Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

การมีส่วนร่วม

TDRI เปิดผลวิจัยจี้กฤษฎีกาจำกัดอำนาจตัวเอง

Posted on September 20, 2014October 6, 2014 by pokpong

ข้อเสนอแนะของทีมวิจัยคือ ควรกำหนดอายุของกรรมการกฤษฎีกาไม่ให้เกิน 70 ปี เพิ่มองค์ประกอบของกรรมการให้หลากหลาย ลดสัดส่วนความเป็นข้าราชการลง ทีมวิจัยยังมีข้อสังเกตว่า หลักเกณฑ์ที่มาของกรรมการกฤษฎีกาปิดช่องไม่ให้ผู้มีความรู้ความสามารถคนอื่นๆ เข้ามาทำหน้าที่ได้ และเกิดสภาพการผูกขาดในหน้าที่ งานวิจัยนี้จึงเสนอให้จำกัดให้วาระการดำรงตำแหน่ง ให้กรรมการกฤษฎีกาดำรงตำแหน่งไม่เกินสองวาระ และประธานกรรมการกฤษฎีกาดำรงตำแหน่งไม่ให้เกินสามวาระ

คณะวิจัยเสนอให้กำหนดความเป็นอิสระของกรรมการกฤษฎีกาควบคู่กับความรับผิดชอบ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกามีแนวโน้มที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดเนื้อหาของกฎหมาย ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาควรมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอย่างฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติในระดับหนึ่ง เช่น อาจให้คณะรัฐมนตรีมีส่วนร่วมพิจารณาคัดเลือกรายชื่อกรรมการกฤษฎีกาได้ด้วย

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged กระบวนการนิติบัญญัติ, การปฏิรูปการเมือง, การมีส่วนร่วม, การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน, คณะกรรมการกฤษฎีกา Leave a comment

การมีส่วนร่วมของประชาชนและบทบาทของกฤษฎีกาในกระบวนการนิติบัญญัติไทย

Posted on September 20, 2014October 1, 2014 by pokpong

ผลศึกษากระบวนการนิติบัญญัติไทย พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่ยังมีปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ ซึ่ง 15 ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีร่างกฎหมายที่ภาคประชาชนผลักดันสำเร็จออกมาเป็นกฎหมาย ส่วนขั้นตอนที่สำนักงานกฤษฎีกามีความล่าช้าที่สุด และประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก จากปัญหาโครงสร้างกรรมการ ส่วนใหญ่มาจากข้าราชการเกษียณและเป็นนักกฎหมาย อยู่ในตำแหน่งยาวนาน นอกจากนี้ ความอ่อนแอของคณะรัฐมนตรี ทำให้ร่างกฎหมายที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีมีคุณภาพต่ำ เปิดช่องให้กฤษฎีกาใช้ดุลพินิจมาก เสนอปรับปรุงทั้งกระบวนการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน

Posted in ขอคิดด้วยคน, บทสัมภาษณ์ Tagged thailawwatch, กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การมีส่วนร่วม, การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน, คณะกรรมการกฤษฎีกา, ทีดีอาร์ไอ, รัฐราชการ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย Leave a comment

บทบาทของกฤษฎีกาในกระบวนการนิติบัญญัติไทย

Posted on September 6, 2014October 7, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: ปกป้อง จันวิทย์

รายละเอียด: บทความวิชาการนำเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ “การปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน” จัดโดย แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555 ณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

Posted in งานวิชาการ, บทความวิชาการ Tagged กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การปฏิรูปการเมือง, การมีส่วนร่วม, คณะกรรมการกฤษฎีกา Leave a comment

อ่านกฤษฎีกา (2): คณะกรรมการกฤษฎีกากับความรับผิดชอบต่อประชาชน

Posted on September 2, 2014October 1, 2014 by pokpong

หากคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารเช่นในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการออกแบบระบบความผิดชอบที่เหมาะสม ให้องค์กรอิสระอื่นๆ และสาธารณชนสามารถร่วมตรวจสอบและกำกับการทำงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มากขึ้น เช่น การมีข้อกำหนดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา (ไม่ใช่เฉพาะในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเท่านั้น) การเปิดโอกาสให้มีตัวแทนภาคประชาสังคมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอันเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาในคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การมีส่วนร่วม, คณะกรรมการกฤษฎีกา, บทความเศรษฐกิจการเมือง, รัฐราชการ Leave a comment

อ่านกฤษฎีกา: ใครคือคณะกรรมการกฤษฎีกา

Posted on September 2, 2014October 1, 2014 by pokpong

บทบัญญัติตามกฎหมายเช่นนี้ทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นศูนย์รวมของอดีตข้าราชการเกษียณและเป็นนักกฎหมายเป็นหลัก กรรมการกฤษฎีกาที่พึงปรารถนาตามกฎหมายคืออดีตข้าราชการที่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ผู้พิพากษาศาลสูง นักวิชาการด้านกฎหมาย และนักยกร่างกฎหมาย ด้วยการที่องค์ประกอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเช่นนี้ จึงมีโอกาสสูงที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีระดับความเป็นอนุรักษนิยมสูง คิดแบบราชการ ยึดติดแบบวิถีของราชการ และมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทยร่วมสมัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากสาขากฎหมายอย่างจำกัด ทั้งที่องค์ความรู้ด้านอื่น เช่น เศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ มีความจำเป็นในการพิจารณาร่างกฎหมาย ยกร่างกฎหมาย หรือให้ความเห็นด้านกฎหมาย

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, กฎหมาย, กระบวนการนิติบัญญัติ, การมีส่วนร่วม, ข้าราชการ, คณะกรรมการกฤษฎีกา, บทความเศรษฐกิจการเมือง, รัฐราชการ Leave a comment

อ่าน กฎหมายว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน

Posted on September 2, 2014September 9, 2014 by pokpong

สมเกียรติและคณะ (2550) เสนอข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปกระบวนการเสนอร่างกฎหมายโดยภาคประชาชน โดยมีหลักการเพื่อการลดภาระต้นทุนของภาคประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย และสร้างหลักประกันในการคุ้มครองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้ปรับลดจำนวนขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนผู้ร่วมลงนามเสนอร่างกฎหมายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภา

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged way, way to read!, กฎหมาย, การมีส่วนร่วม, การเมืองภาคประชาชน, การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, รัฐธรรมนูญ, สิทธิเสรีภาพ Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back