นิทานทั้งสามเรื่องข้างต้น ล้วนสอนให้รู้ว่า
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
..ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน.. !
…… ล้อเล่นน่าาาาาาา !!!!!
นิทานทั้งสามเรื่องข้างต้น ล้วนสอนให้รู้ว่า
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
..ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน.. !
…… ล้อเล่นน่าาาาาาา !!!!!
สองข้างทางที่ผมเดินผ่าน สังเกตดีๆ จะมีป้ายเล็กๆ ปักพ้นเหนือกองหิมะขาว ที่หน้าบ้านของแต่ละคน บางป้ายเขียนว่า ‘Yes’ for the future บางป้ายเขียนว่า No, not this new charter ผมเลยมีของเล่นสนุก เดินไปก็พลางนับคะแนนไปเล่นๆ ให้พอครึ้มอกครึ้มใจ
กลับมาที่ออฟฟิศ อ่านข่าวดู ถึงรู้ว่าช่วงสิ้นเดือนนี้ ที่บ้านนอกแห่งนี้จะมีการลงประชามติระดับเมือง(เล็กๆ) ว่าจะยอมรับ charter ใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการบริหารเมืองเสียใหม่ หรือไม่ จะแทนที่ representative town meeting ด้วยคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งเก้าคนดีหรือไม่ จะแทนที่ select board ด้วย mayor ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเลยดีไหม
อิจฉาไหมครับที่คนที่บ้านนอกมีสิทธิกำหนดชะตาชีวิตตัวเองโดยตรง แบบไม่ต้องให้ตัวแทนของเขาคอยคิดแทนโหวตแทนให้ สิทธิพวกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ โดยไร้รากไร้ที่มาหรอกครับ คงมาจากการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่พลเมืองพึงมีพึงได้อย่างยาวนาน เมื่อสิทธิได้มาจากประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ คนก็ภูมิใจที่จะรักษา และกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วม
ไม่ใช่แค่สื่อทางเลือกที่อยู่ยาก แต่ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ถูกพัดพาตามกระแสสังคมหรือกระแสทุน คนที่ยืดหยัดเพื่อต่อสู้ยึดมั่นในสิ่งที่ตนเชื่อ ก็อยู่อย่างยากลำบากในสังคมนี้
นอกจากให้กำลังใจกันเองแล้ว เราจะช่วยกันทำอะไรได้มากกว่านี้บ้าง? จะสร้างเครือข่ายของเหล่าชนกลุ่มน้อยที่ไม่เดินตามรอยกระแสหลักอย่างไร?
จะหาที่ยืนตรงไหนในสังคมที่ไร้วัฒนธรรมเรียนรู้ …
จิ๋วแจ๋วเจาะโลกเป็นรายการข่าวเด็ก ใช้เด็กเป็นพิธีกรรายงานข่าวแบบผู้ใหญ่ มีคนนั่งอ่านข่าวอยู่ในสตูดิโอ และมีนักข่าวเด็กเดินสายสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และทำสกู๊ปข่าว เข้าใจว่าเริ่มแรกออกอากาศประมาณ 15 นาที ผมก็เริ่มจากการเป็นนักข่าวภาคสนาม สักพักถึงได้เข้ามาอ่านข่าวในสตูดิโอ สตูดิโอที่อัดรายการอยู่ซอยนายเลิศ เพลินจิต ใกล้ ๆ ทางด่วน
สักพักหนึ่ง จิ๋วแต่แจ๋วก็ยุบรวมมาเป็นจิ๋วแจ๋วเจาะโลก มีวันเสาร์อาทิตย์ แล้วเพิ่มเวลานานขึ้น ยุครุ่งเรือง (ประมาณ 2533-2535) มีเวลาครึ่งชั่วโมงเลยนะครับ แถมเป็นเวลาดี ก่อนข่าวภาคค่ำช่องสาม จบข่าวเด็กก็ต่อด้วยข่าวผู้ใหญ่ เรทติ้งตอนนั้นสูงจริง ๆ นะครับ พี่ ๆ ทีมงานเขาบอก ผมก็ไม่รู้หรอกว่าเขาวัดกันอย่างไร แต่ถ้าวัดจากจดหมายที่น้อง ๆ เขียนเข้ามาในรายการแต่ละสัปดาห์ก็เยอะมากทีเดียว และใคร ๆ ก็รู้จักรายการนี้
ผมคิดว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการไปเรียนต่อ ยิ่งคนส่วนใหญ่ไปเรียนต่อในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเรียนกันมาเป็นสิบปีแล้ว แม้จะพูดไม่ได้ เขียนไม่เป็น อ่านไม่คล่อง อันเนื่องมาจากระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ ก็ตาม ถ้าใจกล้า ไม่ขี้เขิน ไม่กลัวผิดซะอย่าง ไปอยู่เมืองนอกแล้ว ภาษาก็จะดีขึ้นเอง
แล้วอะไรที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุด ?
หลายคนคงเคยอ่านหนังสือเรื่อง คนปลูกต้นไม้ ของ Jean Giono นักเขียนชาวฝรั่งเศส หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือเล่มโปรดของผมทีเดียวครับ
คนปลูกต้นไม้ เป็นเรื่องราวของบุฟฟิเยร์ ชายเลี้ยงแกะ ผู้ใช้ชีวิตตัวคนเดียวอย่างสงบในแถบเทือกเขาสูงที่แสนแห้งแล้งของฝรั่งเศส บุฟฟิเยร์ถือวัตรปฏิบัติประจำวันด้วยการปลูกต้นไม้ให้กับแผ่นดินที่กำลังจะตาย ตามกำลังที่คนแก่อย่างเขาพึงมี ท้ายที่สุด ความมุ่งมั่นปลูกต้นไม้วันละนิดละหน่อยด้วยตัวคนเดียวของเขาก็ส่งผลให้ผืนแผ่นดินที่กำลังจะสิ้นใจฟื้นคืนชีวิตอันร่มรื่นสดใสอีกครั้งอย่างไม่น่าเชื่อ
เมืองไทยเราก็มี “บุฟฟิเยร์” นะครับ
ในช่วง 6 ปีข้างหน้า (2547-2552) อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์จะทยอยเกษียณอายุราชการรวมทั้งสิ้น 25 คน ทำให้คณะต้องรับอาจารย์ใหม่เพิ่มอีกจำนวนมาก อาจารย์ใหม่เหล่านี้ย่อมมีส่วนสำคัญในการกำหนดคุณภาพทางวิชาการและทิศทางของคณะในอนาคต เช่นนี้แล้ว กระบวนการคัดเลือกอาจารย์ใหม่จึงเป็นรากฐานที่สำคัญต่อคณะอย่างที่สุด
ผมเห็นว่ากระบวนการคัดเลือกอาจารย์ใหม่ในอดีตที่ผ่านมามีปัญหาบางประการ ประชาคมเศรษฐศาสตร์สมควรหยิบยกประเด็นนี้มาถกเถียงในวงกว้างเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกติกาการรับเข้าเพื่อให้สามารถคัดสรรอาจารย์ที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับภาพของคณะในอนาคตที่ประชาคมในคณะร่วมกันกำหนดและวางแผน
ท่ามกลางบรรยากาศแห่งการสรรหาคณบดีคนใหม่ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผม – ทั้งในฐานะสมาชิกของประชาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่งที่มีความคาดหวังต่อคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ตามสมควร – ขอถือโอกาสแสดงภาพฝันของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ที่อยากให้เป็น ดังต่อไปนี้
ในทัศนะของผม จุดหมายปลายทางสูงสุดของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คือ พัฒนาสู่ “ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์” และนำความเป็นเลิศทางวิชาการนั้นเข้า “รับใช้และบริการสังคม”
โลกเล็กๆ ที่ชื่อธรรมศาสตร์ใบนี้ หากมันมีจิตวิญญาณ ก็คงเป็นจิตวิญญาณที่คิดพ้นไปจากตัวเอง มีที่ว่างให้กับสังคมส่วนรวม โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสในสังคม
จิตวิญญาณที่คิดพ้นไปจากตัวเองมีที่มาจากการนำตัวเองเข้าเผชิญโลกที่กว้างใหญ่ ทั้งโลกภายใน และโลกภายนอก
ยิ่งมุ่งหน้าเผชิญโลกที่กว้างใหญ่เท่าใด ย่อมรู้สึกว่าขนาดของตัวเราเล็กลง เช่นนี้แล้ว ลำพังเพียงใส่ใจแต่ตนเองย่อมไม่เพียงพอ เพราะท่ามกลางขอบฟ้าที่กว้างใหญ่โลก ตัวตนเล็กๆ จะมีความหมายใด หากไร้ซึ่งสิ่งรอบตัวที่งดงาม และไร้ซึ่งโอกาสในการบรรลุศักยภาพแห่งตนที่เท่าเทียมกัน