบวนการผลิตแบบง่ายๆ เพื่อให้ได้สินค้าที่เหมือนกันจากโรงงาน ผลสอบของนักเรียนอาจเป็นตัวช่วยบ่งชี้ได้ว่า โรงเรียนทางเลือกสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กตามมาตรฐานที่เป็นกลางได้ แม้ผลลัพธ์ดังกล่าวจะไม่ใช่จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในโรงเรียนทางเลือกก็ตาม
ทั้งนี้ ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของโรงเรียนทางเลือกคือ ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน ผู้นำและทรัพยากรในการจัดการศึกษา คุณภาพของครู นวัตกรรมด้านการสอน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง รวมไปถึงกฎกติกาของภาครัฐ และสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนของโรงเรียนด้วย
โดยโจทย์หลักที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาไทยก็คือ เราจะทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากโรงเรียนทางเลือกได้อย่างเต็มที่ และจะทำอย่างไรให้โรงเรียนทางเลือกสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย เพราะในเมื่อเราเห็นแล้วว่าโรงเรียนทางเลือกมีความน่าสนใจ และบรรยากาศการเรียนการสอนก็สนุก สร้างศักยภาพให้เด็กได้อย่างเต็มที่
“openworlds ตอบโจทย์” ความเชื่อและความฝันของคนทำหนังสือ
สำนักพิมพ์ openworlds ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดยมีภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สฤณี อาชวานันทกุล, แอลสิทธิ์ เวอร์การา, กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล, พลอยแสง เอกญาติ, วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และปกป้อง จันวิทย์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง
openworlds สนใจตีพิมพ์หนังสือแปลแนวเศรษฐกิจการเมือง ธุรกิจสมัยใหม่ ประวัติศาสตร์ และปัญญาความรู้หลากหลายสาขา
ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน openworlds มีหนังสือออกวางแผงแล้วหลายเล่ม หลังจากสำนักพิมพ์เริ่มลงหลักปักฐานในวงการหนังสือ และผลงานเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้อ่านแล้ว ถ้าเปรียบเป็นคนก็คงเหมือนคนที่เริ่มคุ้นหน้ากัน แต่อาจไม่เคยคุยกัน สำนักพิมพ์จึงคิดว่านี่คือเวลาดีที่จะมาแนะนำตัวและทำความรู้จักกับผู้อ่านอย่างจริงจัง
เปิดผลสำรวจขึ้น 300 บาทผลกระทบน้อย เสนอค่าจ้างเพื่อชีวิต
สำหรับอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมของประเทศไทย หากโจทย์อยู่ที่การเพิ่มความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ แนวคิดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำควรต้องให้สอดคล้องกับหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่มีแนวคิดเรื่อง อัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต (living wage) คือระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีการครองชีพในระดับมาตรฐาน มีเวลาว่างพอที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งในสังคมไท
TDRI เปิดผลวิจัยจี้กฤษฎีกาจำกัดอำนาจตัวเอง
ข้อเสนอแนะของทีมวิจัยคือ ควรกำหนดอายุของกรรมการกฤษฎีกาไม่ให้เกิน 70 ปี เพิ่มองค์ประกอบของกรรมการให้หลากหลาย ลดสัดส่วนความเป็นข้าราชการลง ทีมวิจัยยังมีข้อสังเกตว่า หลักเกณฑ์ที่มาของกรรมการกฤษฎีกาปิดช่องไม่ให้ผู้มีความรู้ความสามารถคนอื่นๆ เข้ามาทำหน้าที่ได้ และเกิดสภาพการผูกขาดในหน้าที่ งานวิจัยนี้จึงเสนอให้จำกัดให้วาระการดำรงตำแหน่ง ให้กรรมการกฤษฎีกาดำรงตำแหน่งไม่เกินสองวาระ และประธานกรรมการกฤษฎีกาดำรงตำแหน่งไม่ให้เกินสามวาระ
คณะวิจัยเสนอให้กำหนดความเป็นอิสระของกรรมการกฤษฎีกาควบคู่กับความรับผิดชอบ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกามีแนวโน้มที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดเนื้อหาของกฎหมาย ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาควรมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอย่างฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติในระดับหนึ่ง เช่น อาจให้คณะรัฐมนตรีมีส่วนร่วมพิจารณาคัดเลือกรายชื่อกรรมการกฤษฎีกาได้ด้วย