Skip to content

โลกความคิดของ ปกป้อง จันวิทย์

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน

capital controls

Capital Flight from Thailand : 1980-2000

Posted on September 6, 2014October 6, 2014 by pokpong

ผู้เขียน: Edsel L. Beja, Pokpong Junvith and Jared Ragusett

ตีพิมพ์: บทหนึ่งใน Epstein, Gerald (ed.). 2005. Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries. Edward Elgar Publishing.

Posted in งานวิชาการ, บทความวิชาการ Tagged capital controls, capital flight, การเงินระหว่างประเทศ, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

เศรษฐกิจทางเลือก: ว่าด้วยมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

Posted on September 6, 2014October 1, 2014 by pokpong

ชวนอ่านปกหน้า:

โลกาภิวัตน์ อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ วิวาทะว่าด้วยการเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ และ Capital Controls

ชวนอ่านปกหลัง:

หนังสือชุด ‘เศรษฐกิจทางเลือก’ เป็น ‘สิ่งยืนยัน’ ว่า ในซอกมุมเล็กๆ ของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่ทำงานในแนวทางที่แตกต่าง ในซอกมุมเล็กๆ ของเศรษฐกิจโลก ยังมีบางประเทศที่เลือกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางที่แตกต่าง

‘ทางเลือกอื่น’ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ ยังพอมีหลงเหลืออยู่ในโลกใบนี้ นโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นมิได้สร้างผลกระทบด้านลบแก่ระบบเศรษฐกิจ จนทำให้เศรษฐกิจล้มเหลวหรือพังทลายลง ดังที่นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่หวาดกลัว

ในทางตรงกันข้าม นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกเหล่านั้นกลับมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มีความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในประเทศเป็นเป้าหมายสุดท้าย

สำนักพิมพ์: openbooks

พิมพ์ครั้งแรก (ครั้งเดียว): มีนาคม 2553

Posted in หนังสือ, หนังสือเล่ม Tagged capital controls, openbooks, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, ชิลี, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, มาเลเซีย, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจทางเลือก, เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ทางเลือก, เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

อ่าน มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

Posted on September 1, 2014September 9, 2014 by pokpong

หนังสือ Capital Flight and Capital Controls in Developing Countries (2005, Edward Elgar) บรรณาธิการโดย เจอราลด์ เอ็บสตีน (Gerald Epstein) มีลักษณะ ‘มาก่อนกาล’ คือถูกเขียนขึ้นในช่วงที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังมองมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในแง่ร้าย (อย่างดีก็เป็น ‘ปีศาจที่จำเป็น’) ในช่วงหลายปีก่อนเกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก ซึ่งในเวลานั้น ผู้คนยังไม่ตั้งคำถามต่อระบบโลกาภิวัตน์ทางการเงินที่มีลักษณะเสรีสุดขั้ว แตกต่างจากปัจจุบัน

ผู้สนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศคงได้แง่คิดอีกมุมหนึ่ง และเปิดมุมมองใหม่หลายเรื่องเกี่ยวกับ Capital Controls และ Capital Flight จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ หลายประเด็นเป็นคำทำนายที่ ณ วันนั้นไม่มีใครฟัง แต่เกิดขึ้นจริงในเศรษฐกิจโลก ณ วันนี้

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged capital controls, capital flight, gerald epstein, way, way to read!, การเคลื่อนย้ายเงินทุน, การเงินระหว่างประเทศ, บทความเศรษฐกิจการเมือง, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ Leave a comment

ไอเอ็มเอฟกับมาตรการควบคุมทุน

Posted on August 30, 2014October 7, 2014 by pokpong

ไอเอ็มเอฟยืนอยู่ข้างฝ่ายสนับสนุนการเปิดเสรีการเงินและต่อต้านมาตรการควบคุมทุนอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกระทั่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หมุดหมายสำคัญในสายธารแห่งการถกเถียงเรื่องการเปิดเสรีการเงินก็ถูกปักลง เมื่อไอเอ็มเอฟตีพิมพ์ ‘บันทึกจุดยืนของทีมเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟ’ (IMF Staff Position Note) ซึ่งมีเนื้อหาหลักดังที่หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลพาดหัวข่าวในเวลาต่อมาว่า “ไอเอ็มเอฟแนะนำให้ประเทศเศรษฐกิจใหม่ใช้มาตรการควบคุมทุน”

ในบันทึกฉบับนั้น ไอเอ็มเอฟยอมรับว่า มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ “มาตรการควบคุมทุน” (Capital Controls) ควรถูกนับรวมเป็นหนึ่งใน ‘ชุดเครื่องมือ’ อัน ‘ชอบธรรม’ ที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่สามารถหยิบมาใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ เฉกเช่นเดียวกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ และการกำกับดูแลระบบการเงินภายในประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์ให้การยอมรับเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว

ท่าทีดังกล่าวถือเป็นการ ‘กลับหลังหัน’ ด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศของไอเอ็มเอฟครั้งสำคัญ เพราะแต่เดิมมีทีท่าปฏิเสธมาตรการควบคุมทุนอย่างแข็งขันมาโดยตลอด

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged capital controls, IMF, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การเคลื่อนย้ายเงินทุน, การเปิดเสรีการเงินระหว่างประเทศ, นิตยสาร ค คน, บทความเศรษฐกิจการเมือง, มาตรการควบคุมทุน, เสรีนิยมใหม่, โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ Leave a comment

ย้อนมองมาตรการ 18 ธันวาคม 2549

Posted on August 26, 2014October 1, 2014 by pokpong

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการ ‘ดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น’ (The reserve requirement on short-term capital inflows) ด้วยหวังจะใช้แก้ปัญหาเงินทุนระยะสั้นจากต่างชาติไหลที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก จนกระทบภาคการส่งออกของไทย ซึ่งจะมีผลบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง

เนื้อหาของมาตรการนี้คือ เมื่อมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศ สถาบันการเงินที่เป็นผู้รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด ทำให้ทุนนำเข้าสามารถแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้ลงทุนต่อในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (การกันสำรอง ให้ยกเว้นธุรกรรมที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ( Foreign Direct Investment -FDI) ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติที่นำทุนออกก่อนระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนแค่ 2 ใน 3 ของเงินสำรองที่กันไว้ (ได้คืนแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินนำเข้าทั้งหมด โดยถูกหักไป 10 เปอร์เซ็นต์) ส่วนนักลงทุนที่นำเงินออกหลัง 1 ปี จะได้เงินคืนเต็มจำนวน แต่ก็ยังไม่ได้ดอกเบี้ยจากการถูกกันสำรอง

1 วันให้หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศมาตรการลงโทษทุนระยะสั้นดังกล่าว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงเป็นประวัติการณ์ถึง 108.41 จุด คิดเป็น 14.84 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมูลค่าหุ้นในตลาดเมื่อปิดตลาดวันนั้นลดลงประมาณ 8.2 แสนล้านบาท ในชั่วเวลาเพียง 1 วัน

Posted in บทความ, บทความเศรษฐกิจการเมือง Tagged capital controls, การเก็งกำไรค่าเงิน, การเงินระหว่างประเทศ, ค่าเงินบาท, บทความเศรษฐกิจการเมือง, ประชาชาติธุรกิจ, มาตรการ 18 ธันวาคม, มาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ Leave a comment
Proudly powered by WordPress | Theme: Reab Reab by MennStudio.

โลกความคิดของปกป้อง จันวิทย์

  • หน้าแรก
  • บทความ
    • บทความเศรษฐกิจการเมือง
    • บทความรับเชิญ
    • บล็อก
    • Back
  • งานวิชาการ
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Back
  • หนังสือ
    • หนังสือเล่ม
    • ผลงานร่วม
    • งานบรรณาธิการ
    • Back
  • จับเข่าคุย
  • ขอคิดด้วยคน
    • บทสัมภาษณ์
    • บทอภิปราย
    • Back
  • รู้จักปกป้อง
    • ประวัติส่วนตัว
    • แวดวงทำงาน
    • Back