นายปกป้องกล่าวว่า การศึกษาเป็น “หัวใจ” ในการเปลี่ยนสังคมเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ ที่ให้ความสําคัญกับการเติบโตที่มีคุณภาพ ยั่งยืน มีนวัตกรรม เป็นธรรม และนําพาชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกทุกระดับในสังคม
บนเส้นทางสู่เศรษฐกิจใหม่ การศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา “แรงงาน” ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษามีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไป
นายปกป้องกล่าวว่า บทความชิ้นนี้ให้ความหมายต่อ ‘การศึกษา’ ว่าควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่อาจารย์ป๋วย (อึ๊งภากรณ์) เคยกล่าวไว้ว่า
“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสําคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสําคัญของนักเรียน”