Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

ขอคิดด้วยคน

ซื้อสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล: ประเทศไทยจะได้อะไร

Posted on August 27, 2014October 1, 2014 by pokpong

ท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในการซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล ด้วยการออก ‘หวยหงส์’ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาคัดค้านนโยบายดังกล่าว บทอภิปรายของ ปกป้อง จันวิทย์ ชิ้นนี้ พยายามจะตอบคำถามว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่ควรซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล และปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนความป่วยไข้ของสังคมไทยอย่างไร

“เสียงสนับสนุนของสังคมไทยต่อการพัฒนาวงการฟุตบอลไทยด้วยการซื้อสโมสรลิเวอร์พูล เป็นอีกประจักษ์พยานที่ชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยคือสังคมฉาบฉวย ไม่เคยคิดแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง สนใจเปลือกนอกที่ดูเท่ โฉบเฉี่ยว แต่ข้างในหาสาระมิได้ ภูมิใจและให้คุณค่ากับสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสาร นับถือความสำเร็จแบบแดกด่วน

เสียงแซ่ซ้องสรรเสริญการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ตอกย้ำว่าคำตอบต่อคำถามข้างต้นที่ว่า เหตุใดคุณทักษิณจึงมีอำนาจมากอย่างที่เป็นอยู่ นั่นก็เพราะคุณทักษิณก็คือภาพสะท้อนของมาตรฐานทางจริยธรรมของสังคมไทย”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทอภิปราย Tagged ซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล, ทักษิณ ชินวัตร, บทอภิปราย, ระบอบทักษิณ, ลิเวอร์พูล, หวยหงส์ Leave a comment

จิตสำนึกเพื่อสังคมกับคนรุ่นใหม่

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

เรามักได้ยินคำวิจารณ์เสมอว่า คนรุ่นใหม่มีจิตสำนึกเพื่อสังคมน้อยลง สนใจคนอื่น(ที่ไม่รู้จัก) และบ้านเมืองน้อยลง ต่างจากคนรุ่นก่อน ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรม มีความรักสังคม และคนด้อยโอกาส ดังที่แสดงให้เห็นในเหตุการณ์ตุลาคม 2516

เสียงตอบโต้ความคิดเช่นว่าก็คือ สภาพสังคมต่างกัน จะไปคาดหวังให้คนเหมือนกันได้อย่างไร ? เมื่อก่อน ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร คนต้องการเสรีภาพ ตอนนี้เสรีภาพมีสูงระดับหนึ่งแล้ว ต่างคนเลยต่างมุ่งหวังวัตถุ เอาตัวเองเป็นหลักเสียก่อน สมัยเป็นนักศึกษาปีหนึ่ง ผมก็เคยเขียนบทความทำนองนั้น ว่า หากนำนักศึกษาส่วนใหญ่ในสมัยก่อน ที่มาอยู่ในสังคมปัจจุบัน ก็คงไม่อยู่ที่สนามหลวง หรือ อมธ. ไม่อยู่กับชาวบ้านที่ประท้วงรัฐบาล แต่คงอยู่ตามห้างสรรพสินค้า เธค ผับ ไม่ต่างอะไรกับนักศึกษาปัจจุบัน

ทั้งนี้เพราะสภาพสังคมมันต่างกัน นักศึกษาทั้งสองยุคต่างเป็นคนตามกระแสสังคมทั้งนั้น เพียงแต่ตอนนั้น ลมพัดซ้าย คนก็หันซ้าย ตอนนี้ลมพัดขวา คนก็หันขวา

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทอภิปราย Tagged จิตสาธารณะ, ตลาด, ทักษิณ ชินวัตร, นักศึกษา, บทอภิปราย, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วัฒนธรรม Leave a comment

นอกกระแส

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

“อาชีพการเมืองเป็นอาชีพที่มีการประนีประนอมสูง จนตัวตนของคุณเหลือน้อยลงไปเรื่อย อยู่ในระบบที่คนต้องคิดเหมือนกับพรรค อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมของคุณตกต่ำลง

… การเป็นนักวิชาการสามารถเปลี่ยนโลกได้เหมือนกัน เป็นการเปลี่ยนในระดับฐานล่างผ่านการสอนของเรา ผมเชื่อว่าการศึกษาเปลี่ยนชีวิตคนได้ เป็นการเล่นการเมืองภาคประชาชน ถ่ายทอดความคิด ความรู้ให้กับประชาชน”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged ชีวิตส่วนตัว, ดิฉัน, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

Passionate Economist

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

“ผมเป็นคนมีแพสชั่นสูง ถึงทุกวันนี้ระดับความอยากให้สังคมดีขึ้น ไม่เคยลดลง และการทำความเข้าใจกลไกที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เพื่อยอมรับมัน แต่เพื่อเปลี่ยนแปลงมัน สำหรับผม หน้าที่ของนักวิชาการไม่ใช่แค่อธิบายสังคม เข้าใจมันแล้วจบ แต่ต้องมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม บทบาทของนักวิชาการไม่ใช่อยู่บนหอคอยงาช้าง แล้วคอยผลิตคำอธิบาย แต่มันต้องมีระดับของความเป็นนักปฏิวัติซ่อนอยู่ด้วย เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมทำได้หลายวิธี”

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged positioning, ชีวิตส่วนตัว, อาจารย์มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment

จากจิ๋วแจ๋ว (กว่าจะ) ถึงท่าพระจันทร์  ‘ผมไม่อยากเป็นนักวิชาการมั่วๆ’

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

“ความตั้งใจวันนี้จึงอยู่บนพื้นฐานว่า การแก้ไขปัญหาของประเทศชาติไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมืองอย่างเดียว ต้องอยู่ที่ทุกคนด้วย และคิดว่าอาชีพอาจารย์ก็เป็นอาชีพที่มีอิสระสูงและได้เรียนรู้ตลอดเวลา ได้สังสรรค์ทางความคิดกับคนรุ่นใหม่ ทำยังไงจะให้นักศึกษาฉุกคิดได้ว่า ประเทศนี้มีปัญหาใหญ่กว่าที่คิด และเป็นปัญหาที่ซับซ้อนระดับหนึ่ง การกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและให้เขาเติบโตด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ อาชีพอาจารย์จึงมีประโยชน์มาก”

ถึงวันนี้ในวัย 25 ฝน ‘ปกป้อง’ เดินทางมาเกือบสุดปลายทางของความฝัน…ฝันที่เหลืออยู่ของเขานอกจากจะอยากมีพ็อกเกตบุ๊กรวมงานเขียนของตัวเองตามประสาคนชอบอ่านหนังสือแล้ว เขามีความใฝ่ฝันสูงสุดที่จะเป็น ‘อาจารย์’ ที่ดี

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged การศึกษา, ชีวิตส่วนตัว, ประชาชาติธุรกิจ, อาจารย์มหาวิทยาลัย Leave a comment

นักเศรษฐศาสตร์นอกคอก กับแนวคิดที่แตกต่าง

Posted on August 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

สำหรับวงการศึกษาและวงการวิชาการในประเทศไทย อยากเรียกร้องไปอีกระดับหนึ่ง เพราะวงวิชาการไทยถูกครอบครองโดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ โดยในอนาคตตนอยากเห็น หรือหวังว่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์แปลกๆ สำนักต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อความหลากหลาย เรารู้ว่าสังคมต้องมีความหลากหลาย ซึ่งสังคมเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าหยุดนิ่งมีความคิดแบบเดียว สังคมนั้นก็ไร้ชีวิตชีวาและตายไปในที่สุด

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กรุงเทพธุรกิจ, การศึกษาเศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลัก Leave a comment
  • «
  • ‹
  • 4
  • 5
  • 6
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back