ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ ระบุว่า โจทย์หลักของการศึกษาไม่ใช่การมุ่งผลิตคนเพื่อไปเป็นแรงงานตามสั่งราคาถูกตลอดชีวิต ไม่ใช่มุ่งส่งคนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อถูกเอารัดเอาเปรียบจากโครงสร้างค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่การศึกษาควรมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้แต่ละคนบรรลุศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนได้เลือกเอง เมื่อคนมีคุณภาพ ก็ย่อมมีผลิตภาพสูงขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและสังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ
accountability
การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ
ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
แหล่งทุน: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ตีพิมพ์: พฤศจิกายน 2556
โครงการการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ
ผู้วิจัย: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ปกป้อง จันวิทย์ ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ ภาวิน ศิริประภานุกูล ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
แหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ตีพิมพ์: มีนาคม 2556
อ่าน แนวทางปฏิรูประบบการศึกษาไทยโดยเสริมสร้างระบบความรับผิดชอบ
รายงานวิจัยเรื่อง “การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ” ของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ (2556) ชี้ว่า ใจกลางปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการขาด “ความรับผิดชอบ” (accountability) ของระบบการศึกษาตลอดทุกขั้นตอน ทั้งนี้ “ความรับผิดชอบ” หมายถึง พันธะผูกพันในหน้าที่ของคนหรือองค์กรต่อเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย โดยมีระบบที่ผู้มอบหมายสามารถประเมินและตรวจสอบผลงาน เพื่อให้รางวัลหรือลงโทษผู้ที่ได้รับมอบหมายงานได้
ในกรณีของระบบการศึกษา หัวใจสำคัญของการปฏิรูปเพื่อสร้างความรับผิดชอบคือ การทำให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนควรมีอิสระในการบริหารจัดการ และผู้ปกครองควรมีสิทธิเลือกโรงเรียนให้ลูกตามข้อมูลคุณภาพของโรงเรียนที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กล่าวคือ มีการส่งเสริมให้เกิดระบบ “ความรับผิดชอบสายสั้น” (short-route of accountability) หรือสายความรับผิดชอบระหว่าง “ผู้ปกครอง-โรงเรียน-ครู” โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล เพิ่มมากขึ้น