Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

บทสัมภาษณ์

การมีส่วนร่วมของประชาชนและบทบาทของกฤษฎีกาในกระบวนการนิติบัญญัติไทย

Posted on September 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

ผลศึกษากระบวนการนิติบัญญัติไทย พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่ยังมีปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ ซึ่ง 15 ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีร่างกฎหมายที่ภาคประชาชนผลักดันสำเร็จออกมาเป็นกฎหมาย ส่วนขั้นตอนที่สำนักงานกฤษฎีกามีความล่าช้าที่สุด และประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก จากปัญหาโครงสร้างกรรมการ ส่วนใหญ่มาจากข้าราชการเกษียณและเป็นนักกฎหมาย อยู่ในตำแหน่งยาวนาน นอกจากนี้ ความอ่อนแอของคณะรัฐมนตรี ทำให้ร่างกฎหมายที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีมีคุณภาพต่ำ เปิดช่องให้กฤษฎีกาใช้ดุลพินิจมาก เสนอปรับปรุงทั้งกระบวนการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged thailawwatch, กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การมีส่วนร่วม, การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน, คณะกรรมการกฤษฎีกา, ทีดีอาร์ไอ, รัฐราชการ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย Leave a comment

ทีดีอาร์ไอเผย 6 ปี รัฐออก กม. 335 ฉบับ – “วิษณุ เครืองาม” ติงรัฐบาลไม่มีแผนนิติบัญญัติ ปล่อยให้กระทรวงออกกฏหมายตามใจชอบ

Posted on September 19, 2014October 6, 2014 by pokpong

นายปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาว่า ปัญหาของการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน อยู่ที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ โดยกระบวนการนำเสนอกฎหมายของภาคประชาชนนั้น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมทั้งในเนื้อหาและคุณภาพของร่างกฎหมาย

ดังนั้น การยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จำเป็นต้องต้องลดต้นทุนในฝั่งภาคประชาชนให้ต่ำลง เช่น กำหนดให้การยื่นหลักฐานมีความยุ่งยากน้อยลง หรือยกเลิกข้อกำหนดให้ภาคประชาชนต้องเสนอร่าง พ.ร.บ. ทั้งฉบับ เหลือเพียงให้เสนอหลักการ ให้องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญช่วยยกร่างกฎหมาย และเพิ่มบทบาทภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ร่างกฎหมาย อำนวยความสะดวกหรือรับภาระค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น การถ่ายเอกสาร โดยต้องกำหนดระยะเวลาของรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายจากประชาชน

ในกรณีที่รัฐสภาไม่เห็นชอบร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ให้มีการทำประชามติ และให้ประชาชนมีสิทธิยับยั้งร่างกฎหมายของรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วยได้

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การปฏิรูปการเมือง, การเมือง, การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน, คณะกรรมการกฤษฎีกา Leave a comment

เล่มนี้ที่อยากดู: ย้อนรอยเสรีภาพด้วยหนัง

Posted on September 5, 2014September 8, 2014 by pokpong

การร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาครั้งนั้นคือการออกแบบสถาบันที่น่าสนใจที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเลยนะครับ เป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองในขณะนั้น มีการต่อสู้ทางความคิดในที่ประชุม ต่อรองและชิงไหวชิงพริบทางการเมืองกันอย่างสนุกระหว่างตัวแทนต่างๆ ต้องใช้เวลากว่า 5 เดือนถึงจะร่างเสร็จ แล้วต้องส่งให้แต่ละรัฐให้การรับรอง ตามด้วยสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งพอผมได้อ่านหนังสือที่พูดถึงเรื่องพวกนี้อย่าง American Creation (2007) ของ Joseph Ellis, America’s Constitution: A Biography (2006) ของ Akhil Reed Amar แล้วก็ The Summer of 1787 (2007) ของ David Stewart ผมรู้สึกอยากเห็นหนังที่เล่าเหตุการณ์ช่วงนั้นมากๆ

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged bioscope, การร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา, การเมืองอเมริกา, บทสัมภาษณ์, วงการภาพยนตร์ไทย, หนังไทย Leave a comment

โอบามา: การเมืองใหม่ เศรษฐกิจใหม่

Posted on September 1, 2014October 3, 2014 by pokpong

“การเมืองอเมริกาเป็นเรื่องเล่าที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเท่ากัน และเชื่อมั่นในหลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง ประชาชนมีสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศด้วยมือของเขาเอง ถ้าคุณเผชิญกับรัฐบาลนี้ ผู้นำคนนี้คุณไม่ชอบ วันเลือกตั้งคุณก็ลงโทษด้วยการไม่ลงคะแนน ระบบก็เดินไปข้างหน้า …”

“ระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกาเป็นระบอบที่อยู่บนฐานข้อสมมติที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องของสามัญชนคนธรรมดา การเมืองไม่ใช่เรื่องของคนมีอำนาจ ไม่ใช่เรื่องของนักปราชญ์เมธี แต่เป็นเรื่องของคนธรรมดา และไม่มีใครผูกขาดความดีความงามความจริงไว้กับตัวเองฝ่ายเดียว …”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การเมืองอเมริกา, การเลือกตั้ง, การเลือกตั้งประธานาธิบดี, บารัค โอบามา, ประชาธิปไตย, รีพับลิกัน, วัฒนธรรมการเมืองอเมริกา, เดโมแครต, เศรษฐกิจอเมริกา Leave a comment

25 ปี สารคดี: มิตรรัก สารคดี

Posted on September 1, 2014October 1, 2014 by pokpong

เสน่ห์ของ สารคดี คือเป็นนิตยสารที่ไม่ได้ทำให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอ่าน อ่านแล้วไม่ค่อยเห็นตัวตนของคนทำ ไม่เหมือนหนังสือบางเล่มที่เห็นตัวตนของคนทำคับพองออกมา ตอบสนองแต่อุดมการณ์หรือความเชื่อของตัวเอง สารคดีพยายามรักษาสมดุล บอกเล่าความจริงแบบไม่ตัดสินไม่สั่งสอน ใจกว้างพอที่จะเคารพความเห็นที่แตกต่าง เราต้องการมาตรฐานแบบนี้ในวงการหนังสือ รวมถึงวงการวิชาการซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับความรู้

ไม่ว่าคนรุ่นไหน เด็กหรือแก่ ก็ต้องการความรู้กันทั้งนั้น ผมเชื่อว่าเวลาคนกระหายความรู้ สารคดี ก็ยังเป็นบ่อน้ำบ่อแรกๆ ที่คนนึกถึง … 25 ปีของ สารคดี จึงไม่ได้เป็นแค่ชีวิตของนิตยสารฉบับหนึ่ง แต่เป็นชีวิตของตลาดวิชาที่สำคัญแห่งหนึ่งของสังคมไทย

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged ความรู้, บทสัมภาษณ์, มาตรฐานวิชาชีพ, สารคดี, หนังสือ Leave a comment

ชุมชนในโลกไซเบอร์

Posted on August 31, 2014October 1, 2014 by pokpong

บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ open online ตีพิมพ์ในหนังสือ นโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, ธันวาคม 2549) ในบท ชุมชนในโลกไซเบอร์

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, ชุมชน, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สื่อทางเลือก, โลกไซเบอร์, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

สื่อทางเลือกแบบ “ลงแขก” โมเดล และ “โอเพ่น ออนไลน์”

Posted on August 31, 2014September 10, 2014 by pokpong

“อินเทอร์เน็ตจะเป็นเวทีของสื่อทางเลือก สื่อหลายประเทศก็เริ่มปรับตัวมาทางนี้ สื่อออนไลน์ ถ้าเราไม่อคติกับมัน ข้อดีคือทำให้สื่อขนาดเล็กมีที่ยืนได้ มีสื่อหลากหลายให้สังคมเลือกอ่าน ทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของสื่อได้ โดยไม่มีทุน ผมไร้ทุนก็เป็นเจ้าของสื่อได้โดยเขียนบล็อก โนบอดี้ในสังคมก็เขียนบทความวิจารณ์การเมืองได้ ถ้าคุณเป็นของจริง ดีจริง ความเชื่อถือก็ตามมาเอง เป็นเวทีเปิดที่ทุกคนมีโอกาสพิสูจน์ตัวเอง อินเทอร์เน็ตช่วยทำให้สื่อเป็นของประชาชนวงกว้าง เพิ่มระดับความเป็นประชาธิปไตยให้แก่สื่อ ช่วยให้เกิดสื่อจำนวนมากเสียจนไม่มีใครสามารถผูกขาดความจริงไว้กับตัวได้ ใช้อำนาจควบคุมไม่ได้หมด”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, การเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สื่อทางเลือก, สื่อสารมวลชน, อินเทอร์เน็ต, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

Open at heart

Posted on August 31, 2014October 1, 2014 by pokpong

“On open lives on the energy of those making it,” he said.

“If the contributors and the web editor still have the energy to do it, and as long as we have regular updates, it will live on.

“I don’t think On Open will live forever but I believe it will evolve to suit the circumstances (of the society). If one day my energy runs dry, there may be someone new and younger who will step in to work on it. We will just let it grow naturally.”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged bangkok post, open online, การเมืองไทย, บทสัมภาษณ์, สื่อทางเลือก, อินเทอร์เน็ต, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

เปิดทางเลือก..นิตยสารออนไลน์

Posted on August 30, 2014October 1, 2014 by pokpong

ความเป็นทางเลือกที่เกี่ยวโยงกับรูปแบบออนไลน์นั้น ปกป้องบอกว่า “สื่อออนไลน์มีประโยชน์ในแง่ มันเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยให้กับสื่อในแง่มันเปิดให้คนไร้อำนาจเป็นเจ้าของสื่อได้ ข้อจำกัดมันต่ำการกีดกันในการเข้าสู่ความเป็นเจ้าของสื่อมันน้อย นี่คือข้อดีของสื่อออนไลน์ทั้งในฐานะคนผลิตและคนรับสื่อ มันเปิดโอกาสให้คนพิสูจน์ตัวเองได้ …”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, กรุงเทพธุรกิจ, ชุมชนออนไลน์, นิตยสารทางเลือก, วงการหนังสือ, โอเพ่นออนไลน์ Leave a comment

นิตยสาร open ฉบับออนไลน์ บน “ความคลี่คลาย” ของสื่อทางเลือก

Posted on August 30, 2014October 1, 2014 by pokpong

“ทีมงาน open online คิดกันแต่แรกว่า ไม่เอาเว็บบอร์ด เราอยากทำตัวเป็น ‘ห้องสมุด’ มากกว่า ‘ร้านกาแฟ’ เพราะสื่ออินเทอร์เน็ตหลายสื่อเป็นร้านกาแฟแล้วน่ะ นั่งคุยกันแล้วก็นินทา คุยกันเอามัน ไม่ต้องรับผิดชอบความเห็นตัวเอง แต่การอ่านทำให้คุณต้องคิด สังเคราะห์ แล้วเขียนออกมา สังคมนี้ไม่ค่อยมีพื้นที่เงียบๆให้เราได้นั่งอ่านแล้วครุ่นคิดกับตัวเอง open online จึงขอเป็นแหล่งรวมหนังสือหลายๆเล่ม จากคนเขียนหลายคน หลายความคิด ให้ผู้อ่านได้เข้ามานั่งอ่านกัน เราไม่มีจุดยืนรวมหมู่ เพราะนักเขียน open ไม่ได้คิดเหมือนกันหมด แต่มีความหลากหลายในหน้าที่การงาน และความเห็น”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged open online, ชุมชน, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สื่อทางเลือก, สุดสัปดาห์ Leave a comment
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back