มองดูรอบกรุงเทพฯแล้ว คนกรุงเทพฯอย่างผมเลยมีพื้นที่ที่รู้สึกผูกผันน้อยแห่ง นอกจากธรรมศาสตร์แล้ว สถานที่ประทับใจและผูกผันที่สุดอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกันในระยะเดินถึง
เป็นตึกแถวสองชั้นห้องหนึ่งริมถนนพระอาทิตย์
Hemlock ครับ
มองดูรอบกรุงเทพฯแล้ว คนกรุงเทพฯอย่างผมเลยมีพื้นที่ที่รู้สึกผูกผันน้อยแห่ง นอกจากธรรมศาสตร์แล้ว สถานที่ประทับใจและผูกผันที่สุดอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกันในระยะเดินถึง
เป็นตึกแถวสองชั้นห้องหนึ่งริมถนนพระอาทิตย์
Hemlock ครับ
30 เมษายนนี้ ดาวดวงหนึ่งกำลังจะหายลับไปจากฟากฟ้าแถบท่าพระจันทร์
แม้ดาวดวงหนึ่งลาลับไป ฟ้าจะยังคงเป็นฟ้า
… แต่ฟ้าผืนนั้น ก็ไม่มีวันเหมือนเดิม
ยามที่ผมต้องการให้จิตใจผ่อนคลายจากการทำงานหนัก ยามใกล้สอบ หรือมีเรื่องเครียดปวดหัวอื่นใด ผมมักเลือกใช้บริการยาขนานเอกประจำตัว
… บทเพลงของ ‘เฉลียง’ ครับ
ฟังเมื่อไหร่ ความสุขมันกลับมาได้ซะง่ายๆ
คือช่วงนี้ทำงานหนัก ใช้บริการพี่ๆ ‘เฉลียง’ บ่อย และเพิ่งฟังเทปคอนเสิร์ตสองครั้งสุดท้าย เลยคิดถึง ‘เฉลียง’ จนต้องเขียนถึงเสียหน่อย
ผมเป็นแฟน ‘เฉลียง’ มาตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม กำลังวัยรุ่นเลยครับ
เลยเป็นวัยรุ่นที่กรี๊ด ‘เฉลียง’ ผ่าเหล่าผ่ากอไป
เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ผมถูกขโมยขึ้นบ้านกลางดึก คุณโจรตัดมุ้งลวดหลังบ้าน แล้วเอื้อมมือมาเปิดประตูครัว เยี่ยมชมบ้าน ยกเครื่องดีวีดีสุดรักที่ผมเพิ่งซื้อมาแค่เดือนเดียวไป (โธ่ … เกิดมาเพิ่งจะมีดีวีดีกับเขาแท้ๆ)
ผมคิดว่าคุณโจรคงหมายมั่นกับเครื่องเล่นดีวีดีเป็นหลัก เพราะบ้านอาผมที่อยู่ในรั้วเดียวกัน ก็โดนฉกเครื่องเล่นดีวีดีไปด้วยในคราวเดียวกัน
แต่บ้านผมโดนหนักกว่าครับ คุณโจรเอารถยนต์ไปด้วย
อ่านไม่ผิดครับ ผมโดนขโมยรถยนต์
ที่จอดไว้ในโรงรถ
ในบ้านตัวเอง
เมื่อก่อนผมก็เคยคิดว่า ชีวิตเข้าสู่จุดลงตัวแล้ว เพราะมันดำเนินไปตามเส้นทางที่ตนเองวาดฝันไว้ตั้งแต่ยังเด็กทีละขั้นๆ แต่ไม่นานก็มาเข้าใจสัจธรรมว่า ชีวิตไม่ได้ง่ายอย่างนั้นหรอกไอ้น้อง พอมันลงตัวก็มีเหตุให้มีปัจจัยทั้งภายนอกภายในเตะมันออกจากดุลยภาพเรื่อยไป ตอนนี้ยังหาทางกลับไม่เจอเลย
อนิจจังครับอนิจจัง
ว่าไป ชีวิตคนเราก็ขึ้นอยู่กับสายลมแห่ง ‘ชะตากรรม’ ไม่น้อยนะครับ
สถาบันที่ดี ที่จะทำให้ท้องฟ้าของนักวิชาการเป็นสีทองผ่องอำไพ ไม่ใช่สถาบันที่มีโครงสร้างสิ่งจูงใจที่ตีเส้นทางเดินไปสู่ความเป็นนักวิชาการในฝันแบบเดียวกัน แบบใดแบบหนึ่ง นะครับ แต่เป็นสถาบันที่ดีในความหมายที่สามารถส่งเสริมเอื้ออำนวยให้นักวิชาการในฝันแต่ละแบบ สามารถแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเจิดจรัส ตามวิถีแห่งตน
ให้นักวิชาการที่มี ‘โลก’ หลากหลายแตกต่างกัน สามารถบรรลุเส้นทางฝันของใครของมันได้
เช่นนี้เราจึงจะได้นักวิชาการในฝัน ไม่ว่าจะเป็นฝันแบบใดก็ตาม
ความประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งในการมาฝึกวิชาที่สำนักหลังเขาก็คือ บรรยากาศภายในสำนัก ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์เฉพาะตัว
วันแรกของเมื่อสี่ปีก่อน ตอนผมก้าวขึ้นตึกสำนักเป็นครั้งแรก ก็เกิดความรู้สึกหลายอย่างผสมปนเปกันไป
รู้สึกทันทีเลยว่า … สนุกแน่ๆ
จำได้ว่า ผมไปถึงก่อนเปิดเทอม บรรยากาศจึงค่อนข้างเงียบเหงา ผมเดินสำรวจแต่ละชั้น ก็แปลกใจปนขบขัน เพราะหน้าประตูห้องของอาจารย์แต่ละคน ติดการ์ตูนล้อการเมืองบ้าง ด่ารัฐบาลบ้าง เหน็บแนมระบบทุนนิยมบ้าง สนับสนุนกลุ่มรักร่วมเพศบ้าง อาจารย์สายเศรษฐศาสตร์พัฒนาบางคนก็เอารูปของตัวเองที่เอากิ้งก่ายักษ์พันรอบคอ เมื่อคราวไปเยือนแอฟริกามาติดโชว์ ดูแล้วเป็นที่ครื้นเครงบันเทิงใจยิ่งนัก
พี่ไพวรินทร์ ขาวงาม เคยบอกผมว่า “กรรมของคนชอบอ่านหนังสือก็คือ สักวันต้องอยากเป็นนักเขียน หรืออยากทำหนังสือ”
ผมเองก็รู้สึกอยากอย่างว่ามาตั้งแต่เด็ก
สมัยเรียนมัธยมก็เป็นคนดูแลเรื่องบอร์ดในห้องเรียน เขียนโน่นเขียนนี่ สรุปบทความดีสกู๊ปเด็ดมาขึ้นบอร์ดให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน บางทีก็เขียนเรียงความวันแม่ วันพ่อ วันสุนทรภู่ ฯลฯ ส่งประกวดไปเรื่อย
ตอนเด็กยังเคยแอบเขียนจดหมายด้วยลายมือไปหาลุงจำลองเลย
จิ๋วแจ๋วเจาะโลกเป็นรายการข่าวเด็ก ใช้เด็กเป็นพิธีกรรายงานข่าวแบบผู้ใหญ่ มีคนนั่งอ่านข่าวอยู่ในสตูดิโอ และมีนักข่าวเด็กเดินสายสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และทำสกู๊ปข่าว เข้าใจว่าเริ่มแรกออกอากาศประมาณ 15 นาที ผมก็เริ่มจากการเป็นนักข่าวภาคสนาม สักพักถึงได้เข้ามาอ่านข่าวในสตูดิโอ สตูดิโอที่อัดรายการอยู่ซอยนายเลิศ เพลินจิต ใกล้ ๆ ทางด่วน
สักพักหนึ่ง จิ๋วแต่แจ๋วก็ยุบรวมมาเป็นจิ๋วแจ๋วเจาะโลก มีวันเสาร์อาทิตย์ แล้วเพิ่มเวลานานขึ้น ยุครุ่งเรือง (ประมาณ 2533-2535) มีเวลาครึ่งชั่วโมงเลยนะครับ แถมเป็นเวลาดี ก่อนข่าวภาคค่ำช่องสาม จบข่าวเด็กก็ต่อด้วยข่าวผู้ใหญ่ เรทติ้งตอนนั้นสูงจริง ๆ นะครับ พี่ ๆ ทีมงานเขาบอก ผมก็ไม่รู้หรอกว่าเขาวัดกันอย่างไร แต่ถ้าวัดจากจดหมายที่น้อง ๆ เขียนเข้ามาในรายการแต่ละสัปดาห์ก็เยอะมากทีเดียว และใคร ๆ ก็รู้จักรายการนี้
ผมคิดว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการไปเรียนต่อ ยิ่งคนส่วนใหญ่ไปเรียนต่อในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเรียนกันมาเป็นสิบปีแล้ว แม้จะพูดไม่ได้ เขียนไม่เป็น อ่านไม่คล่อง อันเนื่องมาจากระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ ก็ตาม ถ้าใจกล้า ไม่ขี้เขิน ไม่กลัวผิดซะอย่าง ไปอยู่เมืองนอกแล้ว ภาษาก็จะดีขึ้นเอง
แล้วอะไรที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุด ?